Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ไฟเขียวเอกชนจัดหาวัคซีนทางเลือกอีก 10 ล้านโดส เผยพบติดโควิดรายใหม่พุ่ง 559 ราย เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 ราย สั่งปิดสถานบันเทิง-ผับ-บาร์ -อาบอบนวด 14 วัน หลังเที่ยงคืนวันนี้ เล็งให้ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ รักษาตัวที่อื่นโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

วันที่ 9 เม.ย. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กเห็นชอบให้ออกข้อกำหนดตามความในมาตรา 9 แห่งพ.ร.ก.การบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน พ.ศ.2548 โดยมีรายละเอียดให้อำนาจผู้ว่าราชการจังหวัดพิจารณาสั่งปิดสถานบริการ สถานประกอบการ ที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ สถานประกอบกิจการอาบน้ำ อาบอบนวด ในเขตพื้นที่จังหวัดที่ตรวจพบการระบาด และมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคและการติดเชื้อที่จำเป็นรวม 41 จังหวัด เป็นการชั่วคราวอย่างน้อย 14 วัน ตั้งแต่หลังเที่ยงคืนของวันที่ 9 เม.ย. 2564 จนถึงวันที่ 23 เม.ย. 2564 สำหรับสถานบริการที่ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอื่นนั้น ผู้ว่าราชการจังหวัดมีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมาย พิจารณาสั่งปิดสถานที่นั้นเป็นการชั่วคราวได้ถ้ามีการติดเชื้อเพิ่มเติมมากขึ้น ส่วนการพิจารณาผ่อนคลายการบังคับใช้มาตรการ ซึ่งแต่ละพื้นที่มีความแตกต่างกัน ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแต่ละจังหวัดเสนอต่อ ศบค.ชุดเล็ก พิจารณาผ่อนคลายมาตรการได้ รวมถึงให้มีมาตรการป้องกันโรค และจัดระเบียบให้อำนาจเจ้าหน้าที่ ฝ่ายปกครอง ฝ่ายความมั่นคง เพิ่มความเข้มงวดเข้าตรวจสถานที่ กิจการ หรือกิจกรรมนั้นๆ ให้เป็นไปตามเงื่อนไข เงื่อนเวลา

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวอีกว่า ส่วนกรณีที่มีการนำเสนอข่าวว่า โรงพยาบาลเอกชนงดตรวจเชื้อโควิด-19 เนื่องจากน้ำยาในการตรวจหมดนั้น สิ่งที่เป็นปัญหาคือ มีข้อกำหนดจากกระทรวงสาธารณสุขว่า หากตรวจพบว่าติดเชื้อจะต้องให้ผู้ป่วยแอดมิทเข้ารับการรักษาทันที ซึ่งทำให้ขณะนี้โรงพยาบาลเอกชนต่างๆ มีเตียงไม่เพียงพอกับผู้ป่วย จึงต้องดบริการตรวจหาเชื้อไปก่อน ทั้งนี้ นายกฯ สั่งให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวมทั้งกรุงเทพมหานคร ไปหาแนวทางแก้ไข โดยโรงพยาบาลในสังกัดกรุงเทพมหานครสามารถขยายศักยภาพรับผู้ป่วยได้อีก 5,000 กว่าเตียง รวมทั้งเพิ่มทางเลือกรักษาตัวในโรงแรม และการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วยที่คาดว่าจะเพิ่มขึ้น โดยจะหามาตรการผ่อนคลายให้กับโรงพยาบาลเอกชนในการส่งต่อผู้ป่วยติดเชื้อไปยังโรงพยาบาลอื่นที่ยังสามารถรับผู้ป่วยได้ และในกรณีผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ หรืออาการไม่มาก อาจพิจารณาในการพักรักษาตัวที่อื่นโดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า สำหรับการบริหารจัดการวัคซีนให้กับประชาชนนั้น ขณะนี้ภาครัฐจัดหาได้ประมาณ 75 ล้านโดสสามารถฉีดให้กับประชากร 35 ล้านคน แต่กระทรวงสาธารณสุขประเมินว่า หากจะให้ประชาชนเกิดภูมิคุ้มกันหมู่จะต้องฉีดวัคซีนในประชาชนไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน ดังนั้น จึงยังขาดวัคซีนอีก 10 ล้านโดสเพื่อฉีดให้กับประชาชนอีก 5 ล้านคน ซึ่งโรงพยาบาลเอกชนเสนอตัวนำเข้าวัคซีนเพื่อเป็นทางเลือกให้กับประชาชน แต่ที่ผ่านมามีข้อติดขัดคือ บริษัทผู้ผลิตในต่างประเทศต้องการหนังสือรับรองจากภาครัฐ จึงขอให้หน่วยงานของภาครัฐออกหนังสือรับรองให้ หรือให้องค์การเภสัชกรรมสั่งซื้อเข้ามาแล้วให้โรงพยาบาลเอกชนแบ่งซื้อไปฉีดให้กับประชาชนอีกต่อหนึ่ง โดยนายกรัฐมนตรีเห็นด้วยกับทุกข้อเสนอ จึงแต่งตั้งให้ศาสตราจารย์คลินิก เกียรติคุณ นายแพทย์ปิยะสกล สกลสัตยาทร เป็นประธานคณะทำงานจัดหาวัคซีนเพิ่มเติม โดยมีองค์การเภสัชกรรม สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา สถาบันวัคซีนแห่งชาติ และสมาคมโรงพยาบาลเอกชน ร่วมกันหาแนวทางและเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบภายใน 1 เดือน เพื่อเร่งจัดหาวัคซีนทางเลือกให้เร็วที่สุด

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวด้วยว่า ส่วนการระบาดในพื้นที่กรุงเทพฯ นั้นพบว่า มีผู้ป่วยรายใหม่ถึง 266 คน หากแยกเป็นกลุ่มที่ติดเชื้อจากคลัสเตอร์สถานบันเทิงหลายจังหวัดพบว่า มีถึง 214 คน ซึ่งกรุงเทพฯ พบผู้ป่วยที่เชื่อมโยงคลัสเตอร์สถานบันเทิงมากที่สุด 85 คน ส่วนจังหวัดอุทัยธานีที่เป็นจังหวัดไม่เคยพบผู้ติดเชื้อเลย ล่าสุดพบผู้ติดเชื้อแล้ว 5 คน โดยไม่เกี่ยวข้องกับสถานบันเทิง โดยทางจังหวัดจะแถลงรายละเอียดในช่วงบ่ายวันนี้(9 เม.ย.64)

ด้าน พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ประจำวันว่า พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 559 ราย ติดเชื้อในประเทศ 549 ราย แบ่งเป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่จากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 401 ราย การค้นหาเชิงรุกในชุมชน 148 ราย และติดเชื้อจากต่างประเทศ 10 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 30,869 ราย เสียชีวิตเพิ่ม 1 ราย ยอดผู้เสียชีวิตสะสม 96 ราย ผู้ป่วยที่รักษาหายแล้ว 28,128 ราย และผู้ป่วยที่รักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 2,645 ราย

พญ.พรรณประภา กล่าวอีกว่า สำหรับผู้เสียชีวิต รายที่ 96 เป็นผู้ป่วยชายไทย อายุ 60 ปี เป็นผู้ต้องขัง มีประวัติป่วยเป็นวัณโรค ขณะป่วยอยู่ใน จ.นราธิวาส มีประวัติสัมผัสผู้ป่วยยืนยันรายก่อนหน้า เมื่อวันที่ 31 มี.ค. 2564 มีอาการนอนไม่หลับ ซึมลง เหนื่อยหอบ และเข้ารับเอ็กซ์เรย์ปอด พบผลผิดปกติ แพทย์วินิจฉัยสงสัยเป็นวัณโรค ต่อมามีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น จึงใส่ห่อช่วยหายใจ จากนั้นวันที่ 1 เม.ย. 2564 ส่งตรวจหาเชื้อโควิด -19 ผลตรวจพบเชื้อ ต่อมาผู้ป่วยอาการแย่ลง และเสียชีวิตในวันที่ 8 เม.ย. 2564

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า