SHARE

คัดลอกแล้ว

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้ง 9 คน ถูกเลือกมาอย่างไร แล้วทำไมการตัดสินทุกครั้ง ถึงถูกหลายฝ่ายมองว่า เอนเอียงไปที่ฝั่งหนึ่งอยู่เสมอ เราจะไปทำความรู้จัก ศาลรัฐธรรมนูญชุดปัจจุบันอย่างเข้าใจง่าย

1.) ในปี พ.ศ. 2557 คสช.ยึดอำนาจและฉีกรัฐธรรมนูญฉบับเดิมทิ้ง โดยในประวัติศาสตร์ของประเทศไทย เมื่อมีการยึดอำนาจโดยทหาร เกือบทุกครั้งจะมีการเขียนรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อ ‘เขียนกฎใหม่’ ให้ฝั่งทหารสามารถอยู่ในอำนาจต่อไปให้ได้นานที่สุด แต่ในมุมของคนยึดอำนาจจะอ้างว่า ต้องเขียนกฎใหม่เพื่อไม่ให้ประเทศเกิดปัญหาซ้ำรอยก่อนจะมีการรัฐประหาร

2.) คสช.แต่งตั้ง มีชัย ฤชุพันธุ์ เป็นหัวหน้าทีมร่างรัฐธรรมนูญ เพื่อสร้างกฎใหม่ๆ เอาไว้ให้คสช. ได้เปรียบอย่างเบ็ดเสร็จในเกมรัฐสภา

3.) รัฐธรรมนูญ ฉบับ 2560 ที่มีชัยออกแบบ ได้ให้อำนาจสูงสุดกับ คสช. ในการแต่งตั้ง ‘สนช.’ และ ‘วุฒิสมาชิก’ โดยสององค์กรนั้นที่คสช. อนุมัติ ก็จะเลือก องค์กรอิสระอีกที ไม่ว่าจะเป็น ผู้ตรวจการแผ่นดิน, คณะกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (กสม.), คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามทุจริตแห่งชาติ (ปปช.),  คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) รวมถึง ศาลรัฐธรรมนูญ

ดังนั้น คำกล่าวที่ว่า คสช. เป็นคนเลือกองค์กรอิสระ และแต่งตั้งศาลรัฐธรรมนูญ ก็ไม่เกินจริง เพราะคสช.เป็นคนแต่งตั้ง สว. ที่เลือกว่าใครจะได้เป็นตุลาการศาลรัฐธรรมนูญนั่นเอง

4.) หน้าที่ของศาลรัฐธรรมนูญ คือการตีความ ว่าการกระทำใดๆ ของประชาชน ผิดต่อ ‘รัฐธรรมนูญ’ ที่ถือเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศหรือไม่ ว่าง่ายๆ คือ ชี้เป็นชี้ตายได้ทุกอย่าง

โดยศาลรัฐธรรมนูญ จะมีผู้พิพากษาทั้งหมด 9 คน ถูกเรียกว่า ‘ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ’ โดยทั้งหมดที่ถูกเลือก มาจากการเห็นชอบของฝ่ายทหาร หรือคสช. ทั้งสิ้น

ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญในปัจจุบัน 9 คน และสถาบันที่เรียนในระดับปริญญาตรี ประกอบด้วย

นายนครินทร์ เมฆไตรรัตน์
(ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

นายปัญญา อุดชาชน
(ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ รามคำแหง และ นิติศาสตร์ สุโขทัยธรรมาธิราช)

นายอุดม สิทธิวิรัชธรรม
(ปริญญาตรี นิติศาสตร์ รามคำแหง)

นายวิรุฬห์ แสงเทียน
(ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

นายจิรนิติ หะวานนท์
(ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

นายนภดล เทพพิทักษ์
(ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)

นายบรรจงศักดิ์ วงศ์ปราชญ์
(ปริญญาตรี รัฐศาสตร์ เชียงใหม่)

อุดม รัฐอมฤต
(ปริญญาตรี นิติศาสตร์ ธรรมศาสตร์)

สุเมธ รอยกุลเจริญ
(ปริญญาตรี นิติศาสตร์ รามคำแหง)

5.) ศาลรัฐธรรมนูญ เข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองโดยตรง ในหลายรูปแบบ เช่น
การกำจัดผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง เช่น ขับสมัคร สุนทรเวช ออกจากตำแหน่ง โดยบอกว่า เป็นพิธีกรรับเชิญในรายการโทรทัศน์ ถือเป็น ‘ลูกจ้าง’ และขัดต่อคุณสมบัติของรัฐมนตรี โดนต้องโดนปลดจากตำแหน่ง

การยุบทำลายพรรค ที่เป็นปริปักษ์กับฝั่งคสช. เช่น พรรคอนาคตใหม่ ตามด้วยพรรคก้าวไกล รวมถึงตัดสิทธิ์กรรมการบริหารพรรค 10 ปี

6.) การตัดสินของศาลรัฐธรรมนูญ นับตั้งแต่คสช. ทำการรัฐประหาร ปรากฏว่า ‘เป็นคุณ’ ให้กับฝั่งคสช. ทั้งสิ้น โดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา โดนคดี 3 ครั้งให้ถอดถอนจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี แต่พล.อ.ประยุทธ์ รอดทั้ง 3 ครั้งแบบ 100% ในขณะที่นายเศรษฐา ทวีสิน โดนคดี 1 ครั้ง แล้วก็ถูกเด้งจากตำแหน่งทันที

7.) ล่าสุด ศาลรัฐธรรมนูญได้สร้างปรากฏการณ์อีกครั้ง โดยนายอุดม สิทธิวิรัชธรรม หนึ่งในตุลาการ ได้เปิดเผยความในใจ ที่สุราษฎร์ธานี เป็นการพูดติดตลกใส่พรรคก้าวไกลที่โดนยุบ ว่า “ต้องขอบคุณผมนะ ที่ยุบพรรคเขา เขามีเงินเข้าไปตั้ง 20-30 ล้าน ยุบปั๊บ อ้าว ไปเปิดพรรคใหม่ได้ ไม่ข้องใจแล้วหรือ เมื่อวานร้องไห้อยู่ พรรคเราจะไปแล้ว อย่างนู้นอย่างนี้ 2 วันเลิก จากน้ำตาเป็นเสียงหัวเราะ ยักไหล่แล้วไปต่อ เงิน 20 ล้าน”ทำให้เกิดกระแสถล่มเละ จากมวลชนว่า คนที่ทำงานเป็น ‘ตุลาการ’ สามารถ Take Side ตั้งธง และกล่าวพาดพิงผู้ที่อยู่ในคดี ด้วยท่าทีแบบนี้ได้หรือไม่8.) ศาลรัฐธรรมนูญ กลายเป็นปมขนาดใหญ่ในวิถีทางการเมืองไทย เพราะมีอำนาจขั้นสูงสุด ยิ่งกว่าฝ่ายนิติบัญญัติ และฝ่ายบริหาร สามารถทำได้ทุกอย่างที่ต้องการ ขณะที่เรื่องของที่มา ที่ผูกพันกับคสช. อย่างลึกซึ้ง ก็ทำให้เกิดคำถามว่า การตัดสินคดีความใดๆ มีความโปร่งใสแค่ไหน และสุดท้ายตัดสินใจด้วยความคิดของตัวเอง หรือว่าถูกชักจูงได้อำนาจจากผู้คนอื่น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า