Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะรัฐมนตรีผ่านร่างพรบ.คู่ชีวิต กำหนดให้ผู้จดทะเบียนตามพ.ร.บ.มีสิทธิและหน้าที่เหมือนคู่สมรส เพียงแต่เป็นการจดทะเบียนสำหรับคู่รักเพศเดียวกัน เกิดกระแสตั้งคำถามว่าในเมื่อสิทธิและหน้าที่ไม่ต่างกัน เหตุใดจึงต้องมีกฎหมายแยกออกมา การเปลี่ยนคำในประมวลกฎหมายแพ่ง มาตรา 1448 ว่าด้วยการสมรสจะซับซ้อนน้อยกว่าหรือไม่

วันที่ 8 กรกฎาคม 2563 รัชดา ธนาดิเรก รองโฆษกรัฐบาลแถลงว่าคณะรัฐมนตรีมีมติผ่านร่างพรบ.คู่ชีวิต โดยมีสาระสำคัญดังนี้

1.คำว่าคู่ชีวิต หมายความว่าบุคคลสองคนซึ่งเป็นเพศเดียวกันโดยกำเนิดและได้จดทะเบียนคู่ชีวิตตามพรบ.

2.ให้ศาลที่มีหน้าที่พิพากษาคดีเยาวชนและครอบครัว มีอำนาจพิพากษา

3.การจดทะเบียนคู่ชีวิตจะทำได้ต่อเมื่อบุคคลทั้งสองฝ่ายยินยอม และมีอายุครบ 17 ปีบริบูรณ์ โดยทั้งสองฝ่ายต้องมีสัญชาติไทย หรือฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมีสัญชาติไทย

4.กำหนดให้ในกรณีที่ผู้เยาวน์จะจดทะเบียนคู่ชีวิตจะต้องได้รับความยินยอมจากบิดาและมารดา ผู้รับบุตรบุญธรรมหรือศาล

5.กำหนดให้คู่ชีวิตมีอำนาจแทนผู้เสียหายเช่นเดียวกับสามีหรือภรรยา และมีอำนาจดำเนินคดีต่างผู้ตายต่อไปเช่นเดียวกับสามี-ภรรยาตามประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา

6.กำหนดบทบัญญัติกำหนดทรัพย์สินเกี่ยวกับคู่ชีวิต โดยแบ่งเป็นสินส่วนตัวและสินร่วมกัน

7.คู่ชีวิตสามารถรับบุตรบุญธรรมได้ รวมทั้งคู่ชีวิตฝ่ายหนึ่งจะจดทะเยีบนรับผู้เยาวน์ซึ่งเป็นคู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมาเป็นบุตรบุญธรรมของตนเองก็ได้ด้วย

8.เมื่อคู่ชีวิตฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งตาย ให้คู่ชีวิตอีกฝ่ายหนึ่งมีสิทธิและหน้าที่เช่นเดียวกับคู่สมรสตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยมรดก

9.กำหนดให้นำบทบัญญัติในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ว่าด้วยคู่สมรส ครอบครัวและบุตรบุญธรรมใช้บังคับแก่ผู้ชีวิตได้โดยอนุโลม

นอกจากนี้จะมีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ในสาระเรื่องการกำหนดให้ชายหรือหญิงจะทำการสมรสในขณะที่ตนมีคู่สมรสหรือคู่ชีวิตอยู่ไม่ได้ เพิ่มเหตุฟ้องหย่ากรณีสามีหรือภรรยาอุปการะเลี้ยงดูหรือยกย่องผู้อื่นฉันคู่ชีวิต และกำหนดให้สิทธิรับค่าเลี้ยงชีพในกรณีหย่าหมดไปถ้าฝ่ายที่รับค่าเลี้ยงดูสมรสใหม่หรือจดทะเบียนคู่ชีวิต

ระบุว่าการผ่านมตินี้เป็นไป “เพื่อให้กลุ่มบุคคลที่มีความหลากหลายทางเพศได้รับการคุ้มครองอย่างเป็นทางการ เท่าเทียม ไม่เลือกปฏิบัติ และให้สามารถดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรี”

นักสิทธฺ LGBT : รู้สึกเหมือนเป็นพลเมืองชั้นสอง

ทัตเทพ เรืองประไพกิจเสรี นักกิจกรรม LGBT และเลขาธิการกลุ่ม Free Youth ให้สัมภาษณ์ workpointTODAY ว่านี่ไม่ใช่ #สมรสเท่าเทียม แต่เป็นการแยก LGBT ออกจากกฎหมายอื่น

ผมว่าการสมรสไม่ควรมีการแบ่งกฎหมายออกเป็นสองฉบับ การมันคือข้อเท็จจริงเดียวกัน สิทธิเดียวกัน มันควรแก้กฎหมายฉบับเดิมให้เกิดความเท่าเทียม

“อีกอย่างหนึ่งที่เรารู้สึก เรารู้สึกว่าถ้ามีการออกพรบ.คู่ชีวิตแยกจากประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ มันให้ความรู้สึกเหมือน LGBT อย่างเราเป็นพลเมืองชั้นสอง”

“เพราะฉะนั้นนี่ไม่ใช่สมรสเท่าเทียม มันคือสมรสแบ่งแยก สมรสไม่เท่าเทียม” ทัตเทพสรุป โดยกล่าวว่าเขาต่อต้านการผ่านร่างพรบ.คู่ชีวิตครั้งนี้ และขอผลักดันการแก้ ปพพ. ม.1448 ต่อเพื่อให้เกิดการสมรสเท่าเทียมอย่างแท้จริง

ก้าวไกล: พ.ร.บ.คู่ชีวิต ≠ สมรสเท่าเทียม

ความเคลื่อนไหว #สมรสเท่าเทียม เกิดขึ้นในทวิตเตอร์ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นหลังจากธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ ส.ส.พรรคก้าวไกล นำเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์เพื่อปลดล็อกให้คู่รักเพศเดียวกันสมรสกันได้มารับฟังความคิดเห็น

“คู่ชีวิต หรือภาษาอังกฤษเรียกว่า Civil Partnershipไม่เท่ากับสมรส(Marriage)” ‘ครูธัญ’ กล่าว

“หัวใจสำคัญของมันคือคำว่าคู่สมรสนั้นอยู่ในกฎหมายอื่น ๆ แล้วไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการของราชการไม่ว่าจะเป็นประกันสังคม ไม่ว่าจะเป็นสวัสดิการอื่นหรือการปกป้องคุ้มครองดูแลสิทธิอื่น ๆ มันจะมีคำว่าคู่สมรสอยู่แล้ว เพราะฉะนั้นสมรสเท่าเทียมมันจะสร้างความเสมอภาคในทุกกฎหมายของคนทุกเพศ แต่คู่ชีวิตจะไม่มีคำนี้อยู่ในกฎหมายอื่น ๆ เลย”

ธัญวัจน์กำลังผลักดันการแก้ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิย์ที่เกี่ยวข้องกับการสมรสให้เปลี่ยนจากการใช้คำว่า “ชาย” และ “หญิง” มาเป็นคำว่า “บุคคล” ขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการรับฟังความคิดเห็น และจะนำเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรเมื่อสิ้นสุดระยะเวลา

ส่วนพิจารณาในสภาฯ เนื่องจากกฎหมายทั้งสองฉบับที่เกี่ยวข้องกับประเด็นใกล้เคียงกันอาจถูกเสนอเข้าสภาในเวลาไล่เลี่ยกัน อาจจะ “ต้องให้ส.ส.ดูว่าจะประกบการพิจารณาในคณะกรรมาธิการวิสามัญหรือไม่”

“ขอยืนยันว่าคนละตัวกัน และสมรสเท่าเทียมเป็นกฎหมายเดียวที่จะสร้างความเสมอภาค ขอยืนยันและขออย่าให้ประชาชนสับสน ” ธัญวัจน์ กมลวงศ์วัฒน์ทิ้งท้าย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า