SHARE

คัดลอกแล้ว

GDP อาเซียนอาจหายไปถึง 35% ภายใน 2050 ถ้าไม่เร่งแก้ไข ‘Climate Change’

โลกร้อนอาจทำให้เศรษฐกิจพัง อาเซียนอาจสูญเสีย GDP ไปถึง 35% ภายในปี 2050 จากปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ (Climate Change) หรือที่่คนไทยเรียกกันอย่างติดปากว่า ‘โลกร้อน’ ทำให้องค์กรต้องเร่งปรับตัวเข้าสู่ธุรกิจที่เน้นคาร์บอนน้อยลง

ปลายเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา สำนักข่าวบลูมเบิร์กได้จัดสัมมนา ‘Sustainable Business Summit’ ที่สิงคโปร์ ผ่านช่องทางไลฟ์สดบนทวิตเตอร์ ‘Bloomberg Live’ โดยมีการหารือถึงการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ที่ส่งผลกระทบต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศเบื้องต้น (GDP) ของอาเซียน

หลายสิบปีที่ผ่านมา การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างคาร์บอนไดออกไซด์จากเชื้อเพลิงฟอสซิลเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้ปรากฏการณ์เรือนกระจกรุนแรงขึ้น เกิดภาวะโลกร้อนที่สูงขึ้น และมีการเปลี่ยนแปลงทางภูมิอากาศ ส่งผลกระทบให้ GDP ของแต่ละประเทศลดลง

‘Edris Boey’ หัวหน้าฝ่ายวิจัย ESG ที่ Maitri Asset Management Edris Boey กล่าวว่า หากไม่มีการดำเนินการแก้ไขปัญหาการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศ อาเซียนอาจเป็นภูมิภาคที่สูญเสีย GDP ไป 35% ภายในปี 2050 และจีนอาจสูญเสีย GDP ถึง 45% ภายในปี 2100

ด้วยเหตุนี้ หลายๆ ธุรกิจเลยจำเป็นต้องมีการปรับตัวหรือเปลี่ยนแปลงการดำเนินกิจกรรมทางเศรษฐกิจ ไปสู่รูปแบบธุรกิจที่เน้นคาร์บอนน้อยลง (Decarbonization) เพื่อบรรเทาความรุนแรงด้านการเปลี่ยนแปลงภูมิอากาศที่ส่งผลให้เกิดภาวะเศรษฐกิจถดถอย

​​‘มูฮัมหมัด อูมาร์ สวิฟต์’ CEO ของตลาดหลักทรัพย์บูร์ซ่ามาเลเซีย เผยว่า อาเซียนล้วนเป็นประเทศที่ทำการค้า แม้การบริโภคภายในประเทศจะแข็งแกร่ง แต่เมื่อเข้าสู่ภาวะเศรษฐกิจถดถอย การค้าขายของอาเซียนจะได้รับผลกระทบอย่างมากเช่นกัน

สรุปได้ว่าปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพอากาศส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจทั่วโลก การแก้ไขปัญหาดังกล่าวจึงมีความสำคัญอย่างมาก โดยความร่วมมือกันระดับองค์กรจะเป็นส่วนหนึ่งที่ช่วยทำให้เป้าหมายกลายเป็นจริงขึ้นมา

ที่มา https://twitter.com/BloombergLive/status/1552096831949393920?s=20&t=4D8Ok96ZIrFXV8_myxLQUQ 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า