SHARE

คัดลอกแล้ว

“ผมไม่เคยรู้เลยว่า การยอมรับจากพ่อคือสิ่งที่ผลักดันผมมาทั้งชีวิต”

คำพูดนี้สะท้อนจุดเริ่มต้นของ ซีเค เจิง ซีอีโอ Fastwork แพลตฟอร์มออนไลน์ที่รวบรวมฟรีแลนซ์จากหลากหลายสายงาน และอีกบทบาทตอนนี้คือ นักทำคอนเทนต์บนโซเชียล

เรื่องราวของ ซีเค ไม่ได้เริ่มจากความสำเร็จ แต่เริ่มจากความลำบากในวัยเด็กที่ใช้เป็นแรงผลักดันเพื่อพิสูจน์ตัวเอง

[ พิสูจน์ตัวเองและแสวงหาการยอมรับ ]

ซีเค เล่าว่า เขาเติบโตในครอบครัวที่พ่อกับแม่แยกกันอยู่ตั้งแต่เขาอายุ 13 ปี (พ่อมีเชื้อสายจีน ส่วนแม่เป็นคนไทย) เมื่อถึงจุดที่ทั้งพ่อและแม่ต่างอยากแยกไปมีครอบครัวใหม่กัน ทั้งคู่จึงตัดสินใจส่งซีเค ไปอยู่สหรัฐอเมริกา ที่รัฐไอดาโฮเพียงคนเดียว ซึ่งเหตุผลที่ครอบครัวเลือก ‘รัฐไอดาโฮ’ ไม่ใช่นิวยอร์ก หรือบอสตัน เพราะพ่อแม่ต้องการให้เขาย้ายออกไปโดยเร็วที่สุด

ภาพจำของผู้เป็น ‘พ่อ’ ในสายตาซีเค คือ ชายเข้มงวด และไม่ถนัดในการแสดงความรักเท่าไหร่ แม้เขาจะพยายามเรียนจนสร้างผลงานดีเยี่ยม หรือครูชื่นชมความสามารถและศักยภาพที่เขามี แต่ปฏิกิริยาของพ่อมีเพียงความเงียบเฉย

ความเงียบทำให้เขาหมกมุ่นและแสวงหาการยอมรับและคำชื่นชมจากพ่อ ซึ่งมันได้กลายมาเป็นทั้งเป้าหมาย และแรงขับเคลื่อนในการใช้ชีวิตของซีเค ในเวลาต่อมา เขาพยายามทำงานอย่างหนักระหว่างเรียน หาเงินอย่างบ้าคลั่ง เพราะต้องการตอบคำถามที่พ่อมักพูดกับเขาซ้ำๆ เสมอว่า

“แกคิดว่าเรียนได้เกรดเอมันยากเหรอ พ่อต้องนอนข้างถนน เอาเงินมาจ่ายค่าเรียนให้แก พ่อออกไปทำงานหาเงินตอนอายุเท่าแก แล้วแกหาเงินเองเป็นแล้วเหรอ?”

[ เพราะความรักมีหลายรูปแบบ ]

เมื่อเติบโตขึ้นซีเค จึงเข้าใจว่าประโยคที่พ่อพูดกับเขาซ้ำแล้วซ้ำเล่ามันคือต้นเหตุของความเย็นชาและท่าทางเรียบเฉยของผู้เป็นพ่อ เขารู้ว่าที่ผ่านมาพ่อต้องลำบากมามากแค่ไหน ทำให้เชื่อว่าการเลี้ยงลูกด้วย ‘ไม้แข็ง’ จะทำให้ลูกแข็งแกร่งแบบที่เขาเติบโตมา

แน่นอนว่ามันอาจจะไม่ใช่แนวทางการเลี้ยงลูกในอุดมคติของสังคมเท่าไหร่นัก แต่ท้ายที่สุดซีเค ก็รับรู้ว่า พ่อทำทุกอย่างเพื่อให้เขายืนอยู่บนโลกนี้อย่างแข็งแกร่งได้ และเบื้องหลังความคิดนี้ก็คือความรู้สึกที่เรียกว่า ‘รัก’

แต่ถึงอย่างนั้นซีเค บอกว่า เขาไม่ยึดติดกับวิธีเลี้ยงลูกแบบที่พ่อเลี้ยงดูเขามา และอยากจะสอนให้ลูกรู้จักความอดทนด้วยวิธีอื่น เพราะเชื่อว่าความอดทนทำให้เขาเป็นเขาในวันนี้ และการมีวินัยคือกุญแจความสำเร็จของทุกสิ่งทุกอย่าง

[ เป้าหมายเพื่อประเทศไทย ]

ย้อนกลับไป 5 ปีที่แล้ว ที่ซีเค กลับมาที่ประเทศไทย เขามองว่าประเทศไทยยังมีพื้นที่ให้เขานำประสบการณ์ที่เก็บสั่งสมมาพัฒนาให้เปลี่ยนแปลงในทิศทางที่ดีขึ้น

ซีเค ย้ำว่าการที่เขาเดินหน้าทำสิ่งต่างๆ ในทุกวันนี้ ไม่ใช่เพื่อความสำเร็จส่วนตัว แต่เขามองเห็นพื้นที่ในการสร้างโอกาสใหม่ๆ ให้กับคนไทย โดยเฉพาะในพื้นที่ที่ถูกละเลย เขาต้องการทำให้ทุกคนที่อยู่ในประเทศไทย ทุกคนจะได้รับโอกาสที่เท่าเทียมกัน ไม่ใช่กระจุกความเจริญแค่ในตัวกรุงเทพฯ

ซีเค มองว่าการจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงที่ยิ่งใหญ่ระดับนี้ได้ เขาจำเป็นต้องมีเครื่องมือสองอย่าง หนึ่งคือ เขาต้องเป็นกระบอกเสียงที่มีพลังเพียงพอ เขาต้องมีกระบอกเสียงที่ทุกคนฟังแล้วยอมทำตาม เป็นเสียงที่ทุกคนเชื่อมั่น

เป็นที่มาว่าทำไมจึงได้เห็น ซีเค ในบทบาทของคอนเทนต์ครีเอเตอร์ที่มักออกมาแสดงความเห็นเกี่ยวกับประเด็นต่างๆ ในสังคม

“ในโลกที่สื่อต่างๆ นำเสนอแต่ข่าวสารเชิงลบ ที่เต็มไปด้วยข่าวฉ้อโกงและหลอกลวง ผมอยากเป็นช่องทางหนึ่ง ที่นำเสนอคอนเทนต์ที่มีความรู้และมีประโยชน์ให้กับสังคม”

เขาเล่าว่าการผลิตเนื้อหาไม่ได้ง่าย ต้องเผชิญกับความกดดันและคำวิจารณ์มากมาย แต่แทนที่จะสนใจเสียงวิจารณ์ เขาบอกขอเลือกที่จะมุ่งมั่นพัฒนาเนื้อหาที่สามารถสร้างแรงบันดาลใจให้คนอื่นๆ ในสังคมได้มากกว่า

ส่วนที่สองที่ ซีเค มองว่าการจะเป็นส่วนหนึ่งของการเปลี่ยนแปลงประเทศได้คือ เขาต้องมีธุรกิจที่ประเทศนี้ไม่มี และเป็นธุรกิจที่จำเป็นมากๆ เป็นอีกหนึ่งจุดเริ่มต้นสำคัญของ Fastwork

ในฐานะผู้ก่อตั้ง Fastwork เขาต้องการกระจายงานไปยังผู้ทำงานอิสระในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศไทย และทำให้ในแต่ละพื้นที่มีการหมุนเวียนระบบเศรษฐกิจของตัวเอง

นอกจากนี้ เขายังมีเป้าหมายจะทำให้บริษัท Fastwork เป็นศูนย์รวมคนมีฝีมือในทุกอุตสาหกรรม-ทุกภาคส่วน เพื่อลดกำแพงการทำงานระหว่างตลาดแรงงานในไทยและการลงทุนจากนานาชาติที่กำลังหลั่งไหลเข้ามา

ซีเค เล่าว่า เขาต้องการผลักดันให้ไทยเป็นศูนย์กลางในการส่งออกธุรกิจบริการครบวงจร ซึ่งไม่มีประเทศไหนทำสำเร็จมาก่อน เขาไม่ได้ต้องการให้ Fastwork เป็นเพียงแพลตฟอร์มรวมฟรีแลนซ์ แต่ตั้งในให้มันเป็นแพลตฟอร์มที่รวบรวมทุกบริการไว้ในที่เดียว

สำหรับ ซีเค ถ้าอยากประสบความสำเร็จในยุคนี้ เราจำเป็นต้องสร้างสิ่งใหม่ ที่โดดเด่นมากพอในตลาด และทำให้ทุกสายตาในโลกหันมามอง ดังเช่นประโยคที่เขาพูดไว้ว่า “ถ้าไม่อยากตามหลังรถไฟขบวนอื่น ก็สร้างขบวนรถไฟใหม่ขึ้นมาสิ”

หากถอดความหมายจากประโยคนี้ก็คงแปลได้ง่ายๆว่า ถ้าเราไม่สามารถเป็นผู้นำนวัตกรรมใหม่ได้สำเร็จ เราก็จะเป็นเพียงผู้ไล่ตาม และเมื่อถึงวันที่เราวิ่งไล่ไม่เร็วพอ เราก็คงหนีไม้พ้นการเป็นผู้ล้าหลังไปในที่สุด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า