Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

 

“ตั้งใจอยากเลิกมาหลายครั้งแล้วครับ พอเลิกไปสักพักก็กลับมาสูบใหม่ พอมันมีเหตุการณ์โควิด-19 เข้ามานี่ล่ะครับ ก็เลยคิดอีกสักครั้งว่าจะเลิก มันก็เลิกได้” เสียงบอกเล่าจากชายวัย 35 ปี ชาว จ.ตาก ที่ตัดสินใจเลิกสูบบุหรี่อย่างจริงจัง หลังสูบมานานกว่า 10 ปี เพราะกลัวติดเชื้อไวรัส โควิด-19 จึงโทรปรึกษากับสายด่วน 1600 ทำให้เลิกจนสำเร็จ หลังจากที่เคยพยายามเลิก แต่ก็ล้มเหลวมาแล้วหลายครั้ง เขาบอกว่า ระหว่างการเลิก รู้สึกวิตกกังวลกับอาการที่เกิดขึ้นมาก เพราะการขาดนิโคติน ประกอบกับอาการไอแห้ง หายใจติดขัด จากการสูบบุหรี่ ที่คล้ายกับอาการติดเชื้อโควิด-19 วันนี้เขาเลิกบุหรี่มาได้กว่า 2 เดือนแล้ว และตั้งใจว่าจะไม่กลับไปสูบอีก เพราะว่าร่างกายรู้สึกดีขึ้น การหายใจเต็มปอด คนรอบข้างดีใจ เถือว่าเป็นของขวัญให้ครอบครัว และคนที่รัก ถ้าไม่มีสถานการณ์นี้ ก็ไม่มีแรงกระตุ้นให้กลับมาเลิก

ชุติกาญจน์ ศรีวงศ์ เจ้าหน้าที่ผู้ให้คำปรึกษา สายเลิกบุหรี่ทางทารศัพท์ 1600 เล่าว่า อาการของคนที่กำลังเลิกสูบ จะกระวนกระวาย เพราะขาดนิโคติน อย่างรายนี้ก็มรอาการหายใจไม่สะดวกร่วมด้วย

“ผมหายใจไม่สะดวกเลย หายใจมันเหมือนกับติดขัด มันเหมือนกับจะหยุด น้ำเสียงที่เขาเล่าออกมาให้เรา เราจับน้ำเสียงได้ว่าเขากังวลมาก แล้วเขาก็บอกว่าผมจะติดไหม มันใช่อาการของโควิดไหม คือวิตกกังวลอย่างนี้อยู่หลายวัน พอเราจับข้อมูลได้ทั้งหมดที่เขาเล่ามา เราก็เลยเริ่มต้น อธิบายให้เขาฟัง ว่ากลไกของการสูบบุหรี่เวลาจะเลิกมันเป็นอย่างนี้นะ ช่วงแรกพอคุณไม่สูบนิโคตินมันถูกขับของจากร่างกาย แน่นอนที่สุดว่าร่างกายเคยได้รับ ร่างกายก็จะไม่คุ้น ไม่ว่าจะเป็นภาวะทางร่างกาย ภาวะทางอารมณ์ก็จะไม่คุ้น” ชุติกาญจน์ กล่าว

รศ.ดร.จินตนา ยูนิพันธุ์ ผอ.ศูนย์บริการเลิกบุหรี่ทางโทรศัพท์แห่งชาติ หรือ สายเลิกบุหรี่ 1600 ระบุว่า ข้อมูลสำนักงานสถิติแห่งชาติ ปี 2560 เปิดเผยตัวเลขคนไทยตั้งแต่อายุ 15 ปีขึ้นไป สูบบุหรี่มากถึง 11.6 ล้านคน คิดอยากเลิก 6.6 ล้านคน เข้ารับการคัดกรองและบำบัดกับหน่วยบริการสุขภาพ 2.4 ล้านคน และในบรรดาคนที่ฝากสายไว้กับ 1600 มี 75 เปอร์เซ็นต์ ตั้งใจและมีกำหนดวันเลิก และในบรรดากลุ่มที่ลงมือเลิก เริ่มต้นเลิก 25 เปอร์เซ็นต์ เพราะกลัวโควิด-19 จึงเห็นว่าความตั้งใจและแรงกระตุ้นที่ทำให้อยากเลิกสำคัญ

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก หรือ WHO ระบุว่า คนสูบบุหรี่ เมื่อได้รับเชื้อโควิด-19 เข้าสู่ร่างกายอาการจะรุนแรงกว่าคนทั่วไป 2 เท่า และเสี่ยงต่อการเสียชีวิต 4 เท่า และเกือบทุกรายที่โทรมาปรึกษา 1600 ด้วยเหตุผลเดียวกันนี้ มีโอกาสเลิกได้สำเร็จ เพราะเจ้าหน้าที่จะคอยให้คำปรึกษาติดตามจนกว่าจะเลิกสำเร็จ ที่สำคัญเป็นการเลิกบุหรี่ไม่มีการใช้ยาเสริมแต่จะใช้การปรับเปลี่ยนพฤติกรรม เมื่อได้รับคำปรึกษาไปแล้ว ระบบของ 1600 จะมีการโทรกลับไปให้กำลังใจทั้งหมด ประมาณ 6 ครั้ง 6 ภายใน 1 ปี

ซึ่งอันตรายของบุหรี่ ไม่ใช่เฉพาะกับโควิด-19 แต่ยังทำให้ง่ายต่อการป่วยด้วยโรคอื่น เช่น มะเร็งปอด ถุงลมโป่งพอง การเลิกบุหรี่จะทำให้ปอดกลับมาแข็งแรง ร่างกายมีภูมิต้านทานอีกครั้ง

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า