Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

explainer ศาลรัฐธรรมนูญ วินิจฉัยว่าข้อเสนอปฏิรูปสถาบัน มีความหมายเดียวกับ การล้มล้างการปกครองของไทย และสั่งปิดประตู ห้ามประชาชนวิจารณ์พระมหากษัตริย์ทันที
เหตุการณ์ทั้งหมดเป็นอย่างไร workpointTODAY จะอธิบายเรื่องราวแบบเข้าใจง่ายที่สุดใน 15 ข้อ

1) ย้อนกลับไปวันที่ 3 สิงหาคม 2563 ในงานชุมนุม #เสกคาถาปกป้องประชาธิปไตย อานนท์ นำภา ใส่เสื้อคลุมแฮร์รี่ พอตเตอร์ ขึ้นเวทีปราศรัยที่อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย พร้อมพูดถึงสถาบันพระมหากษัตริย์อย่างตรงไปตรงมา ในหลายประเด็น เช่น “ทำไมถึงมีการโอนงบประมาณบางส่วนของกองทัพ ไปขึ้นตรงกับพระมหากษัตริย์” ซึ่ง ณ เวลานั้น สร้างความตื่นตะลึงอย่างมาก ที่มีการหยิบเอาเรื่องสถาบันมาพูดอย่างเปิดเผยขนาดนี้

2) ตามมาด้วย 7 วันต่อมา วันที่ 10 สิงหาคม 2563 ในเวทีการชุมนุม “ธรรมศาสตร์จะไม่ทน” มีการวิจารณ์สถาบันพระมหากษัตริย์อีกครั้ง นำโดย อานนท์ นำภา, ไมค์ ระยอง และ รุ้ง-ปนัสยา โดยไฮไลท์อยู่ที่ การอ่าน 10 ข้อเรียกร้องปฏิรูปสถาบันกษัตริย์ และนี่เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์ไทย ที่มีการเรียกร้องเกี่ยวกับพระราชอำนาจต่อหน้าสาธารณชนแบบนี้

โดย 10 ข้อ ที่รุ้ง-ปนัสยา อ่าน ตัวอย่างเช่น ยกเลิกการประชาสัมพันธ์และโฆษณาชวนเชื่อสถาบันกษัตริย์, ลดงบประมาณแผ่นดินที่จัดสรรให้กับสถาบันกษัตริย์ให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจ และ ห้ามลงพระปรมาธิไธยรับรองรัฐประหาร เป็นต้น

การเสนอ 10 ข้อดังกล่าว เป็นการดันเพดานที่สูงที่สุด ที่เคยมีมาในการพูดคุยเกี่ยวกับสถาบันพระมหากษัตริย์ในไทย จึงเกิดกระแสทั้งฝ่ายเห็นด้วยกับรุ้ง และฝ่ายต่อต้านรุ้ง

3) ฝ่ายที่เห็นด้วยเช่น เยาวชนในโลกออนไลน์ ที่เริ่มมีการพูดถึงพระราชอำนาจของพระมหากษัตริย์อย่างเปิดเผย จากที่เคยเป็นเรื่องที่เก็บเงียบ ไม่สามารถพูดได้ แต่ทุกวันนี้ การคุยเรื่องพระมหากษัตริย์ถือว่าเป็นเรื่องปกติมาก

4) อย่างไรก็ตาม ฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยก็มีจำนวนมาก เช่นฝ่ายรัฐบาลที่ไม่รับพิจารณาข้อเสนอแม้แต่น้อย โดยพล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า ข้อเสนอปฏิรูปสถาบันเป็นเรื่องที่ “มากเกินไป”
5) อีกคนที่ไม่เห็นด้วยกับการปราศรัยที่ธรรมศาสตร์ คือนายณฐพร โตประยูร อดีตผู้ถูกกล่าวหาในคดีฟอกเงิน ปี 2559 โดยนายณฐพรยื่นเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญในวันที่ 18 สิงหาคม ว่าคนที่จัดชุมนุมปราศรัย กระทำการ “ล้มล้างการปกครอง”

นายณฐพร ระบุว่าประเทศไทย มีระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข การลดทอนพระราชอำนาจ ก็เท่ากับเจตนาจะล้มล้างการปกครองที่มีมาแต่โบราณ ดังนั้นจึงขออำนาจศาลให้ กลุ่มม็อบ “เลิกการกระทำที่จะกล่าวถึงการปฏิรูปสถาบัน”

สำหรับนายณฐพร เป็นผู้ร้องเรียน ฝั่งที่อยู่ตรงข้ามกับรัฐบาลเสมอ ตัวอย่างผลงานในอดีต เช่น การยื่นคำร้องขอยุบพรรคอนาคตใหม และ ยื่นยุบพรรคก้าวไกล เป็นต้น นอกจากนั้นยังเคยมีทนายความของกลุ่มคนเสื้อหลากสี ในปี 2554 อีกด้วย

6) หลังจากศาลรับฟ้อง ทนายอานนท์ นำภา แสดงความเห็นกับบีบีซีไทยว่า “การวินิจฉัยว่าเป็นการล้มล้างการปกครอง จะทำให้ศาลรัฐธรรมนูญกลายเป็นตัวตลกของสังคม เชื่อว่าศาลรัฐธรรมนูญจะวินิจฉัยในทางที่ทำให้ สังคมก้าวต่อได้”

7) หลังจากการยื่นคำร้อง ศาลใช้เวลาพิจารณา 1 ปี ก็ประกาศคำวินิจฉัยในวันที่ 10 พฤศจิกายน 2564 โดยฝั่งรุ้ง-ปนัสยา ต้องการให้มีการไต่สวนก่อนคำวินิจฉัย โดยที่ศาล นายสุลักษณ์ ศิวรักษณ์ นักประวัติศาสตร์ชื่อดัง อยู่ในบริเวณด้วยและพร้อมจะให้การเป็นพยาน

อย่างไรก็ตาม ศาลรัฐธรรมนูญไม่อนุญาตให้มีการไต่สวนใดๆ เกิดขึ้นในวันนี้ ทำให้รุ้ง-ปนัสยา เดินออกจากศาล แล้วกล่าวว่า ที่ต้องการยกเลิกมาตรา 112 ไม่ใช่เพื่อล้มล้างการปกครอง รวมถึงอธิบายว่า ประชาชนของประเทศย่อมเป็นผู้มีอำนาจสูงสุดในการแก้ไขกฎหมายทั้งปวงต่างหาก

8 ) คำวินิจฉัยของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญได้ข้อสรุปว่า ความต้องการปฏิรูป กับการล้มล้าง “มีความหมายเดียวกัน” โดยศาลระบุว่า

“สถาบันพระมหากษัตริย์ของไทย เป็นเสาหลักสำคัญที่จะขาดเสียมิได้ในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ดังนั้นการกระทำใดๆ ที่มีเจตนาเพื่อทำลายหรือทำให้สถาบันต้องสิ้นสลายไป ไม่ว่าการพูด เขียน หรือการกระทำต่าง ๆ เพื่อให้เกิดผลเป็นการบ่อนทำลาย ด้อยคุณค่า หรืออ่อนแอลง ย่อมมีเจตนาล้มล้างสถาบันพระมหากษัตริย์”

“เห็นได้ว่าประวัติศาสตร์การปกครองของไทย อำนาจการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์มาโดยตลอด นับตั้งแต่ยุคสุโขทัย อยุธยา ตลอดจนกรุงรัตนโกสินทร์ … พระมหากษัตริย์จึงเป็นที่เคารพศรัทธา ศูนย์รวมจิตใจของปวงชนชาวไทยมาโดยตลอดหลายร้อยปี”

นอกจากนั้นศาลรัฐธรรมนูญ ยังระบุว่า การประชุมของกลุ่มผู้ชุมนุม ทั้งที่งานในธรรมศาสตร์ และในช่วงหลังจากนั้น มีการลบสีน้ำเงินออกจากธงชาติ และมีเจตนาซ่อนเร้นอย่างจะล้มล้างสถาบัน ไม่ใช่การปฏิรูป เป็นการแสดงความเห็นโดยไม่สุจริต

9) ดังนั้นข้อสรุปคือการกระทำที่ผ่านมาทั้งหมดของ อานนท์ นำภา, ไมค์ ระยอง และ รุ้ง-ปนัสยา ในการปราศรัยที่ธรรมศาสตร์ คือเจตนาที่จะล้มล้างการปกครองของประเทศนี้ และจากนี้ต่อไป ห้ามมีการวิจารณ์ และพูดถึงการปฏิรูปสถาบันพระมหากษัตริย์อีก

10) หลังคำวินิจฉัยเกิดขึ้น ทำให้มวลชนจำนวนหนึ่งที่อยู่หน้าศาลรัฐธรรมนูญ นำเอาอนุสาวรีย์ประชาธิปไตยจำลองมาราดน้ำมันก่อนจุดไฟเผา เพื่อแสดงออกว่าไม่ยอมรับคำวินิจฉัยของศาล พร้อมโปรยกระดาษข้อความ เรื่อง “ยกเลิก 112” และ “ปฏิรูปตุลาการ” กันปลิวว่อนทั่วบริเวณ

11) ไม่ใช่แค่ที่หน้าศาลเท่านั้น แต่ในโลกออนไลน์ ศาลรัฐธรรมนูญก็ถูกวิจารณ์อย่างเผ็ดร้อน รศ.ดร.ประจักษ์ ก้องกีรติ ทวีตข้อความว่า “การรัฐประหารคือการล้มล้างการปกครองที่ชัดแจ้งที่สุดโดยมิต้องตีความ แต่ที่น่าอัศจรรย์คือ ศาลยุติธรรมและศาลรัฐธรรมนูญ ไม่เคยมีคำตัดสินให้การรัฐประหารมีความผิดเลยแม้แต่ครั้งเดียว แถมผู้นำการรัฐประหารยังมาลงสมัครรับเลือกตั้งเป็นนายกฯ ต่อได้อีก ‘ความยุติธรรมแบบไทยๆ’ จึงมีส่วนทำลายประชาธิปไตยมาโดยตลอด”

12) นอกเหนือจากนี้ ยังมีการวิจารณ์เรื่อง “ที่มา” ของศาลรัฐธรรมนูญอีกด้วย โดยตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ทั้งหมด 9 คน มี 2 คนที่ถูกเลือกในยุค “ก่อน คสช.” ส่วนอีก 2 คนถูกแต่งตั้งโดยสนช. และอีก 5 คนที่ถูกแต่งตั้งโดย ส.ว. แต่ประเด็นคือ ทั้ง สนช. และ ส.ว. ก็จะถูกแต่งตั้งโดย คณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. อีกที ดังนั้นในโลกออนไลน์ จึงวิจารณ์ว่า การตัดสินใดๆ เป็นไปได้หรือไม่ ที่อย่างน้อย 7 คะแนนเสียง จะคล้อยตามไปในทิศทางที่คสช. ต้องการ

13) สำหรับสถานการณ์ ที่น่าสนใจอีกหนึ่งประเด็นคือเรื่อง พรรคก้าวไกล ที่ออกมาเคลื่อนไหว อยู่ฝั่งเดียวกับผู้ชุมนุมมาตลอด และมีการใช้ตำแหน่งประกันตัวผู้ต้องหาออกมาหลายครั้ง โดยนายณฐพร โตประยูรระบุว่า ถ้าศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยแบบนี้ พรรคก้าวไกลที่ให้ท้ายผู้ชุมนุม ก็ต้องเป็นปฏิปักษ์ต่อการปกครองของประเทศเช่นเดียวกัน

14) หลังจากคำวินิจฉัยออกมาแบบนี้ จึงทำให้เกิดดีเบทกันอย่างหนักว่า สุดท้ายแล้ว ระบอบการเมืองของไทยในปัจจุบัน ประชาธิปไตยที่มีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขขอบเขตอยู่ตรงไหนกันแน่ และ เป็นเรื่องผิดปกติหรือไม่ ที่สถาบันพระมหากษัตริย์ จะไม่สามารถถูกอภิปราย หรือตั้งคำถามใดๆ ได้เลย

15) แฮชแท็กอันดับ 1 ในประเทศไทย ในวันที่ 10 พฤศจิกายน #ปฏิรูปไม่เท่ากับล้มล้าง ทะยานขึ้นเป็นเทรนด์อย่างรวดเร็ว พร้อมกับการถกเถียงของทั้งสองฝ่าย ที่ยังคงดุเดือดต่อไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า