Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่พรรคร่วมฝ่ายค้านเสนอให้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 เพราะเป็นรัฐธรรมนูญที่มีปัญหา โดยหนึ่งในข้อกล่าวหา คือ น.ส.พรรณิการ์ วานิช โฆษกพรรคอนาคตใหม่ ระบุว่า เป็นรัฐธรรมนูญเฮงซวยมีปัญหาทุกมาตรา โดยอธิบายเพิ่มเติมว่า ไม่ได้หมายถึงเนื้อหา แต่หมายถึงกระบวนการที่มาที่ไม่ถูกต้องไม่มีความยึดโยงกับประชาชน

แฟ้มภาพ

วันที่ 17 ก.ย. คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ (กรธ.) ชุดของนายมีชัย ฤชุพันธุ์ ได้ออกมาชี้แจงถึงขั้นตอนในการร่างรัฐธรรมนูญ โดยให้หัวเรื่องว่า “ความจริงในการยกร่างรัฐธรรมนูญ 2560” มีใจความสำคัญว่า

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ 2560 ตั้งขึ้นมาโดยผลของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย (ฉบับชั่วคราว) พ.ศ. 2557 ขั้นตอนระหว่าง จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ ได้เปิดกว้างรับฟังความคิดเห็นเป็นการทั่วไป มีประชาชนเกือบทุกสาขาอาชีพ นักวิชาการ นักการเมือง แม้แต่พรรคการเมืองเอง ส่งข้อเสนอแนะเข้ามา 526 ฉบับ และ กรธ. ยังได้นำ “ผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชน” ที่คณะกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ ชุด ดร. บวรศักดิ์ อุวรรณโณ รับฟังความเห็นอย่างเป็นระบบและจัดทำไว้ก่อนมาประกอบการพิจารณาด้วย

นอกจากนี้ ยังได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นไม่ต่ำกว่า 40 เวทีในทั่วทุกภูมิภาคของประเทศ มีคณะอนุกรรมการดำเนินการเกี่ยวกับเรื่องนี้หลายชุดหลายคณะ ทั้งยังเปิดช่องทางการสื่อสารเพื่อรับฟังความคิดเห็นอย่างกว้างขวาง ทั้งก่อนและระหว่างการยกร่าง รวมทั้งขั้นตอนการออกกฎหมายประกอบรัฐธรรมนูญ พื่อเป็นการวางรากฐานใหม่ในการยกร่างกฎหมายตามที่บัญญัติไว้ในมาตรา 77 ของรัฐธรรมนูญ ที่เน้นหนักเรื่อง “การมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย” และยังได้ร่วมมือกับสถาบันการศึกษาจัดทำโพลล์สำรวจความคิดเห็นของประชาชนในหลากหลายประเด็นในหลายครั้งเกี่ยวกับเนื้อหาของรัฐธรรมนูญด้วย

ในคำชี้แจงระบุด้วยว่า ผลจากการรับฟัง กรธ. ได้นำข้อเสนอแนะต่างๆมาปรับปรุงร่างรัฐธรรมนูญใหม่ในหลายประเด็น เช่น การเพิ่มสิทธิให้ประชาชนในการติดตามและเร่งรัดให้รัฐดำเนินการตามบทบัญญัติว่าด้วยหน้าที่ของรัฐ ถ้าการนั้นเป็นการทำเพื่อให้เกิดประโยชน์แก่ประชาชนโดยตรง ประชาชนและชุมชนย่อมมีสิทธิจะติดตาม และเร่งรัดให้รัฐดำเนินการ รวมทั้งฟ้องร้องหน่วยงานรัฐที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้ประชาชนหรือชุมชนได้รับประโยชน์นั้นตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่กฎหมายบัญญัติ (มาตรา 51) หรือการแก้ไขมาตราต่างๆซึ่งเกี่ยวข้องกับสิทธิของประชาชน อีกหลายมาตรา อีกทั้งยังได้เพิ่มเนื้อหาในหมวดปฏิรูปขึ้นใหม่ตามที่ คสช. ครม. เสนอซึ่งตรงกับข้อเสนอแนะของประชาชนบางส่วนด้วย

เนื้อหาในหมวดปฏิรูปนี้เริ่มตั้งแต่มาตรา 257-261 เนื้อหาครอบคลุมการปฏิรูปกระบวนการยุติธรรม การศึกษา สาธารณสุข การบริหารราชการแผ่นดิน กฎหมาย การเมือง เศรษฐกิจ และอื่น ๆ เพื่อให้การพัฒนาประเทศในระยะต่อไปมีความยั่งยืน เพราะรัฐธรรมนูญไม่ใช่เรื่องการเมืองอย่างเดียว

คณะกรรมการร่างรัฐธรรมนูญ ระบุในช่วงท้ายว่า ที่สำคัญ คือมีการจัดให้ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งได้ลง “ประชามติ” ว่าจะเห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญนี้หรือไม่ซึ่งเป็นการลงประชามติเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญเป็นครั้งที่สองในประวัติศาสตร์ของประเทศ และปรากฏว่ามีผู้เห็นชอบด้วยกับร่างรัฐธรรมนูญ 16,820,402 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 61.35

จากข้อเท็จข้างต้นนี้ ย่อมบ่งชี้ชัดเจนว่า การที่มีบุคคลกล่าวพาดพิงถึง กรธ.และรัฐธรรมนูญ 2560 หลายประเด็น โดยเฉพาะประเด็นที่ว่าขาดการมีส่วนร่วมของพี่น้องประชาชนนั้นจึง “ไม่เป็นความจริง” และอาจเข้าข่ายเป็นความประพฤติที่ขาด “สัมมาวาจา” เพราะไม่ได้กล่าว “ความจริง” อันชวนให้ผู้ฟังเกิดความเข้าใจผิด เกิดความเกลียดชัง ความแตกสามัคคี ขึ้นในหมู่ชน

อดีต กรธ.ทั้งหมดรับฟังและน้อมรับคำวิพากษ์วิจารณ์ เพราะได้ทำเช่นนั้นตลอดมา แต่ปรารถนาให้เป็นไปอย่างสร้างสรรค์และประกอบไปด้วยความจริงเป็นสำคัญ เพราะการวิจารณ์โดยอคติและเหมารวมนั้นจะทำให้สังคมเข้าใจผิดซึ่งจะไม่เป็นผลดีต่อความพยายามของทุกฝ่ายที่จะนำบ้านเมืองให้พ้นจากหล่มอคติที่เป็นปัญหามายาวนาน อีกทั้งจะเป็นปัญหากับผู้กล่าวเองเพราะการบริภาษรัฐธรรมนูญแบบเหมารวม จะทำให้สถาบันและองค์กรต่าง ๆ ที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญได้รับผลกระทบจากการกล่าวถ้อยคำเหล่านั้นด้วย จึงเรียนมาเพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องร่วมกัน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า