SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.เตรียมไทยพัฒนาชุดตรวจ วัคซีนโรคไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) พร้อมยกระดับการเฝ้าระวังจากตั้งรับเป็นเชิงรุก หลังพบผู้ป่วยปอดอักเสบไม่ทราบสาเหตุเพิ่มและมีการเตรียมพร้อมรับมือการแพร่ระบาดโควิดระยะ 3

วันที่ 21 ก.พ.2563 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค, นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ นพ.รุ่งเรือง กิจผาติ ที่ปรึกษาระดับกระทรวงสาธารณสุขและโฆษกกระทรวงสาธารณสุข แถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ระบุว่า มีผู้ป่วยกลับบ้านได้เพิ่มอีก 2 ราย เป็นชายชาวจีนอายุ 56 ปี และ 34 ปี ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ยังคงเหลือผู้ป่วยรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 16 ราย รวมมีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านได้แล้ว 19 ราย

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวยืนยันว่า น้ำยาตรวจเชื้อของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์มีเพียงพอสำหรับตรวจหาเชื้อโควิด-19 และตอนนี้ร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายพัฒนาห้องแล็บที่สามารถตรวจเชื้อได้ คือ โรงเรียนแพทย์ สถาบันบำราศนราดูร  โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และกรมวิทยาศาสตร์ฯ ได้เร่งพัฒนาให้สามารถตรวจในโรงพยาบาลอย่างน้อยจังหวัดละ 1 แห่ง อย่างไรก็ตาม ขณะนี้กรมฯ สามารถเพาะเชื้อไวรัสโคโรนาในเซลล์ได้แล้วถือเป็นการเริ่มต้นที่ดี

ด้านนพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ได้มีการเพิ่มระดับเฝ้าระวังผู้ที่เดินทางมาจากประเทศเกาหลี เนื่องจากมีการแพร่ระบาดของโควิด-19 เป็นอัน 2 ของโลก กรณีผู้ป่วยแพร่เชื้อแพร่เชื้อแบบซูเปอร์สเปรเดอร์ (Super spreader) ที่สามารถแพร่เชื้อให้กับผู้อื่นได้จำนวนมากในครั้งเดียวนั้นต้องพิจารณาปัจจัยเรื่องตัวเชื้อ ปัจจัยเรื่องอาการที่มีลักษณะบางอย่างเช่น ไอ จาม และที่สำคัญคือปัจจัยชีวิตประจำวันของผู่ป่วยต้องสัมผัสผู้คนมากน้อยแค่ไหน

รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สำหรับประเทศไทยจะแพร่ระบาดเพิ่มขึ้นหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับคนไทยทุกคน หากพบมีอาการไอ จาม ให้สวมหน้ากากอนามัยป้องกนตัวเอง อยู่กับบ้าน หากอาการหนักให้ไปพบแพทย์ ถ้าไอและไม่ป้องกันตัวเองเชื้อก็อาจติดผู้อื่นไปด้วย สิ่งที่สำคัญที่สุดเมื่อมีอาการป่วยต้องรู้ตัว ต้องมีสติ อย่าให้เชื้อโรคแพร่ไปยังคนอื่น  “โควิด-19 เป็นโรคใหม่มากที่เราเพิ่งรู้จักไม่ถึง 2 เดือน ต้องอาศัยประสบการณ์ความรู้ความเชียวชาญเดิมและสิ่งที่ได้เรียนรู้จะทำให้เราแข็งแกร่งขึ้น”

นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า ในการเตรียมความพร้อมรับมือการแพร่ระบาดในประเทศระยะที่ 3 เพราะมีจำนวนผู้ป่วยโรคปอดอย่างไม่ทราบสาเหตุเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญ ทำให้ต้องขยายพื้นที่เฝ้าระวังพื้นที่ที่มีนักท่องเที่ยวจีนมากกว่าปกติ เราไม่มีนโยบายปกปิดข้อมูล คนไข้นิ่งหมอวิ่งออกไปหา แต่ไม่เจอ ทำให้เกิดความกังวัล เพราะไม่แน่ใจที่ไม่มีผู้ป่วยจริงๆ หรือหาไม่เจอ จึงต้องเปลี่ยนการเฝ้าระวังเชิงรับ เป็นเชิงรุก เพราะต้องหาผู้ป่วยให้พบและได้รักษาเร็ว ทำให้โอกาสแพร่เชื้อน้อยลง ไม่อยากเป็นประเทศแรกๆ ที่มีผู้ป่วยและแพร่ระบาด จึงพยายามอย่างเต็มที่เพื่อหาผู้ป่วยให้เร็วขึ้น

ไวรัสโควิด-19 มีทั้งผู้ป่วยที่มีอาการเบาและผู้ป่วยที่มีอาการหนัก บางคนเหมือนเป็นหวัดทั่วไปและไม่คิดว่าตัวเองจะติดเชื้อ เราจึงต้องเฝ้าระวัง แต่คนไทยในฤดูกาลทั่วๆ ไป ณ เวลาใดเวลาหนึ่งจะมีผู้ป่วยเป็นหวัดนับแสนคน จึงไม่สามารถไล่ตรวจได้ทุกคน แต่คนไข้ที่มีอาการรุนแรงคือปอดอัดเสบ ซึ่งเกิดได้จากหลายกรณี หากพบแล้วหาสาเหตุไม่ได้ เราต้องเก็บตัวอย่างคนไข้เหล่านี้หาเชื้อโควิด-19 รายงานผู้ป่วยปอดอักเสบจำนวนเท่าเดิม แต่มีคนไทยไม่ได้เดินทางมีอาการปอดอักเสบเพิ่มมาด้วย ตอนนี้กลุ่มผู้ป่วยเข้าเกณฑ์เฝ้าระวังสอบสวน 27 คน ป่วยปอดอักเสบไม่ได้เดินทาง

เมื่อถามว่าหากแพร่ระบาดระยะ 3 จริงมีการเตรียมการอย่างไร นพ.ธนรักษ์ กล่าวว่า สิ่งที่สำคัญคือต้องชะลออาการป่วย ไม่ให้ผู้ป่วยเพิ่ม ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องช่วยกัน คนไทยต้องไม่ตื่นตระหนก หากตื่นตระหนกจะทำให้โรงพยาบาลแน่นไปด้วยผู้คน ถ้าเป็นหวัดอาการไม่รุนแรงต้องสวมหน้ากากอนามัย หยุดงาน ป้องกันตัวเองและไม่ให้แพร่เชื้อ ในส่วนของโรงพยาบาลจะบูรณาการสถานพยาบาลทั่วประเทศให้มีการบริหารจัดการร่วมกันในระดับจังหวัด ระดับเขต ทุกอย่างจะต้องทำงานร่วมกันเพื่อให้สถานพยาบาลทุกภาคส่วนใช้ร่วมกัน

นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก

ขณะที่นพ.ปราโมทย์ เสถียรรัตน์ รองอธิบดี กรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กล่าวว่า ขณะนี้กรมการแพทย์แผนไทยฯ อยู่ระหว่างศึกษาการนำฟ้าทะลายโจรสมุนไพรไทย มาใช้เพื่อยับยั้งไวรัสโคโรนา สายพันธุ์ใหม่ 19 (COVID-19) โดยวันที่ 25 ก.พ.นี้ เตรียมจะลงนามร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ องค์การเภสัชกรรม ในการศึกษาวิจัย โดยคาดว่าจะใช้เวลาประมาณ 1 เดือน ที่ผ่านมามีข้อมูลว่าฟ้าทะลายโจร สามารถกระตุ้นภูมิคุ้มกัน ต้านการอักเสบ ต้านไวรัสโดยเฉพาะไวรัสการติดเชื้อทางเดินหายใจมากพอสมควร โดยในช่วงที่เคยมีการระบาดของโรคซาร์ส ประเทศไทย เคยศึกษาพรีคลินิกมาแล้ว และพบว่าฟ้าทะลายโจรสามารถฆ่าไวรัสซาร์ส นอกจากนี้ได้พบแล้วว่ารหัสพันธุกรรมของ COVID-19 ต่างกับซาร์ส ต้องมีการศึกษาวิจัยอีกครั้งเพื่อหาคำตอบฟ้าทะลายโจร จะสามารถยับยั้งไวรัส COVID-19 ได้หรือไม่

เบื้องต้นจะทดลองในอาสาสมัครคนไทยที่สุขภาพดี 10 คน ให้กินยาฟ้าทะลายโจรในปริมาณที่ถูกต้องจากนั้นจะมีการเจาะเลือด เพื่อนำเอาเซรัมของคนที่ได้รับยาไปทดลองฆ่าเชื้อ COVID-19 ว่าสามารถ ยับยั้งการเจริญเติบโตได้หรือไม่ คาดว่า 1 เดือนจะได้คำตอบ

ทั้งนี้ ผู้ปวยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 16 ราย กลับบ้านแล้ว 19 ราย รวมสะสม 35 ราย, ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 20 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,151 ราย คัดกรองจากสนามบิน 58 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 1,093 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 941 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 210 ราย

สถานการณ์ทั่วโลกใน 28 ประเทศ และ 2 เขตบริหารพิเศษ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 21 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 76,202 ราย เสียชีวิต 2,247 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 75,000 ราย เสียชีวิต 2,236 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า