SHARE

คัดลอกแล้ว

ญี่ปุ่นกลายเป็นหนึ่งในประเทศที่มีความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของไวรัสโคโรน่าสายพันธุ์ใหม่ หรือ “โควิด-19” มากที่สุดในโลก ทำให้รัฐบาลญี่ปุ่นถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักถึงความล้มเหลวในการยับยั้งการระบาดของไวรัส ขณะที่จำนวนผู้ติดเชื้อในญี่ปุ่น นับถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ อยู่ที่ 729 ราย

จนถึงวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ในบรรดาผู้โดยสารและลูกเรือราว 3,700 คนบนเรือไดมอนด์ พรินเซส มีทั้งหมด 634 คน ที่มีผลตรวจว่าติดเชื้อไวรั ขณะที่เมื่อวานนี้ (20 กพ.) มีรายงานว่า มีผู้เสียชีวิต 2 คน ซึ่งเป็นผู้โดยสารบนเรือสำราญไดมอนด์ ปรินเซส ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19  เจ้าหน้าที่ระบุว่า ในจำนวนนี้ 28 คนมีอาการรุนแรง ทำให้จำนวนผู้เสียชีวิตจากไวรัสโควิด-19 ในญี่ปุ่นอยู่ที่ 3 คน

 

รัฐบาลถูกตำหนิว่าดำเนินมาตรการห้ามนักท่องเที่ยวจากจีนเดินทางเข้าญี่ปุ่นล่าช้าเกินไป และขาดความเข้มงวดในการกักกันตัวผู้โดยสารของเรือไดมอนด์ ปรินเซส ซึ่งพบการระบาดอย่างรุนแรงในระหว่างการจอดเทียบท่าที่ท่าเรือโยโกฮามาเมื่อ 2 สัปดาห์ก่อน

แม้บนเรือจะมีผู้ติดเชื้อไวรัสมากกว่า 600 คน แต่คนเหล่านั้นมักไม่ถูกนำมานับรวมกับจำนวนผู้ติดเชื้อทั้งหมด และยิ่งไปกว่านั้น สิ่งที่กำลังสร้างความปวดหัวให้แก่ญี่ปุ่นก็คือ จำนวนผู้ติดเชื้อเริ่มมีจำนวนสูงขึ้นมากในหลายพื้นที่ทั่วประเทศ

สิ่งที่น่ากังวลยังไม่จบแค่นั้น เพราะจนกระทั่งถึงวันพุธ มีผู้โดยสารที่ได้ได้รับอนุญาตให้ออกจากเรือแล้วกว่า 700 คน และคาดว่าภายในวันนี้ (21 กพ.) จะมีผู้ออกจากเรือเพิ่มอีกกว่า 450 คน หลังผลการทดสอบไวรัสโควิด-19 เป็นลบ และอาจเป็นไปได้ว่าคนเหล่านั้นอาจมีผลการทดสอบเชื้อเป็นบวกในภายหลัง และทำให้เชื้อไวรัสยิ่งแพร่กระจายในพื้นที่ต่างๆ ของญี่ปุ่นเป็นวงกว้างมากขึ้น นอกจากนั้น ปัจจัยต่างๆ เช่น ประชากรผู้สูงอายุที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น และจริยธรรมในการทำงานของชาวญี่ปุ่น ที่เชื่อในการทำงานหนักและความขยัน อาจยิ่งทำให้การระบาดมีความเสี่ยงสูงมาก

แม้ทางการญี่ปุ่นยืนยันว่าได้จัดการกับการแพร่ระบาดของโรคบนเรือไดมอนด์ ปรินเซสอย่างเหมาะสมแล้ว แต่หลายฝ่ายได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์การทำงานครั้งนี้ของเจ้าหน้าที่ญี่ปุ่น

โดยศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคของสหรัฐฯ หรือ CDC เตือนว่า  มาตรการกักกันโรค อาจไม่เพียงพอที่จะป้องกันการแพร่เชื้อสู่กันระหว่างคนบนเรือ อัตราผู้ติดเชื้อรายใหม่บนเรือ โดยเฉพาะกลุ่มผู้ที่ยังไม่แสดงอาการนั้นแสดงให้เห็นถึงความเสี่ยงที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง และเผยว่า ขณะนี้มีการใช้มาตรการจำกัดการเดินทางของผู้โดยสารและลูกเรือทั้งหมดบนเรือ เพื่อป้องกันไม่ให้พวกเขาเดินทางกลับเข้าสหรัฐฯ เป็นเวลาอย่างน้อย 14 วัน หลังออกจากเรือ

แม้จะมีผู้ป่วยเพียงส่วนหนึ่งในญี่ปุ่น เป็นผู้ที่เดินทางมาจากเมืองอู่ฮั่น ในมณฑลหูเป่ยของจีน จุดศูนย์กลางของการระบาดครั้งนี้ แต่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่คือชาวญี่ปุ่น และหลายคนไม่มีประวัติการเดินทางไปจีน หนึ่งในนั้นคือกลุ่มคนขับรถแท็กซี่ ซึ่งเชื่อว่าพวกเขาเคยมีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับคนกลุ่มใหญ่ ก่อนถุกตรวจพบเชื้อ

ทั้งนี้ เชื่อกันว่า งานเลี้ยงที่จัดขึ้นบนเรือท่องเที่ยวของกลุ่มคนขับแท็กซี่ อาจเป็นหนึ่งในจุดของการแพร่ระบาดที่เกิดขึ้นในกรุงโตเกียว ซึ่งในกรณีนี้ ทำให้มีผู้ติดเชื้อถึง 11 คน หนึ่งในนั้นคือแม่ยายของหนึ่งในคนขับแท็กซี่ ซึ่งได้รับการยืนยันว่าเป็นผู้เสียชีวิตในประเทศเพียงรายเดียว ในจังหวัดคานากาวะ เมื่อสัปดาห์ที่แล้ว

ขณะที่ผลสรุปเบื้องต้นของสถาบันโรคติดเชื้อแห่งชาติของญี่ปุ่น หรือ NIID ชี้ว่า การแพร่เชื้อในขั้นทุติยภูมิในกลุ่มผู้โดยสารของเรือ ในระหว่างช่วง 14 วันของการกักกันโรค อาจไม่รุนแรงมากเท่าที่ผู้เชี่ยวชาญบางรายคาด รายงานยังระบุว่า การแพร่เชื้อในช่วงก่อนการสิ้นสุดของการกักกันโรคอย่างเป็นทางการ อาจเกิดขึ้นส่วนใหญ่ในหมู่ลูกเรือหรือภายในห้องโดยสาร

นั่นหมายความว่า การแยกผู้ป่วยที่เป็นลูกเรือและผู้โดยสารที่พักห้องเดียวกันออกจากกัน อาจไม่เพียงพอต่อการติดเชื้อขั้นทุติยภูมิ

การศึกษาครั้งนี้ อาศัยข้อมูลการวิเคราะห์จากผู้ป่วยที่ได้รับการยืนยันแล้ว 184 คน และสามารถยืนยันวันที่เริ่มมีอาการได้ โดยพบว่าผู้ป่วย 33 ราย เริ่มแสดงอาการก่อนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และอีก 89 คน เริ่มแสดงอาการตั้งแต่ 6 ถึง 9 กุมภาพันธ์ เมื่อใช้เกณฑ์ระยะฟักตัวของเชื้อระหว่าง 2 ถึง 14 วัน เชื่อว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่ติดเชื้อก่อนการกักกันโรค

ผู้เชี่ยวชาญกล่าวว่า ข้อมูลในรายงานชี้ให้เห็นระยะเวลา 2 ช่วงที่พบการติดเชื้อสูงสุด เช่นในระหว่างงานเลี้ยงและการรับประทานอาหารบุฟเฟต์ ก่อนวันที่ 5 กุมภาพันธ์ และเกิดจากการให้บริการของลูกเรือหลังจากการกักกันโรคเริ่มขึ้นแล้ว

รายงานชิ้นนี้เกิดขึ้นหลังศาสตราจารย์ อิวาตะ เคนทาโร ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคติดเชื้อ จากโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยโกเบ ซึ่งเคยเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ติดเชื้อบนเรือไดมอนด์ ปรินเซส ได้โพสต์วิดีโอบนยูทูบ กล่าวตำหนิการจัดการการแพร่ระบาดของเชื้อภายในเรือ เช่น ผู้โดยสารและลูกเรือสามารถเดินเข้าออกได้อย่างอิสระระหว่างเขตสีเขียวและเขตสีแดง, ผู้คนรับประทานอาหาร และใช้พื้นที่ส่วนนั่งเล่นร่วมกัน, คนบนเรือไม่สวมชุดป้องกันการติดเชื้อ ซึ่งรวมถึงเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ ขณะที่ทีมแพทย์จากหน่วยสนับสนุนด้านการแพทย์ในสถานการณ์ภัยพิบัติ ที่เข้าไปก็ไม่มีความรู้ด้านระบาดวิทยามากนัก

อย่างไรก็ตาม เมื่อวานนี้ (20 กพ.) ศ. อิวาตะ ได้ออกมากล่าวขอโทษและลบวิดีโอดังกล่าว โดยในระหว่างการแถลงข่าวที่สมาคมผู้สื่อข่าวต่างประเทศ เขากล่าวถึงสาเหตุที่ลบคลิปว่า เข้าได้รับแจ้งถึงความคืบหน้าครั้งสำคัญของระบบการจัดโซนนิ่งภายในเรือ และเนื่องจากรายงานของ NIID ที่ชี้ว่า ความเสี่ยงของผู้โดยสารลดลงอย่างมีนัยสำคัญมากกว่าที่คาดไว้เบื้องต้น

ด้านเจ้าหน้าที่รัฐบาลญี่ปุ่นบางรายได้แสดงความไม่พอใจต่อเสียงวิพากษ์วิจารณ์ถึงการรับมือของรัฐบาล ต่อกรณีที่เกิดขึ้นบนเรือไดมอนด์ ปรินเซส โดยเจ้าหน้าที่อาวุโสประจำสำนักนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นรายหนึ่งกล่าวว่า “มีประเทศไหนที่สามารถจัดการกับสถานการณ์นี้ได้ดีกว่านี้ไหม” ขณะที่นายชูนิชิ ซูซุกิ ประธานคณะกรรมการฝ่ายวิจัยนโยบาย จากพรรคเสรีประชาธิปไตย หนึ่งในพรรคคร่วมรัฐบาล กล่าวว่า “เขาเข้าใจดีกว่าประชาชนส่วนใหญ่ไม่ได้ชื่นชมการรับมือของรัฐบาลต่อสถานการณ์การระบาดของไวรัสมากนัก”

เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นบางรายพยายามปกป้องมาตรการของรัฐบาล เช่น นายชิเกรุ โอมิ อดีตหัวหน้าประจำภูมิภาคขององค์การอนามัยโลก (WHO) ที่ให้คำแนะนำแก่รัฐบาล ยืนยันว่า มาตรการกักกันส่งผลดีมากในการลดการติดต่อ โดยเชื่อว่า การติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นก่อนเริ่มการกักกัน

 

 

แต่ดูเหมือนประเทศต่างๆ ไม่เชื่อคำอธิบายดังกล่าวและเริ่มอพยพพลเมืองของตนจากเรือ แม้ใกล้ครบกำหนดมาตรการกักกันนาน 14 วันของญี่ปุ่นแล้วก็ตาม โดยสหรัฐฯ อพยพพลเมืองกว่า 300 คนจากเรือลำตั้งแต่วันที่ 17 กุมภาพันธ์ ขณะที่ออสเตรเลีย อังกฤษ และแคนาดา กำลังเตรียมการ

รัฐบาลชาติต่างๆ ยังเตรียมกักตัวผู้โดยสารเรือลำนี้อีกสองสัปดาห์เมื่อเดินทางกลับถึงประเทศ ซึ่งตอกย้ำให้เห็นถึงความไม่เชื่อมั่นในประสิทธิภาพของมาตรการกักกันของญี่ปุ่น

ส่วนนายโยชิฮิโกะ ยามาดะ อาจารย์ประจำมหาวิทยาลัยโตไก และผู้เชี่ยวชาญด้านนโยบายทางทะเล กล่าวว่า บริษัทเจ้าของเรือและกัปตันเรือ มีหน้าที่ความรับผิดชอบหลักต่อการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อที่แพร่กระจายออกไป เนื่องจากพวกเขาล้มเหลวต่อการเปลี่ยนแปลงวิธีการจัดการและบริหารเรือ

นอกจากนั้น เขายังกล่าวว่า การกักกันผู้โดยสารบนเรือก็ถือเป็นอีกปัญหาหนึ่งของรัฐบาลญี่ปุ่น โดยระบุว่า สิ่งแรกที่ควรต้องทำคือการตรวจร่างกายลูกเรือ เนื่องจากพวกเขามีแนวโน้มที่จะติดต่อกับผู้ที่เชื้อมากที่สุด แต่กลับเป็นว่ารัฐบาลกลับตรวจร่างกายให้กับกลุ่มผู้โดยสารก่อน ส่วนผู้โดยสารที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย และผู้ที่มีอาการป่วยอยู่ก่อนแล้ว ควรถูกแยกกักกันโรคโดยทันที

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า