SHARE

คัดลอกแล้ว
ญาติโพสต์ไว้อาลัย พยาบาล ฉีด ซิโนแวค 2 เข็ม แต่กลับเสียชีวิตจากการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 วอนภาครัฐให้ความสำคัญบุคลากรด่านหน้า สอดคล้องกับ นพ.ธีระวัฒน์ ยอมรับ หมอ พยาบาล ภูมิคุ้มกันลดลงอย่างรวดเร็วเพราะเผชิญเชื้อโรคทุกวัน ซิโนแวค สู้ไวรัสเดลตาแทบไม่ได้แล้ว
จากกรณีที่ผู้ใช้เฟซบุ๊กรายหนึ่งได้โพสต์ข้อความถึงน้องสาวซึ่งเป็นพยาบาล อายุ 30 ปี แต่กลับต้องเสียชีวิตจากการปฏิบัติหน้าที่ในการดูแลผู้ป่วยโควิด-19 หลังรู้ตัวว่าได้รับเชื้อจึงเข้ารับการรักษาตัวแต่ผ่านมาเพียง 1 สัปดาห์ ก็ได้รับข่าวร้าย ซึ่งผู้เสียชีวิตรายนี้ได้รับการฉีดวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็มแล้ว ที่ผ่านมาผู้เสียชีวิตทุ่มเททำหน้าที่อย่างสุดความสามารถ แม้สุขภาพจะแข็งแรง แต่ก็ติดเชื้อจากการทำงานได้ จึงตั้งคำถามไปถึงหน่วยงานภาครัฐ เกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนที่ดีสำหรับบุคลากรด่านหน้าและประชาชน
“วันนี้น้องเราเสียแล้ว แค่เพียงอาทิตย์เดียวเท่านั้น มันอดคิดไม่ได้จริงๆ ว่าถ้าได้รับวัคซีนที่มีประสิทธิภาพดีกว่านี้ เราคงจะไม่เสียน้องไป พอเหอะ พอกันทีหวังว่าเคสของน้องเราจะเป็นเคสสุดท้าย
วันที่ 11 ก.ค. 2564 นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊ก ถึงกรณีของผู้เสียชีวิตที่ฉีดวัคซีน ซิโนแวค 2 เข็ม โดยเมื่อฉีดแล้วภูมิคุ้มกันที่ยับยั้งไวรัสได้ 30 วัน หลังจากฉีดเข็มที่ 2
ในระยะแรก ของการทำงานจะไม่ค่อยเห็นบุคลากรทางสาธารณสุขติดเชื้อเท่าไหร่ หากติดอาการก็ไม่ค่อยมากแต่แน่นอนว่าได้แพร่เชื้อไปให้คนอื่นโดยมีปริมาณไวรัสในจำนวนสูง
ในระยะต่อมา เริ่มติดเชื้อกันมากขึ้นเรื่อยๆ พยาบาล หมอ และเจ้าหน้าที่ฝ่ายอื่นๆ เด็กที่เพิ่งจบการอบรมกำลังจะไปทำงานต้นสังกัดที่ต่างจังหวัด พบการติดเชื้อเช่นกันและอาการเริ่มดูเหมือนเห็นชัดเจนขึ้น เริ่มมีปอดอักเสบขึ้น แต่ไม่ถึงกับเสียชีวิตและก็เชื่อมั่นว่าอย่างน้อยอาการก็ไม่หนัก จนกระทั่งที่เห็นในรายนี้
ทั้งนี้เมื่อตรวจสอบภูมิคุ้มกันในเลือดของบรรดาบุคลากรด่านหน้ากันเอง รวมทั้งคนที่ปฏิบัติงานในห้อง lab ที่ต้องเจอเชื้ออยู่ตลอดทุกวัน พบว่าระดับภูมิคุ้มกันลดลงอย่างรวดเร็วแม้ว่าในระยะแรกจะสูงถึง 90% ก็ตกลงมาเหลือ 30% – 40% เมื่อทำการวิเคราะห์รายที่ภูมิคุ้มกันยังอยู่ในระดับพอใช้ได้คือ 70% ปรากฏว่าสู้กับไวรัสสายพันธุ์อัลฟาและเดลตาแทบไม่ได้เลย
“งานของอาจารย์ ดร.อนันต์ ที่ไบโอเทคร่วมกันกับอาจารย์หมอเขตต์ สถาบันโรคทรวงอกและกับพวกเรา ที่วิเคราะห์ระดับภูมิคุ้มกันในเลือด เจ้าหน้าที่สาธารณสุขด่านหน้า มีโอกาสจะเจอผู้ติดเชื้อทั้งที่มีและไม่มีอาการอยู่ตลอดเวลาเมื่อติดมีโอกาสแพร่เชื้อให้ผู้อื่นทั้งผู้ป่วยและเพื่อนร่วมงานเกิดปัญหาในผู้ป่วยและเกิดปัญหาที่บุคลากรต้องหยุดงานพักตัว กักตัว และกับโรคของตนเอง ที่พวกเราร้องขอวัคซีนบูสเตอร์ เข็มที่ 3 รวมถึงให้ข้อมูลว่าเมื่อฉีดเข็มที่ 3 ด้วยวัคซีนที่ต่างจาก ซิโนแวค ไปแล้วจะทำให้ภูมิสูงขึ้นมากและทนทานต่อ ไวรัสสายพันธุ์อัลฟาและเดลตาได้ เรียนย้ำพวกเราไม่ใช่วีไอพีไม่ใช่คนที่มีอภิสิทธิ์กว่าประชาชนคนไทยทั้งประเทศแต่เพื่อให้ทำงานต่อไปได้เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อไปหาคนอื่นได้มากหลาย” นพ.ธีระวัฒน์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า