SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.รายงานสถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 วันนี้พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 6 รายเป็นกลุ่มเดินทางกลับจากต่างประเทศ  ส่งผลให้ยอดผู้ป่วยสะสมเพิ่มเป็น 3,141 ราย รักษาหายแล้วสะสม 2,997 ราย เหลือกำลังรักษาในโรงพยาบาล 86 ราย ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิตเพิ่มยอดเดิมคือ 58 ราย

วันที่ 18 มิ.ย.2563 พญ.พรรณประภา ยงค์ตระกูล ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์โรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน สาระสำคัญคือ ไทยพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6 ราย ยอดผู้ป่วยสะสม 3,141 ราย (ไม่พบติดเชื้อในประเทศต่อเนื่อง 24 วัน) ผู้ป่วยได้รับการรักษาหายแล้วเพิ่มขึ้น 1 ราย ยอดสะสม 2,997 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่ม ยอดสะสมคงที่ 58 ราย

ผู้ป่วยรายใหม่ทั้ง 6 ราย เป็นกลุ่มผู้เดินทางมาจากประเทศ คือ

  • เดินทางกลับจากซาอุดิอาระเบีย จำนวน 5 ราย เป็นนักศึกษาชาย อายุ 23,24,27ปี และ 26 ปี (2ราย) เดินทางมาจากเมืองเจดดาห์ถึงไทยเมื่อวันที่ 12 มิ.ย. 63 เข้าพักโรงแรมใน กทม. ตรวจหาเชื้อวันที่ 16 มิ.ย. พบเชื้อทุกราย ขณะนี้อยู่ในระบบการรักษา
  • เดินทางกลับจากอินเดีย เป็นเพศหญิง อายุ 26 ปี เดินทางมาเมื่อวันที่ 15 มิ.ย. 63 เริ่มป่วยวันที่ 16 มิ.ย. 63 มีไข้ 38.5 และตรวจหาเชื้อผลพบเชื้อเข้ารับการรักษาที่ จ.ชลบุรี

พญ.พรรณประภา กล่าวว่า ภายหลังรัฐบาลได้ผ่อนคลายมาตรการในระยะที่ 4 ส่งผลให้ประชาชนกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ มีการเดินทางโดยใช้ระบบขนส่งสาธารณะมากขึ้น การป้องกันตนเองจึงเป็นเรื่องที่สำคัญ เมื่อออกจากบ้านทุกครั้งให้สวมหน้ากากอนามัย หน้ากากผ้าให้เกิดความเคยชิน หากใช้บริการขนส่งสาธารณะให้นั่ง/ยืนในจุดที่กำหนดไว้เพื่อลดความแออัด เว้นระยะห่างลดการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้อื่น ในสถานการณ์เช่นนี้การทักทายด้วยการไหว้มีความเหมาะสม เลี่ยงการสัมผัสพื้นผิวที่มีผู้สัมผัสบ่อย เช่น ลูกบิดประตู ปุ่มกดลิฟต์ โต๊ะ ราวบันได ราวจับ งดการเอามือสัมผัสใบหน้า จมูก ปาก พกแอลกอฮอล์เจลและล้างมือบ่อยๆ ปฏิบัติตามข้อกำหนดของสถานที่อย่างเคร่งครัดเพื่อความปลอดภัย ที่สำคัญขอให้ลงทะเบียนเข้า-ออกสถานที่ ผ่านแพลตฟอร์มและแอปพลิเคชัน “ไทยชนะ” ทุกครั้ง เพื่อง่ายต่อการสอบสวนโรคและติดตามผู้สัมผัสเข้าสู่ระบบการเฝ้าระวังโรคได้อย่างรวดเร็ว

สำหรับสถานการณ์ทั่วโลกขณะนี้มีผู้ติดเชื้อ 8,400,129 ราย มีผู้เสียชีวิต 451,263 ราย ส่วนประเทศที่มีจำนวนผู้ป่วยรายใหม่มากที่สุดใน 3 อันดับแรกวันนี้ คือ บราซิล 31,475 ราย สหรัฐอเมริกา 26,071 ราย และอินเดีย 13,103 ราย สำหรับประเทศบราซิล พบมีผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในรอบ 1 วันสูงที่สุด นับตั้งแต่มีรายงานผู้ติดเชื้อ
ทำให้ประเทศบราซิลมียอดผู้ติดเชื้อสะสมอยู่ที่ 960,309 ราย

“ปัตตานีโมเดล”นำร่องรูปแบบการแพทย์วิถีใหม่

ขณะที่วานนี้ นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ นพ.ธเรศกรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และดร.แดเนียล เคอร์เทซ ผู้แทนองค์การอนามัยโลกประจำประเทศไทย แถลงข่าวการพัฒนารูปแบบระบบบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ (New Normal Medical Service) ในสถานพยาบาลแต่ละระดับในจังหวัดปัตตานี

นายสาธิต กล่าวว่า จากสถานการณ์โควิด 19 กระทรวงสาธารณสุขได้พัฒนารูปแบบการให้บริการการแพทย์วิถีใหม่ เพื่อให้เกิดความปลอดภัยทั้งผู้ป่วยและบุคลากรทางการแพทย์อย่างยั่งยืน นำร่องที่จังหวัดปัตตานี ซึ่งเป็นพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ที่พบผู้ติดเชื้อโควิด 19 มีเป้าหมาย คือ
1.ให้เกิดความปลอดภัยแก่ผู้ป่วยและเจ้าหน้าที่ (2P Safety) เช่น การผ่าตัดวิถีใหม่ การแพทย์ฉุกเฉินวิถีใหม่ การทำทันตกรรมปลอดภัย
2.การลดความแออัด เน้น 2 กลวิธี คือ จัดระบบการบริการใหม่ เริ่มนำร่องในกลุ่มผู้ป่วยเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แยกผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม ประกอบด้วย
– กลุ่มควบคุมได้ดี พบแพทย์ครั้งเว้นครั้ง โดยเลือกว่ามาที่โรงพยาบาลหรือผ่านระบบการรักษาทางไกล (Telemedicine)
– กลุ่มควบคุมได้ปานกลาง ที่มีปัญหาแต่ไม่รุนแรง มาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลครั้งเว้นครั้ง และมี อสม. ไปเยี่ยมบ้าน ทั้งกลุ่มควบคุมได้ดีและปานกลางสามารถรับยาผ่านช่องทางด่วนในรอบที่ไม่ต้องพบแพทย์ได้
– กลุ่มที่ควบคุมได้ไม่ดี ยังมีปัญหารุนแรง ต้องมาพบแพทย์ที่โรงพยาบาลทุกครั้ง และมีอสม. เยี่ยมบ้าน และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลมาช่วยบริหารจัดการ คัดกรองและลดผู้ป่วยไม่จำเป็นต้องมาโรงพยาบาล
3.เพิ่มการเข้าถึงบริการ ลดความเหลื่อมล้ำทางสังคมโดยจะขยายการดำเนินงานไปยังระดับภูมิภาคทั่วประเทศต่อไป

ขณะที่นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า โครงการพัฒนารูปแบบระบบบริการทางการแพทย์วิถีใหม่ จ.ปัตตานี มุ่งให้ประชาชนมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถปรับตัวให้เข้ากับฐานวิถีชีวิตใหม่ (New Normal) ในช่วงที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์โรคโควิด-19 รวมทั้งพัฒนาการให้บริการของโรงพยาบาลด้วยการนำระบบบริหารจัดการการให้บริการทางการแพทย์ (Model Implementation) ตั้งแต่การคัดกรอง จัดคิวผู้มารับบริการ เพื่อลดความแออัด รวมถึงการให้บริการห้องผ่าตัด ห้องฉุกเฉิน ด้วยการนำระบบเทคโนโลยีเข้ามาสนับสนุนการทำงาน ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพอย่างสูงสุด

นพ.ธเรศ กล่าวว่า อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน หรือ อสม. มีบทบาทสำคัญในการเชื่อมโยงข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยเฉพาะการติดตามดูแลผู้ป่วยโรคเรื้อรังวิถีใหม่ ที่สามารถเคาะประตูบ้านเก็บข้อมูลผู้ป่วยเพื่อส่งเข้าสู่ระบบการติดตาม ทั้งยังช่วยเป็นส่วนหนึ่งในการให้ความรู้และสร้างความตระหนักในการประเมินตัวเองของผู้ป่วยผ่านระบบไอที โปรแกรม/ แอปพลิเคชัน ที่สามารถเชื่อมโยงเข้ากับระบบคัดกรองนัดหมาย และจัดคิวรักษาอย่างเป็นระบบได้ต่อไป ถือว่าเป็นแนวการทำงานภายใต้ระบบการแพทย์วิถีใหม่อย่างเป็นระบบร่วมกัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า