SHARE

คัดลอกแล้ว

ทุกวันนี้ถ้ามองเข้าไปในธุรกิจร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่ในไทย แม้ส่วนใหญ่ที่เราเห็นๆ กันจะเป็นแบรนด์จากต่างประเทศ เช่น 7-Eleven, Family Mart, Lawson

แต่ถึงอย่างนั้น ก็มีร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไทยที่เติบโตได้ดีท่ามกลางสมรภูมิการแข่งขันอันร้อนแรงและดุเดือด จนตอนนี้แบรนด์ที่ว่ามีรายได้ต่อปีเกือบ 30,000 ล้านบาทแล้ว

และร้านสะดวกซื้อที่ว่าก็คือแบรนด์ ‘CJ Express’ นั่นเอง

ที่น่าสนใจคือ ไม่เพียงแต่รายได้เติบโตต่อเนื่อง แต่ร้านสะดวกซื้อแบรนด์ไทยรายนี้ กำลังจะยื่นไฟลิ่ง จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ และ IPO ได้ในปีหน้า

TODAY Bizview จึงอยากชวนไปรู้จัก CJ Express ให้มากขึ้นกัน

ย้อนกลับไปในปี 2548 CJ Express ก่อตั้งขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้การบริหารงานของ บริษัท พี.เอส.ดี รักษ์ไทย จำกัด ซึ่งเป็นผู้ประกอบการค้าปลีก-ค้าส่งรายใหญ่ จ.ราชบุรี โดยอยู่ภายใต้การบริหารของ ‘วิทย์ ศศลักษณานนท์’

โดย CJ Express ถูกวางมาให้เป็นร้านสะดวกซื้อที่ขายสินค้าอุปโภคและบริโภคที่ครบครันในราคาประหยัด เริ่มแรกนั้นวางหลักปักฐานในภาคกลางและภาคตะวันตกเป็นหลัก เช่น ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี สุพรรณบุรี ฯลฯ

แต่หมุดหมายสำคัญมาอยู่ที่ปี 2556 ในตอนนั้น CJ Express ขยายธุรกิจมาได้ราว 200 สาขา ‘เสถียร เศรษฐสิทธิ์’ ประธานกรรมการบริหาร และหนึ่งในผู้ถือหุ้นใหญ่ของคาราบาวกรุ๊ป เจ้าของเครื่องดื่ม ‘คาราบาวแดง’ พร้อมด้วยพันธมิตร เข้ามาเป็นซื้อหุ้นกว่า 80% นั่งแท่นผู้ถือหุ้นรายใหญ่

และเปลี่ยนชื่อบริษัทเป็น บริษัท ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป จำกัด

เมื่อจุดเริ่มต้นมาจากราชบุรี ‘เสถียร’ จึงใช้กลยุทธ์ ‘ป่าล้อมเมือง’ ในการขยายสาขา เขาเดินหน้าขยายสาขาไปในจังหวัดอื่นๆ เพิ่มขึ้น รวมถึงเขยิบเข้าใกล้กรุงเทพฯ และปริมณฑลมากขึ้นเรื่อยๆ

ซึ่งส่วนใหญ่สาขาที่เปิดใหม่จะใช้ชื่อว่า CJ Supermarket ซึ่งเป็นโมเดลที่มีขนาดพื้นที่ใหญ่กว่า และมีบริการต่างๆ เพิ่มเติมเข้ามา

ส่วน CJ Express เป็นร้านขนาดเล็กกว่า ในสาขาที่มีพื้นที่และทำเลมีศักยภาพ จึงจะเพิ่มบริการอื่นๆ เข้ามา แต่ยังใช้ชื่อเดิมเพราะเป็นที่คุ้นเคยของผู้บริโภคอยู่แล้ว

จนในปัจจุบันมีสาขาเปิดให้บริการแล้ว 800 กว่าสาขา ในพื้นที่ 34 จังหวัด (ข้อมูล ณ วันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2565) ทั้งยังมีโครงการขยายสาขาให้ครอบคลุมพื้นที่ทุกจังหวัดในประเทศไทย

ไม่เพียงแต่ลุยเกมขยายสาขา ดึง ‘แอ๊ด คาราบาว’ มาร่วมทำกิจกรรมทางการตลาด และให้ความสำคัญกับซัพพลายเชนของเครือตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ ผ่านสินค้าต่างๆ ในเครือ เช่น คาราบาวแดง, น้ำดื่มคาราบาว ฯลฯ เท่านั้น

แต่ในเมื่อมาทีหลังคู่แข่ง CJ Supermarket ภายใต้การบริหารของ ‘เสถียร’ จึงพยายามสร้างความแตกต่างให้มากกว่าคู่แข่งเจ้าอื่น

สร้างความแตกต่างที่ว่าคือการมีสินค้าแบบบ้านๆ จากชุมชนมาวางขาย และเป็นร้านสะดวกซื้อที่รับ ‘บัตรสวัสดิการของรัฐ’

นอกจากนี้ยังขยายมาให้บริการอื่นๆ เพิ่มเติมภายในร้านเดียว คือ ร้านกาแฟ ‘บาว คาเฟ่’ (Bao Café) และโซนเครื่องสำอางและความงามอย่างร้าน ‘นายน์ บิวตี้’ (Nine Beauty) ในพื้นที่ของ CJ Supermarket เรียกได้ว่ามีครบ

อีกอย่างหนึ่งคือการสร้างโมเดลใหม่ที่ชื่อว่า CJ MORE หรือเรียกง่ายๆ ว่าเป็น ‘ศูนย์การค้าขนาดเล็กในชุมชน’ ที่บริษัทนำแบรนด์ค้าปลีกและบริการต่างๆ มารวมไว้ที่นี่ ที่จะสามารถดึงดูดลูกค้าได้หลากหลายกลุ่มมากขึ้น ตอบโจทย์ทุกความต้องการ และเป็นมากกว่าร้านสะดวกซื้อ

โดยแบรนด์ค้าปลีกและบริการที่อยู่ใน CJ MORE ได้แก่

  • CJ Supermarket ร้านค้าปลีกจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภค
  • Nine Beauty โซนเครื่องสำอาง
  • Bao Café ร้านกาแฟ
  • UNO (อูโนะ) โซนสินค้าไลฟ์สไตล์ แฟชั่น เครื่องเขียน และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ กลุ่มเป้าหลักคือ กลุ่มวัยรุ่นและวัยทำงาน
  • A-Home (เอ-โฮม) โซนอุปกรณ์เครื่องมือช่าง อุปกรณ์ทำสวน
  • PET HUB (เพ็ทฮับ) ร้านขายอาหารและอุปกรณ์เกี่ยวกับสัตว์เลี้ยงครบวงจร
  • Bao Wash (บาววอช) มุมบริการซัก-อบผ้าด้วยเครื่องอัตโนมัติ

แล้วอาณาจักร ‘ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส กรุ๊ป’ มีผลประกอบการเป็นอย่างไรบ้าง

-ปี 2562 รายได้ 1.38 หมื่นล้านบาท กำไร 357.5 ล้านบาท

-ปี 2563 รายได้ 1.84 หมื่นล้านบาท กำไร 933.7 ล้านบาท

-ปี 2564 รายได้ 2.97 หมื่นล้านบาท กำไร 1,364.9 ล้านบาท

เรียกได้ว่ายิ่งนับวันก็ยิ่งมีการเติบโตอย่างก้าวกระโดด

ส่วนก้าวต่อไปนั้น นอกจากจะเดินหน้าพาบริษัทติดนามสกุล ‘มหาชน’ และตั้งเป้าระดมทุน 2.5 หมื่นล้านบาท ในช่วงไตรมาส 4 ของปี 2566 แล้ว ซี.เจ. เอ็กซ์เพรส ก็ยังคงเดินหน้าขยายสาขาของแบรนด์ต่างๆ ในเครืออยู่ ดังนี้

CJ MORE ตั้งเป้าขยายเป็น 100 สาขาในปีนี้ จากปัจจุบัน 10 สาขา เนื่องจาก CJ Supermarket ที่ตั้งอยู่ใน CJ MORE มียอดขายดีกว่าสาขาสแตนด์อะโลนถึง 30-50%

และตั้งเป้าว่าจะขยายเพิ่มปีละ 100 สาขา จนครบ 500 สาขาในปี 2569

ส่วน CJ Supermarket นอกจากอยู่ระหว่างการทำงานร่วมกับธนาคารกสิกรไทย ศึกษาการเพิ่มระบบ ‘ซื้อก่อน จ่ายทีหลัง’ หรือ Buy now Pay later มาใช้

ในแง่ของการขยายสาขา ก็วางเป้าสาขาเพิ่มเป็น 1,000 สาขาในปีนี้ ก่อนที่ในปี 2566 จะเตรียมงบ 10,000 ล้านบาท ลงทุนขยายสาขาเพิ่มอีก 250 สาขา โดยตั้งเป้าว่าจะขยายจนถึง 1,500 สาขาในปี 2569

และนี่ก็คือเส้นทาง 17 ปีของร้านสะดวกชื่อสัญชาติไทย ที่เริ่มต้นจากภูธร จนวันนี้กลายเป็นบิ๊กเนมในธุรกิจคอนวีเนียนสโตร์ของไทยไปแล้ว

อ้างอิง:

https://www.cjexpress.co.th/about

http://www.thaismescenter.com/เจาะลึก-ร้านสะดวกซื้อ-cj-express-ปักธงรบสมรภูมิค้าปลีกภูธร/

https://www.prachachat.net/marketing/news-988613

https://www.brandbuffet.in.th/2020/11/cj-express-group-strategic-move/

เว็บไซต์กรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า