SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 23 มิ.ย. ศ.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวถึง สถานการณ์การติดเชื้อโควิดของประเทศต่างๆ ตอนหนึ่งว่า กลุ่มประเทศที่มีการเปิดประเทศผ่อนคลายเร็วเกินไปและเกิดการก้าวกระโดดของผู้ป่วยใหม่และอัตราเสียชีวิต เช่น สหรัฐอเมริกากับบราซิล และบางประเทศเกิดระบาดใหญ่มีแนวโน้มเริ่มลดลงและกลับขึ้นมาอีก คือกลุ่มประเทศยุโรป รวมทั้งในเอเชียบางประเทศ เช่น เกาหลีใต้และญี่ปุ่น

การนำสิ่งเหล่านี้มาเพื่อบอกให้ทราบว่า รูปแบบการระบาดรอบใหม่จะมี 3 ลักษณะคือ

รูปแบบที่ 1 เป็นคลื่นลูกเล็กๆ ต่อเนื่องกันไป คือ การระบาดรอบแรกสูง พอเริ่มลดลง เข้าสู่การผ่อนคลาย แต่เกิดการติดเชื้อขึ้นมาใหม่ รัฐบาลจะเข้าไปจัดการทันทีได้เพราะมีการร่วมมือระหว่างรัฐบาลกับประชาชน โดยเฉพาะการค้นหาผู้เสี่ยงติดเชื้อและแพร่เชื้อ ทำให้ธุรกิจส่วนใหญ่ยังดำเนินการได้ มีการควบคุมเฉพาะธุรกิจที่มีการแพร่ระบาด เศรษฐกิจประเทศจะไปต่อได้ ประชาชนออกจากบ้านไปร่วมกิจกรรมได้ เป็นการผ่อนคลายความเครียดที่เกิดขึ้น แต่ต้องใช้ชีวิตลดความเสี่ยงแพร่กระจายเชื้อด้วย

การจะเกิดแบบนี้ได้นอกจากรัฐบาลจะดำเนินการแล้ว ผู้ประกอบการและประชาชนทั่วไปต้องให้ความร่วมมือด้วย ผู้ป่วยจะไม่เกินศักยภาพการดูแล อัตราการเสียชีวิตจะต่ำ ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพไม่สูง เศรษฐกิจของประเทศไม่เกิดค่าใช้ที่ไม่จำเป็น
หากประเทศไทยจะมีการระบาดรอบใหม่ขึ้นจริง ก็ขอให้เป็นแบบนี้

ไทยกำลังจะเข้าสู่การผ่อนคลายระยะที่ 5 ยังมีความเสี่ยงของการแพร่ระบาดของเชื้อ จึงต้องช่วยกันเว้นระยะห่าง ล้างมือ ใส่หน้ากาก และที่เพิ่มขึ้นมาคือ การใช้แอปพลิเคชัน “ไทยชนะ”

เรามีตัวอย่างหลายประเทศที่ดูสงบมากๆ แล้วแต่ก็กลับมาใหม่ ซึ่งถ้าจะกลับมาก็ขอให้อยู่ในรูปแบบที่ไม่มากมายนักทำให้ธุรกิจการค้าขายต่างๆ เดินไปได้ ซึ่งเราต้องช่วยกัน

รูปแบบที่ 2 ยอดเขาและหุบเขา คือ การติดเชื้อรอบแรกสูง แล้วผ่อนคลายแต่การติดเชื้อใหม่ใกล้เคียงกับรอบแรก หมายความว่ามาตรการควบคุมกลับมาเข้มงวด เศรษฐกิจธุรกิจก็ไม่สามารถดำเนินการได้ การเจ็บป่วยเยอะ ค่าใช้จ่ายดูแลสุขภาพเยอะขึ้น เสี่ยงกับอัตราการเสียชีวิตสูง

รูปแบบที่ 3 เกิดขึ้นเมื่อ 100 ปีที่แล้วตอนไข้หวัดสเปน รอบแรกมีการเจ็บป่วยและเสียชีวิต แต่รอบ 2 สูงกว่ารอบแรก ซึ่งเชื่อว่าในโลกปัจจุบันจะไม่เกิดแบบนี้

ปัจจัยที่จะส่งผลต่อสถานการณ์ของวิกฤติโควิด จะขึ้นอยู่กับคน วัฒนธรรม ความคิดความเชื่อ / การบริหารจัดการ จังหวะการตัดสินใจ / เทคโนโลยี ตรวจ สืบสวนติดตาม การรักษาพยาบาล พัฒนาวัคซีน / สถานการณ์ในประเทศต่างๆ และความร่วมมือระหว่างประเทศ / ตัวไวรัส เรื่องการกลายพันธุ์ การติดเชื้อซ้ำ

หากต้องการอยู่ในสมดุลทั้ง เศรษฐกิจ สุขภาพ และสังคม ต้องประสานกันทั้ง รัฐบาล ผู้ประกอบการ และผู้รับบริการ รัฐบาลกำหนดนโยบาย ออกมาตรการต่างๆ ควบคุมให้ปลอดภัยจากโรค ผู้ประกอบการนำมาตรการไปดำเนินการ ส่วนผู้รับบริการก็ต้องทำตามมาตรการต่างๆ ซึ่งยังต้องระวังการผ่อนคลายมาตรการต่างๆ จนเกินไปในระยะหลัง เพราะผ่อนคลายไปนิดเดียวอาจเกิดระบาดรอบใหม่ขึ้นมาได้

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวด้วยว่า การที่ผู้ป่วยติดเชื้อใหม่เป็นผู้กลับมาจากต่างประเทศ ไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ภายในประเทศ ไม่ได้สื่อว่าประเทศไทยปลอดภัยจากเชื้อ เพราะโอกาสได้เชื้อจากแหล่งอื่นยังมี เช่น กรณีประเทศเกาหลีใต้ อยู่ๆ บริษัทแห่งหนึ่งก็มีผู้ป่วยติดเชื้อ, เยอรมนี สัปดาห์ที่ผ่านมาโรงงานชำแหละเนื้อสัตว์ เกิดมีการติดเชื้อมีผู้ป่วยมากกว่า 1,500 ราย และต้องกักตัวอีก 7,000 คน และจีน ที่ไม่มีการติดเชื้อภายในประเทศ 57 วันก่อนเกิดเหตุครั้งใหม่ แล้วอยู่ๆ ก็เกิดการติดเชื้อที่ตลอด

ตนเชื่อว่าคนไทยมีภูมิต้านทานโควิด-19 น้อยถึงน้อยมาก จากการศึกษาภูมิคุ้มกันของนักศึกษาแพทย์และบุคลากร และการที่สังคมไทยมีผู้ติดเชื้อเพียง 3,000 กว่าคน สังคมไทยโดยภาพรวมเชื่อว่ามีภูมิคุ้มกันน้อยมาก ถ้าเกิดหลุดมีเชื้อจากภายนอกเข้ามา แล้วเกิดไม่รู้หรือสามารถไปติดตามว่า เขาไปติดต่อกับใครจะเกิดการแพร่กระจายอีก จึงต้องป้องกันการติดเชื้อและแพร่เชื้อจนกว่าจะมีวัคซีนขึ้นมา ดังนั้น ต้องอย่าการ์ดตก การใช้ “ไทยชนะ” จะช่วยทำให้เกิดการติดตามได้ ต้องเช็กอิน -เช็กเอ้าท์ในทุกๆ ที่ที่ไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า