Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ประชุมรับมือมะพร้าว-กะทิ ไทยถูกแบนเพราะถูกหาว่าใช้แรงงานลิงแบบทารุณ 2 เจ้าใหญ่ ชาวเกาะ-อร่อยดี ทำระบบให้ตรวจสอบย้อนได้ วางเกณฑ์ไม่ซื้อวัตถุดิบที่ใช้ลิงเก็บ ส่วนภาครัฐเร่งหาช่องทางชี้แจง พาทูตดูของจริง

วันที่ 8 ก.ค. 2563 เวลา 17.30 น. นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและ รมว.พาณิชย์ แถลงข่าวภายหลังประชุมกรณีองค์กรพิทักษ์สัตว์ PETA รณรงค์ให้แบนสินค้าผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากไทยเพราะการใช้แรงงานลิงอย่างทารุณ โดยมีผู้เข้าร่วม เช่น นายเกียรติศักดิ์ เทพผดุงพร กรรมการบริหารบริษัทเทพผดุงพรมะพร้าว จำกัด (กะทิชาวเกาะ) น.ส.ศศิวรรณ นวลศรี ผู้จัดการฝ่ายขายและการตลาดอาวุโส บริษัทไทย อกริ ฟู๊ด จำกัด (มหาชน) (กะทิอร่อยดี) สมาคมอุตสาหกรรมอาหารสำเร็จรูปของไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง

นายจุรินทร์ กล่าวว่า ผลิตภัณฑ์มะพร้าวจากประเทศไทย เช่น ชาวเกาะ อร่อยดี ถูกนำออกจากชั้นวางในห้างสรรพสินค้าบางแห่งในประเทศอังกฤษ สันนิษฐานว่าเกิดจากความกังวลเรื่องที่คิดว่า 2 บริษัท รับซื้อมะพร้าวจากสวนที่ใช้แรงงานลิง ถ้าไม่มีการดำเนินการใดๆ อาจมีผลกระทบจากผลิตภัณฑ์ยี่ห้ออื่นๆ หรือห้างสรรพสินค้าอื่น การหารือร่วมกันได้ข้อสรุปถึงแนวทางที่ควรจะได้มีการดำเนินการต่อไป คือ

ประการที่ 1 ภาคเอกชนหรือโรงงานผลิตภัณฑ์จากมะพร้าว กำหนดมาตรการที่สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ชัดเจน ที่ผลิตภัณฑ์หรือบรรจุภัณฑ์ว่าผลิตจากมะพร้าวที่มาจากสวนใด มีการใช้แรงลิงหรือไม่ โดยใส่รหัสลงบนบรรจุภัณฑ์ของผลิตภัณฑ์แต่ละชนิดลงไปเพื่อให้สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้

ประการที่ 2 เพื่อให้ผู้ผลิตผู้นำเข้า และผู้กระจายสินค้าหรือตัวแทนห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่จำหน่ายผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยได้รับทราบกระบวนการทางด้านการผลิตตั้งแต่ต้นน้ำ จากสวนไปถึงปลายน้ำว่าดำเนินการเช่นไร จะเชิญตัวแทนเอกอัครราชทูตของประเทศต่างๆ ที่ประจำอยู่ในประเทศไทยรวมทั้งสื่อมวลชนและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องกับการพิทักษ์สัตว์เข้าร่วมตรวจสอบด้วย เมื่อสถานการณ์โควิดหมดไป

ประการที่ 3 ทีมไทยแลนด์ที่ประจำอยู่ต่างประเทศ ช่วยกันทำคำชี้แจงและนัดพบผู้นำเข้าห้างสรรพสินค้าต่างๆ ที่เป็นลูกค้าผลิตภัณฑ์จากมะพร้าวของประเทศไทยทำความเข้าใจต่อไป

ด้าน นายเกียรติศักดิ์ เจ้าของกะทิชาวเกาะ กล่าวว่า ห้างสรรพสินค้าหลายแห่งในอังกฤษทยอยนำสินค้าลงจากชั้นวางและบางห้างเริ่มควบคุมสินค้า กระทบยอดขายแล้ว 30% นอกจากอังกฤษจะมีผลในโซนยุโรปแต่ละบริษัทเริ่มสอบถามมา รวมถึงอเมริกาและออสเตรเลียด้วย ได้ชี้แจงไปว่าใช้แรงงานคน และมีการทำบันทึกข้อตกลงกับผู้ส่งวัตถุดิบทุกรายว่าไม่รับซื้อมะพร้าวที่ใช้ลิงเก็บ

น.ส.ศศิวรรณ ตัวแทนผู้ผลิตกะทิอร่อยดี กล่าวว่า บริษัทมีการทำบันทึกข้อตกลงกับเกษตรกรว่ามะพร้าวที่เก็บไม่ได้ใช้แรงงานลิง และยังมีทีมงานลงพื้นที่ไปตรวจสอบด้วย โดยจากนี้จะเพิ่มรายละเอียดลงไปในแพกเกจจิ้งให้ตรวจสอบได้ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า

ขณะที่ นายธีรวุฒิ สุวัธนะเชาว์ ผอ.กองการสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กรมปศุสัตว์ ระบุว่า ประเทศไทย มี พ.ร.บ.ป้องกันการทารุณกรรมสัตว์ 2557 มีมาตรการรับข้อร้องทุกข์กล่าวโทษอยู่แล้ว และในช่วง 6 ปีที่ผ่านมาไม่ได้รับเรื่องร้องเรียนเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ใช้ลิงเก็บมะพร้าว

สำหรับ ยอดการส่งออกกะทิของไทย ในปี 2562 รวมอยู่ที่ 1.2 หมื่นล้านบาท โดยส่งไปอังกฤษประมาณ 1,000 ล้านบาทคิดเป็นประมาณร้อยละ 8

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า