Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ย้ำแรงงานกลับจากเกาหลี มาตรการที่รัฐดูแลทั้งช่วยไม่ให้กระทบคนในครอบครัวของแรงงานเอง และลดความเสี่ยงคนทั่วไปด้ว
.
วันที่ 8 มี.ค. ที่กระทรวงสาธารณสุข นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค แถลงข่าวสถานการณ์โควิด-19 ว่า ยังไม่มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ในประเทศไทย และมีข่าวดีมีผู้ป่วยกลับบ้านได้อีก 2 ราย ทำให้มีผู้ป่วยกลับบ้านได้รวม 33 คน ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 16 ราย จำนวนนี้มีผู้ป่วยอาการรุนแรงยังอยู่ในภาวะวิกฤต 1 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมผู้ป่วยสะสม 50 ราย


สถานการณ์ต่างประเทศเป็นแรงกดดันให้เรามีโอกาสเจอคนที่เดินทางเข้ามาแล้วมีโรคติดมาด้วยเพิ่มขึ้น ซึ่งเราจะเฝ้าระวังกลุ่มผู้เดินทางอย่างใกล้ชิดและจะมีมาตรการตามความเหมาะสมต่อไป
.
สำหรับมาตราการภาครัฐขณะนี้ ที่พยายามชะลอการแพร่ระบาดมี 2 ส่วน คือ 1.การจัดการกับผู้เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ และ 2.เฝ้าระวังกลุ่มคนไทย ที่มีอาชีพเสี่ยงติดโรคจากการใกล้ชิดกับนักท่องเที่ยว ซึ่งมีการขยายวงการเฝ้าระวั


นพ.ธนรักษ์ ยังตอบคำถามข่าวกรณีแรงงานจากเกาหลีใต้ที่หลบจากกระบวนการตรวจสอบที่สนามบินว่า เป็นไฟลท์ก่อนการเริ่มมาตรการ ซึ่งมาจากการยังไม่สามารถชี้แจงผู้เดินทางกลับได้อย่างเข้าใจ ทำให้เขาอาจจะตื่นตระหนกว่าจะเกิดอะไรขึ้น
.
แต่หลังจากไฟลท์ LJ003 ที่เริ่มคัดกรองไฟลท์แรกมี 104 คน และต่อเนื่องจากนั้นรวม 500 กว่าคน เราคัดกรองผู้โดยสารทุกคน ได้รับความร่วมมือทุกคน ในการเข้าไปยังสถานที่สังเกตอาการ


ทั้งนี้อยากสื่อสารไปยังแรงงานที่เดินทางกลับมาว่า เราดำเนินการด้วยความเห็นอกเห็นใจ ไม่ได้ทำไปด้วยเหตุผลอื่น เพียงต้องการลดความเสี่ยงทั้งของคนในประเทศไทยและจะช่วยครอบครัวแรงงานที่กลับมาให้ปลอดภัย ถ้ามองว่าเป็นมาตรการที่ทุกคนชนะร่วมกันก็จะเป็นเรื่องดี
.
ขณะที่มาตรการสำหรับ บุคคลอื่นๆ นอกจากกลุ่มแรงงานจากเกาหลีใต้ คือ ผู้ที่มาจาก 4 ประเทศตามที่มีการประกาศเขตติดโรคติดต่ออันตราย คือ เกาหลีใต้ (กลุ่มนอกจากแรงงาน) , จีน, อิตาลี และอิหร่าน
.
1.ให้ผู้เดินทาง ทั้งคนไทยและต่างชาติ ลงทะเบียน และใน ช่วง 14 วันให้แจ้งอาการตามความเป็นจริงทุกวัน ผ่านช่องทางที่สะดวก เช่น แอปลิเคชัน การไม่รายงานหรือรายงานเท็จ มีบทลงโทษ
2.ขอความร่วมมือพักอยู่กับบ้าน 14 วัน โดยไม่ออกไปข้างนอก
ส่วนที่มาจากประเทศอื่นๆ นอกจาก 4 ประเทศนี้ แนะนำให้ดูแลสุขภาพ และหากพักอยู่กับบ้าน 14 วันได้ก็อยากให้ทำ


เมื่อถามถึง ระยะเวลาในการระบาดของโควิด-19 ว่าจะนานเท่าใด นพ.ธนรักษ์ ตอบว่า ไม่ได้ขึ้นกับประเทศไทยเท่านั้น แต่ขึ้นอยู่กับประเทศอื่นจัดการโรคนี้ได้ดีแค่ไหน กรณีของจีนทำอย่างเข้มแข็งจนผู้ป่วยรายใหม่ลดลงอย่างรวดเร็ว ถ้าประเทศอื่นทำได้เช่นเดียวกับประเทศจีนเรื่องนี้อาจจบเร็วกว่าที่เราคิด แต่จากการประเมิน มีทั้งประเทศที่จัดการดี และประเทศที่มีระบบสาธารณสุขอ่อนแอ
.
ในกลุ่มที่มีระบบสาธารณสุขอ่อนแอ ถ้าเทียบกับการระบาดไข้หวัดใหญ่จะอยู่ที่ 6-9 เดือน ซึ่งโรคนี้มีความคล้ายคลึงกับไข้หวัดใหญ่แบบหนึ่งเหมือนกัน
.
ขณะนี้ทั่วโลกมีการติดเชื้อแล้ว 90 ประเทศ การแพร่ระบาดเข้าสู่วงกว้างแล้วเกือบ 10 ประเทศ สักพักการแพร่ระบาดจะค่อยๆ ขยายวงครบเกือบทุกประเทศ ขึ้นอยู่กับการควบคุม แรงกดดันจากผู้เดินทางจะอยู่ในระดับสูงต่อไป ในขณะที่เราพยายามป้องกันในประเทศให้ดีที่สุดเหมือนกัน
.
ใจตนไม่อยากให้มีการแพร่ระบาดในประเทศ ให้ยืดเวลาเจอผู้ป่วยไม่กี่คนไปให้นานที่สุด ตอบยากว่าจะจบเมื่อไหร่ เพราะในประเทศที่การแพร่ระบาดควบคุมไม่ได้กว่าจะถึงจุดสูงสุดอีก 6 เดือน เราคงจะอยู่กับโรคนี้ไปสักระยะหนึ่ง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า