SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 29 พ.ค. พลโทวีรชน สุคนธปฏิภาค รองโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี พอใจผลการจัดอันดับความสามารถในการแข่งขันของไทย ประจำปี 2562 ซึ่งประเมินโดย International Institute for Management Development หรือ IMD ที่ปรากฏว่า ไทยมีอันดับดีขึ้นถึง 5 อันดับ จากอันดับที่ 30 เป็น 25 ซึ่งนับเป็นอันดับที่ดีที่สุดในรอบกว่า 10 ปีที่ผ่านมา

“ปีนี้ผลการจัดอันดับดีขึ้น 3 ด้าน จากทั้งหมด 4 ด้าน คือ สภาวะเศรษฐกิจ ประสิทธิภาพของภาครัฐ และโครงสร้างพื้นฐาน ส่วนประสิทธิภาพของภาคธุรกิจยังเป็นประเด็นท้าทายที่ไทยจะต้องพัฒนาต่อไป ซึ่งนายกรัฐมนตรีย้ำว่าความสำเร็จเกิดจากความร่วมมือของทุกฝ่าย และท้ายที่สุดคนไทยและประเทศไทยก็จะได้ประโยชน์โดยตรง”

รองโฆษกฯ กล่าวต่อว่า นายกรัฐมนตรี มองว่าเพราะรัฐบาลเร่งส่งเสริมการลงทุนจากต่างประเทศ จึงทำให้อันดับเรื่องการลงทุนจากต่างประเทศดีขึ้นมาก เช่นเดียวกับการปรับปรุงกระบวนการอำนวยความสะดวกให้กับภาคธุรกิจผ่านระบบดิจิทัลทำให้การบริการรวดเร็วและมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังเพิ่มสัดส่วนการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาของประเทศอย่างก้าวกระโดด

“นายกฯ ระบุว่าสิ่งสำคัญคือ การสร้างความตระหนักและความเข้าใจให้ทุกภาคส่วนทั้งเจ้าหน้าที่ของรัฐ ภาคเอกชน และประชาชน ร่วมมือกันยกระดับการทำงานของตนเอง โดยเฉพาะในกลุ่มธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก รวมถึงภาคการเกษตร ซึ่งเป็นกลไกหลักในการขับเคลื่อนประเทศ โดยรัฐบาลเร่งส่งเสริมให้นำเทคโนโลยีและนวัตกรรมไปใช้เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่สินค้าและบริการ และพัฒนาคนให้พร้อมรองรับความเปลี่ยนแปลงของโลกในปัจจุบัน”

ข้อมูลจาก www.imd.org

ข้อมูลจาก thailandcompetitiveness.org ของ สมาคมการจัดการธุรกิจแห่งประเทศไทย ระบุว่า สถาบัน IMD World Competitiveness Center ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ จะรายงานการจัดอันดับขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศต่างๆ 63 ประเทศทั่วโลก โดยในปี 2561 ประเทศไทยมีผลที่ตกลงทั้งโดยคะแนนและอันดับ หลังจากคะแนนขยับขึ้นมาในช่วงปี 2557-2560

ข้อมูลจาก http://thailandcompetitiveness.org

ส่วนในปี 2562 ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 25 จากทั้งหมด 63 ประเทศ โดยเพิ่มขึ้นจากอันดับที่ 30 ในปี 2561 ถึง 5 อันดับ ซึ่งจากผลการจัดอันดับที่แบ่งเป็น 4 ด้านได้แก่ สภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) ประสิทธิภาพของภาครัฐ (Government Efficiency) ประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) และโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) ปรากฎว่าผลการจัดอันดับดีขึ้นทุกด้านยกเว้นประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ

โดยด้านสภาวะเศรษฐกิจ (Economic Performance) มีอันดับดีขึ้นจากอันดับที่ 10 มาเป็นอันดับที่ 8 ส่วนด้านประสิทธิภาพของภาครัฐมีอันดับขึ้นเป็นอันดับที่ 20 จาก 22 และด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Infrastructure) มีอันดับดีขึ้นเป็นอันดับที่ 45 จากอันดับที่ 48 ในปี 2561 ในขณะที่ด้านประสิทธิภาพของภาคธุรกิจ (Business Efficiency) เป็นปัจจัยเดียวในการจัดอันดับปีนี้ที่ ลดลง 2 อันดับจากอันดับที่ 25 มาอยู่ที่ 27

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า