SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผย ไทยเสียชีวิตจากโควิด-19 เพิ่มอีก 31 ราย ยอดสะสมทะลุ 7 หมื่นราย แจงเห็นใจประชาชนที่รอเตียง และอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ แนะอย่าซื้อยากินเอง หวั่นยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้อาการแย่ลง

วันที่ 3 พ.ค. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ยอดสะสมผู้ติดเชื้อ 71,025 ราย ผู้ป่วยรายใหม่ 2,041 ราย แบ่งเป็นการติดเชื้อในประเทศ 2,040 ราย ซึ่งมาจากการเฝ้าระวังในระบบบริการสุขภาพ 1,943 ราย และจากการตรวจค้นหาเชิงรุกในชุมชน 97 ราย และผู้ที่มาจากต่างประเทศ 1 ราย ส่วนผู้ที่รับการรักษาหายแล้วเพิ่มอีก 1,726 ราย ทำให้ยอดรวมของผู้ที่รักษาหายแล้ว 40,984 ราย ขณะที่มีผู้เสียชีวิตอีก 31 ราย ยอดรวมผู้เสียชีวิตอยู่ที่ 276 ราย โดยมีผู้ที่ยังรักษาตัวอยู่ 29,765 ราย แบ่งเป็นอยู่ในโรงพยาบาล 21,473 ราย และในโรงพยาบาลสนาม 8,292 ราย ทั้งนี้ ในจำนวนผู้ที่รักษาตัวอยู่นั้น แยกเป็นผู้ที่มีอาการหนัก 981 ราย และต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ 278 ราย สำหรับตัวเลขผู้ฉีดวัคซีน ระหว่างวันที่ 28 ก.พ.– 2 พ.ค. 2564 มีผู้รับวัคซีนแล้วสะสมทั้งหมด จำนวน 1,486,907 โดส แบ่งเป็นผู้ที่ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 จำนวน 1,099,460 ราย ผู้ที่ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 จำนวน 387,447 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า สำหรับกรณีของผู้เสียชีวิตรายใหม่ 31 ราย แยกเป็นเพศชาย 18 ราย และเพศหญิง 13 ราย  ส่วนอายุอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 31-83 ปี ถ้าจำแนกตามพื้นที่จังหวัด แบ่งเป็นกรุงเทพฯ 10 ราย นนทบุรี 10 ราย ปทุมธานี 2 ราย นครศรีธรรมราช 2 ราย ฉะเชิงเทรา อ่างทอง เพชรบุรี สุพรรณบุรี ลพบุรี ชัยภูมิ และระนอง จังหวัดละ 1 ราย  ถ้าวิเคราะห์ในแง่โรคประจำตัวพบว่า มีผู้ที่เป็นโรคความดันโลหิตสูงจำนวนมากที่สุดคือ 18 ราย ตามด้วยเบาหวาน โรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง ไขมันในเลือดสูง ไทรอยด์ โรคปอดเรื้อรัง โรคไตเรื้อรัง ภาวะอ้วน ออทิสติก และผู้ที่ยังไม่พบโรคประจำตัว ทั้งนี้ สิ่งที่ ศบค.ให้ความสำคัญคือ ผู้เสียชีวิตหลายรายมีปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อจากคนในครอบครัว คนใกล้ชิด หรือเพื่อนร่วมงาน ขณะเดียวกัน ในจำนวนผู้เสียชีวิตรายใหม่พบว่า มี 2 รายที่เสียชีวิตก่อนจะทราบผลตรวจหาเชื้อ และมี 1 ราย เสียชีวิตในวันที่ทราบผลตรวจ ซึ่งจากการตรวจสอบไทม์ไลน์ของ 3 รายดังกล่าวนั้นพบว่า ขณะที่มีอาการป่วยตอนแรกไม่มีภาวะรุนแรง และไม่ได้ตระหนักว่าตัวเองมีเชื้อโควิด-19

พญ.อภิสมัย กล่าวอีกว่า  สำหรับสถานการณ์โลก มียอดสะสมของผู้ติดเชื้อ จำนวน 153,481,613 ราย อาการรุนแรง 111,780 ราย รักษาหายแล้ว 130,791,464 ราย เสียชีวิต 3,216,214 ราย  อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด ได้แก่ 1. สหรัฐอเมริกา 33,180,441 ราย 2.อินเดีย 19,919,715 ราย 3.บราซิล 14,754,910 ราย 4.ฝรั่งเศส 5,652,247 ราย 5.ตุรกี 4,875,388 ราย ส่วนประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 100 จำนวน 71,025 ราย ขยับขึ้นจากเมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2564 ซึ่งไทยอยู่อันดับที่ 102 ส่วนกรณีการระบาดระลอกใหม่ในไทยตั้งแต่เดือน เม.ย. 2564 มียอดสะสมของผู้ติดเชื้อจำนวน 42,162 ราย ทิศทางกราฟตัวเลขจำนวนผู้ติดเชื้อมียอดแหลมขึ้นในช่วงก่อนหน้านี้คือ ปลายเดือน เม.ย. 2564 แต่เมื่อเข้าสู่เดือน พ.ค. 2564 กราฟเริ่มชะลอตัว และเมื่อดูรายละเอียดของแต่ละพื้นที่พบว่า ในกรุงเทพฯ จำนวนการติดเชื้อจากการสัมผัสผู้ป่วยยืนยันก่อนหน้าจากคนที่อยู่ร่วมบ้าน หรือติดจากเพื่อนร่วมงานนั้น กำลังเพิ่มมากขึ้น

พญ.อภิสมัย กล่าวด้วยว่า เรารู้สึกเห็นใจประชาชนที่รอเตียง และอยู่ร่วมกับผู้ติดเชื้อ เพราะความจำเป็นต้องอยู่ในบ้าน หรือชุมชนแออัดเดียวกัน ในบางบ้านก็อยู่กันหลายคนและหลายวัย รวมถึงมีการใช้สถานที่ร่วมกัน สิ่งที่ ศบค.และกรมควบคุมโรคได้เน้นย้ำคือ บ้านใดที่มีผู้สูงอายุ และผู้ที่มีโรคประจำตัวอยู่ร่วมกัน ต้องแยกกันให้ชัดเจน สิ่งของเครื่องใช้ที่จำเป็นต้องใช้ร่วมกัน รวมทั้งขอแนะนำให้ล้างทำความสะอาดจุดที่มีการสัมผัสร่วม อาทิ ลูกบิดประตู โต๊ะรับประทานอาหาร ตู้เย็น ห้องน้ำ ส่วนการมีกิจกรรมร่วมกัน อาทิ การนั่งดูโทรทัศน์ ต้องเว้นระยะห่าง และต้องสวมหน้ากากตลอดเวลาที่อยู่ในบ้าน จะช่วยลดการติดเชื้อได้มาก

ผู้สื่อข่าวถามว่า ผู้ติดเชื้อที่ยังรอเตียงสามารถซื้อยามาทานเองได้หรือไม่ พญ.อภิสมัย กล่าวว่า การซื้อยามารับประทานเองอาจยิ่งเพิ่มความเสี่ยงให้อาการแย่ลง โดยเฉพาะกรณีของผู้ติดเชื้อบางคนที่เป็นผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีโรคประจำตัว ส่วนการรับประทานอาหารเสริม อาทิ มะนาว น้ำผึ้ง หรือยาฟ้าทะลายโจรนั้น ต้องศึกษาให้ดี ควรอยู่ในคำแนะนำของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญก่อน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า