SHARE

คัดลอกแล้ว

มิเชล แบชเลต ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติเตือนถึง “หายนะ” จากการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ (climate change) ที่จะส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วทั้งโลก

วันที่ 11 ก.ย. 2562 สำนักข่าวซินหัวรายงานว่า เมื่อวันที่ 9 ก.ย. ที่ผ่านมา มิเชล แบชเลต ข้าหลวงใหญ่ด้านสิทธิมนุษยชนแห่งสหประชาชาติ กล่าวในพิธีเปิดการประชุมสภาสิทธิมนุษยชนแห่งว่า นอกจากประเด็นปัญหาสิทธิมนุษยชนแบบดั้งเดิมแล้วสหประชาชาติยังต้องจัดการกับปัญหาใหม่ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศและผลกระทบต่อสิทธิของมนุษย์ทุกคนบนโลก

การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศเกิดขึ้นจริง และปัจจุบันได้ส่งผลกระทบต่อทุกภูมิภาคทั่วโลก ผลกระทบของอุณหภูมิโลกต่อมนุษย์ปัจจุบันอยู่ในระดับมหันตภัย พายุโหมกระหน่ำรุนแรงยิ่งขึ้น คลื่นทะเลสามารถจมหมู่เกาะของทั้งประเทศและเมืองริมชายฝั่งให้ลงสู่บาดาล

นอกจากนี้ มิเชล แบชเลต ยังกล่าวถึงไฟป่าที่ลุกโชนและวิกฤตน้ำแข็งละลายทั่วโลกว่า เรากำลังจุดไฟเผาอนาคตของโลกอย่างแท้จริง ความเร่งด่วนของปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทำให้ความอดอยากพุ่งสูงในทั่วโลก โดยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ (FAO) รายงานว่าเป็นการเพิ่มสูงขึ้นครั้งแรกในรอบทศวรรษ

องค์การอนามัยโลก (WHO) คาดว่าช่วงปี 2030-2050 การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจะคร่าชีวิตผู้คน ราว 250,000 ราย จากการขาดสารอาหาร โรคมาลาเรีย โรคท้องร่วง และความเครียดจากอุณหภูมิสูงเพียงแค่ 4 สาเหตุ ยังไม่รวมสาเหตุอื่นๆ

มิเชล แบชเลต กล่าวเพิ่มเติมว่า ในหลายประเทศรูปแบบสภาพอากาศที่แปรปรวนและปรากฎการณ์อื่นๆ ซึ่งบ่งชี้ว่าภาวะฉุกเฉินทางสิ่งแวดล้อมได้ส่งผลกระทบต่อผลประโยชน์จากการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เกิดความขัดแย้งที่รุนแรงยิ่งขึ้นในปัจจุบัน การพลัดถิ่น ความตึงเครียดทางสังคม การเติบโตของเศรษฐกิจที่ชะงักงัน และปัญหาความเหลื่อมล้ำที่รุนแรงยิ่งขึ้น โลกไม่เคยประสบกับภัยที่คุกคามสิทธิมนุษยชนในระดับนี้มาก่อน และนี่ไม่ใช่สถานการณ์ที่ประเทศ สถาบัน หรือผู้กำหนดนโยบายใดจะสามารถเมินเฉยได้

เศรษฐกิจของทุกประเทศ สถาบันด้านการเมือง สังคม และวัฒนธรรมของทุกรัฐ รวมถึงสิทธิของประชาชนทุกคนในปัจจุบันและในอนาคต จะได้รับผลกระทบอย่างแน่นอน แบชเลตกล่าวว่า ขณะนี้เรายังพอมีเวลาที่จะดำเนินการแก้ไข แต่ประตูแห่งโอกาสบานนี้อาจกำลังค่อยๆ ปิดลง เราอยู่ในยุคที่มีนวัตกรรมอันยอดเยี่ยม เรามีหนทางที่รอบคอบกว่านี้ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติและทรัพยากรหมุนเวียน นโยบายที่ปกป้องและมอบอำนาจให้แก่กลุ่มคนชายขอบ รวมถึงแผนริเริ่มเพื่อการปกป้องสังคมที่หลากหลาย และการพัฒากลยุทธ์ของธุรกิจในห่วงโซ่อุปทาน อาจเป็นประโยชน์ต่อสิ่งแวดล้อมและส่งเสริมศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์และสิทธิมนุษยชนได้ดีกว่าเดิม

ขอบคุณภาพจาก :: Photo by Agustín Lautaro on Unsplash

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า