SHARE

คัดลอกแล้ว
การตัดอินเทอร์เน็ต เป็นวิธีที่รัฐบาลหลายประเทศใช้เพื่อควบคุมข้อมูลข่าวสาร โดยหลายครั้งเป็นกรณีที่เกิดขึ้นในช่วงที่รัฐบาลถูกวิจารณ์อย่างหนัก
แม้การตัดอินเทอร์เน็ตจะเป็นวิธีการควบคุมข่าวสารที่ได้ผลที่สุด แต่ในอีกมุม มาตรการนี้ถูกวิจารณ์ว่า ละเมิดสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารชัดเจน และยังส่งผลกระทบเป็นวงกว้างต่อภาคส่วนอื่นๆ ที่จำเป็นต้องใช้อินเทอร์เน็ตด้วย
วันนี้ workpointTODAY ยกกรณีของบางประเทศมานำเสนอ เพื่อสะท้อนให้เห็นว่า รัฐบาลแต่ละประเทศประสบวิกฤติอย่างไร ถึงนำมาตรการขั้นเด็ดขาด อย่างการตัดอินเทอร์เน็ตมาใช้

คณะรัฐประหารเมียนมาเริ่มใช้มาตรการตัดอินเทอร์เน็ตในประเทศแทบจะทันทีที่ก่อรัฐประหารเมื่อวันที่ 1 ก.พ. เพื่อปิดกั้นข่าวสารเกี่ยวกับการชุมนุมต่อต้านการรัฐประหาร

อย่างไรก็ตาม การตัดอินเทอร์เน็ตเพื่อสกัดการเคลื่อนไหวทางการเมือง ส่งผลกระทบโดยตรงต่อภาคธุรกิจที่ต้องหยุดชะงักตามไปด้วย ทำให้รัฐบาลทหารเมียนมาต้องปรับแนวทางปิดอินเทอร์เน็ตใหม่ เป็นการปิดในช่วงเวลากลางคืน เพื่อหลีกเลี่ยงช่วงเวลาที่ภาคธุรกิจทำงาน แต่ก็ยังสามารถระงับความเคลื่อนไหวต้านรัฐประหารที่มักจะเป็นการนัดหมายชุมนุมในวันต่อไปได้

การตัดอินเทอร์เน็ตในคิวบา กลายเป็นมาตรการใหม่ของรัฐบาลที่ประชาชนไม่เคยเห็นมาก่อน เนื่องจากระบบอินเทอร์เน็ตในคิวบา เช่น อินเทอร์เน็ตจากเครือข่ายโทรศัพท์มือถือ เพิ่งเปิดใช้อย่างแพร่หลายเมื่อเดือน ธ.ค. 2561

จนกระทั่งกลางเดือน ก.ค. ที่ผ่านมา รัฐบาลคิวบาใช้มาตรการปิดอินเทอร์เน็ต หลังมีการชุมนุมต่อต้านรัฐบาลคอมมิวนิสต์ ผลจากภาวะอดอยากในประเทศ
รายงานระบุว่า การปิดอินเทอร์เน็ตในคิวบาทำให้ผู้ประท้วงติดต่อสื่อสารกันลำบาก นอกจากนี้หลังจากที่รัฐบาลกลับมาเปิดอินเทอร์เน็ตแล้ว ในโลกออนไลน์ของคิวบายังมีการแชร์ภาพการใช้ความรุนแรงของเจ้าหน้าที่ ทำร้ายร่างกายและจับกุมผู้ชุมนุมเป็นจำนวนมากอีกด้วย

สื่อท้องถิ่นของอิหร่านรายงานว่า ในช่วงนี้ซึ่งมีประชาชนออกมาประท้วงภาวะขาดแคลนน้ำในประเทศ รัฐบาลอิหร่านได้ใช้มาตรการปิดอินเทอร์เน็ตในเมืองที่มีผู้ประท้วงจำนวนมาก เพื่อตัดช่องทางสื่อสารของกลุ่มผู้ชุมนุม และถือโอกาสใช้มาตรการขั้นเด็ดขาด

หน่วยงานสิทธิมนุษยชนของอิหร่านชี้ว่า การปิดกั้นอินเทอร์เน็ตในอิหร่าน ส่งผลให้ไม่มีภาพหรือวีดีโอเกี่ยวกับการประท้วงมากพอที่จะเป็นหลักฐานระบุตัวตนผู้ชุมนุมที่ถูกจับกุม หรือถูกทำร้ายระหว่างสลายการชุมนุม

แม้อินเดียจะถูกเรียกว่าเป็นประเทศประชาธิปไตย แต่ก็มีการใช้มาตรการตัดอินเทอร์เน็ตประชาชน โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีความรุนแรง เช่นในแคว้นจัมมูและแคชเมียร์ ซึ่งมีรายงานการตัดอินเทอร์เน็ตนานนับเดือน ช่วงที่อินเดียประกาศยกเลิกสถานะพื้นที่พิเศษเมื่อปี 2562
การตัดอินเทอร์เน็ตยังเพิ่งเกิดขึ้นที่กรุงนิวเดลี เมืองหลวงของอินเดียเมื่อต้นปีที่ผ่านมา หลังชาวนารวมตัวกันเดินขบวนประท้วงรัฐบาล จนเกิดการปะทะกับเจ้าหน้าที่ ท่ามกลางเสียงวิจารณ์ว่า รัฐบาลอินเดียไม่เป็นประชาธิปไตย และไม่จริงใจที่จะให้ทุกคนได้รับทราบข้อเท็จจริง ในขณะที่รัฐบาลระบุว่า การตัดอินเทอร์เน็ตมีเหตุผลด้านความมั่นคง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า