SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ชุดเล็กเสนอลดพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เหลือ 1 จังหวัด พร้อมเสนอแนวทางคลายล็อกโควิด-19รอบใหม่ ลุ้น ศบค.ชุดใหญ่เคาะวันศุกร์นี้

วันที่ 27 ม.ค.2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) เปิดเผยว่า เมื่อช่วงเช้าที่ผ่านมาที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.ชุดเล็ก) ได้เสนอร่างการผ่อนคลายซึ่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.)เป็นผู้เสนอ คือ การ การปรับ พื้นที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ยังคงใช้รูปแบบจังหวัดแนวกันชน กับจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะมีการกระจายโรคไปพื้นที่อื่น โดยแบ่งจังหวัดต่างๆเป็นพื้นที่ 5 ระดับ คือ พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด, พื้นที่ควบคุมสูงสุด,พื้นที่ควบคุม,พื้นที่เฝ้าระวังสูงและพื้นที่เฝ้าระวัง โดยจังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อหรือพบจำนวนน้อย และรายอำเภอมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคภายในและนอกจังหวัดต่างกันจังหวัดอาจพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุมแบบรวมแบบบูรณาการตามเกณฑ์รายอำเภอได้

(ร่าง) ข้อเสนอพื้นที่ผ่อนคลายการใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ ประกอบด้วย

1.พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวดสูงสุดหรือสีแดงเข้ม จาก 5 จังหวัดเหลือ 1 จังหวัด คือ สมุทรสาคร

2. พื้นที่ควบคุมสูงสุดหรือสีแดง จาก 23 จังหวัดเหลือ 4 จังหวัด คือ กรุงเทพฯ สมุทรปราการนนทบุรีและปทุมธานี

3.พื้นที่ควบคุม หรือสีส้ม จาก 11 จังหวัดเพิ่มเป็น 20 จังหวัด ภาคเหนือและกลาง 12 จังหวัดไ ด้แก่ ตาก กาญจนบุรี ชัยนาท อ่างทอง ลพบุรี สระบุรี อยุธยา นครปฐม สุพรรณบุรี สมุทรสงคราม ราชบุรี เพชรบุรี ภาคตะวันออก 8 จังหวัด นครนายก ปราจีนบุรี สระแก้ว ฉะเชิงเทรา ชลบุรี ระยอง จันทบุรี

4. พื้นที่เฝ้าระวังสูงหรือสีเหลือง จาก 38 จังหวัดเหลือ 17 จังหวัด
ภาคเหนือ 6 จังหวัด นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท เพชรบูรณ์กำแพงเพชร สุโขทัย
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 จังหวัด นครราชสีมา ชัยภูมิ บุรีรัมย์
ภาคกลางและภาคใต้ 8 จังหวัด ประจวบคีรีขันธ์ ชุมพรสุราษฎร์ธานี พังงา สงขลา ยะลา นราธิวาส

5 .พื้นที่เฝ้าระวังซึ่งเดิมไม่มีเพิ่มเป็น 35 จังหวัดภาคเหนือ 11 จังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย ลำปางลำพู นแม่ฮ่องสอน แพร่ น่าน พะเยา อุตรดิตถ์พิษณุโลก พิจิตร
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 จังหวัด เลยอหนองบัวลำภู อุดรธานี หนองคายบึงกาฬ สกลนคร นครพนม มุกดาหาร ยโสธรกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ขอนแก่นอมหาสารคามศรีสะเกษ สุรินทร์ อำนาจเจริญออุบลราชธานี
ภาคใต้ 7 จังหวัด นครศรีธรรมราช ภูเก็ต กระบี่ สตูลิ ตรัง พัทลุง และปัตตานี

ข้อเสนอการปรับพื้นที่ที่ประกาศใช้มาตรการควบคุมแบบบูรณาการ โดย ศปก.สธ. คือ

  1. ใช้รูปแบบจังหวัดแนวกันชน กับจังหวัดที่มีความเสี่ยงที่จะมีการกระจายโรคไปพื้นที่อื่น
  1. พื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด -> ควบคุมสูงสุด -> ควบคุม -> เฝ้าระวังสูง -> เฝ้าระวัง
  1. จังหวัดที่ไม่พบผู้ติดเชื้อ/จํานวนน้อย และรายอ่าเภอมีความเสี่ยงต่อการแพร่โรคภายในและนอกจังหวัดต่างกัน จังหวัดอาจพิจารณาปรับลดหรือเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการควบคุม แบบบูรณาการ ตามเกณฑ์ รายอ่าเภอได้
  1. เกณฑ์ใช้ปรับพื้นที่จังหวัดตามมาตรการควบคุมแบบบูรณาการ
  • สถานการณ์การระบาดของโรคในจังหวัด (ผู้ติดเชื้อรายใหม่ 7-14-28 วัน) จากแผนที่การระบาด
  • มีแหล่งโรคที่เสี่ยงต่อการกระจายไปพื้นที่จังหวัด-ภูมิภาคอื่น เช่น สถานบันเทิง บ่อน สนามชนไก่
  • จังหวัดที่มีพื้นที่เสี่ยงต่อการลักลอบเดินทางเข้าประเทศ ถึงพื้นที่เขดชั้นในประเทศ
  • มาตรการเฝ้าระวังเชิงรุกในชุมชน สถานประกอบการ และพบสัดส่วนผู้ติดเชื้อน้อย (<1%, 1-5%)

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า