SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เผยทุกวิชาชีพเห็นพ้องจัดทำร่างกฎหมายคุ้มครองคนทำงานโควิด-19 ภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉินที่มีการเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา และมีข้อจำกัดด้านทรัพยากร พร้อมรับฟังทุกความคิดเห็นเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสม เผยร่างกฎหมายครอบคลุมทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ อาสาสมัคร บุคคลหรือคณะบุคคลในการจัดการวัสดุอุปกรณ์การแพทย์และวัคซีน ที่ดำเนินการโดยสุจริต ไม่มีการตัดสิทธิเยียวยาประชาชน

วันที่ 9 ส.ค. 2564 นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงกรณี (ร่าง) พ.ร.ก.จำกัดความรับผิดสำหรับบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ว่า กฎหมายนี้อยู่ระหว่างการจัดทำและยกร่าง ซึ่งที่มาและความสำคัญของการยกร่าง เนื่องจากโควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตรายและประกาศเป็นภาวะฉุกเฉิน ถือเป็นภัยพิบัติต่อสาธารณะและทำให้เกิดความเสียหายและประชาชนเจ็บไข้ได้ป่วยจำนวนมาก การระดมสรรพกำลังจากรัฐ เอกชน ประชาชน อาสาสมัครต่างๆมาช่วยกันดูแลประชาชนให้พ้นจากภาวะภัยพิบัติเป็นสิ่งสำคัญ

ซึ่งโรคนี้เป็นโรคใหม่มาก แนวทางการรักษา ยาที่ใช้รักษา วิธีการรักษา การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส วัสดุอุปกรณ์ จำนวนห้องพักต่างๆ ไม่เพียงพอจนต้องเปิด รพ.สนาม ออสพิเทล ต่างๆ จากความจำกัดของทรัพยากรทางการแพทย์และสาธารณสุข เพราะฉะนั้น บุคลากรที่เกี่ยวข้องใน รพ. และอาสาสมัครที่ไปช่วยกันทำงานเต็มที่ แต่ภาวะฉุกเฉินมีเรื่องที่ไม่สามารถดูแลได้ทั่วถึงทั้งหมด ดังนั้น การมีภูมิคุ้มกันให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขในการดูแลประชาชนให้ปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญ

การมีภูมิคุ้มกันในการป้องกันการถูกฟ้องร้องทำให้บุคลมีขวัญกำลังใจในการทำงานรวมทั้ง มีข้อเสนอจากองค์กร สภาวิชาชีพต่างๆ และ สมาคม รพ.เอกชน ในการเสนอให้มีกฎหมายลักษณะนี้

เบื้องต้น สธ. ได้ตั้งคณะทำงานยกร่าง โดยมอบหมายให้ กรม สบส. และมีผู้แทนจากภาคส่วนต่างๆ ทั้งวิชาชีพและนักกฎหมาย เพื่อให้มีกลไกคุ้มครองผู้ทำงานในช่วงโรคระบาดที่เป็นภัยพิบัติ ให้สามารถทำงานเต็มที่ เต็มความสามารถไม่ต้องพะวักพวง

นพ.ธเรศ กล่าวด้วยว่า หลักการสำคัญ เป็นการจำกัดความรับผิดของบุคลากรสาธารณสุขในการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโควิด-19 ซึ่งบุคลากรที่จะได้รับการคุ้มครอง คือ บุคลากรสาธารณสุข ทั้งผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบโรคศิลปะแขนงต่างๆ อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครต่างๆที่มาช่วยทำงาน บุคคลหรือคณะบุคคลต่างๆที่มีส่วนในการจัดหาวัสดุทางการแพทย์ ยา และวัคซีน เพราะมองว่ากระบวนการรักษามาตั้งแต่ต้นทาง ในการจัดหาเครื่องมือ การเตรียมสถานที่ เตรียมบุคลากร การรักษาด้วยยา และการบำบัดต่อไป

ส่วน สถานที่ที่จะได้รับคุ้มครอง 1. สถานพยาบาลทั้งรัฐ และเอกชน 2. การปฏิบัติงานนอกสถานที่ เช่น รพ.สนาม รถฉุกเฉินที่ต้องออกไปรับผู้ป่วย หรือการดูแลผู้ป่วยในพื้นที่เฉพาะ เป็นต้น ซึ่งการดูแลการคุ้มครองนั้น บุคลากรต้องทำในสถานพยาบาล หรือนอกสถานพยาบาลที่กำหนด และการดูแลรักษาต้องเพื่อประโยชน์สาธารณะ และทำภายใต้สถานการณ์ฉุกเฉิน รวมทั้ง การดูแลการคุ้มครองไม่ใช่ทุกกรณี ต้องอยู่ภายใต้กรอบ คือ การกระทำนั้นต้องทำโดยสุจริต และไม่เป็นการประมาทเลินเล่อโดยร้ายแรง โดยการคุ้มครองเพื่อให้บุคลกรสาธารณสุขไปดูแลประชาชนภายใต้กรอบที่จำกัด ทั้งหมดเพื่อประโยชน์ของประชาขาที่ได้รับการดูแลเต็มที่ในสถานการณ์ปัจจุบัน

สำหรับ ตัวอย่างการคุ้มครองที่ไม่ต้องรับผิดตามร่าง พ.ร.ก. นี้ นพ.ธเรศ กล่าวว่า เช่น การปฏิบัติงานใน รพ.สนาม เป็นสิ่งแวดล้อมที่จัดทำขึ้น เพื่อรองรับคนไข้ที่มีจำนวนมาก บางครั้งเครื่องมืออาจมีข้อจำกัดอยู่บ้าง หรือสถานที่ที่ไม่เหมือน รพ. 100% หรือแนวทางการรักษาที่เปลี่ยนไปตลอดเพราะเป็นโรคใหม่ ในตอนต้นยาตัวนั้นอาจไม่ได้ผล ต่อมายาตัวนั้นได้ผล หรือแม้แต่วัคซีน จากเดิมที่ต้องฉีด 2 เข็ม ต่อมามีการฉีดไขว้ได้ ซึ่งองค์ความรู้ก็ปรับเปลี่ยนตลอดเวลา จึงมีความจำเป็นมากในการออกกฎหมายนี้ จะเป็นสิ่งหนึ่งที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงานหรือผู้ประกอบวิชาชีพมีความมั่นใจปฏิบัติงานได้เต็มที่ในขณะนั้นๆ

“ร่างพรก.นี้ เป็นเจตนารมณ์ที่ทำเพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลเต็มที่ที่สุด อย่างไรก็ตาม ยังเป็นฉบับร่าง ยินดีรับฟังความเห็นต่างๆเพื่อปรับปรุงให้เหมาะสมที่สุด ก่อนนำเสนอครม. หากผ่านก็จะมีผลตั้งแต่มีพรก.ฉุกเฉินในสถานการณ์โควิด19 และยืนยันว่าบุคลากรทั้งรัฐและเอกชน ประชาสังคมที่เป็นอาสาสมัคร ยึดมั่นในการดูแลประชาชนอย่างเต็มที่ หากมีพรก.ทำให้มีขวัญกำลังใจและตั้งมั่นในการดูแลในทุกสภาวะ จะเป็นประโยชน์กับประชาชนผู้เจ็บป่วยและผู้ประกอบวิชาชีพต่างๆ และผู้ช่วยพัฒนาระบบการจัดการวัสดุ ครุภัณฑ์ทุกด้าน ระบบสุขภาพของประเทศไทยจะได้กลับสู่สภาวะปกติโดยเร็ว”นพ.ธเรศกล่าว

ขณะเดียวกัน พล.อ.ต.นพ.อิทธพร คณะเจริญ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า ในฐานะตัวแทนผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์ ซึ่งทุกคนปฏิบัติงานด้วยความเต็มที่ในข้อจำกัดมากมาย ในสถานที่ที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงาน และมีภาระงานที่เกินกว่าปกติ เป็นความยากลำบากของผู้ปฏิบัติงานอย่างยิ่ง การมีกฎหมายคุ้มครองผู้ปฏิบัติงานทุกคน ทั้ง สาธารณสุข แพทย์ พยาบาล อาสาสมัครต่างๆ ที่ช่วยกันคนละไม้ละมือไปใสถานที่และบ้านที่ประชาชนอยู่ แม้เครื่องมือไม่พอ เพราะมุ่งหวังช่วยชีวิตของคน

ถ้ามีกฎหมายมาคุ้มครองผุ้ปฏิบัติงานให้ปลอดภัย ให้ทำงานเต็มที่ ดูแลชีวิตประชาชนได้มากที่สุด จะทำให้การทำงานสะดวกขึ้น ไม่ติดขัด และเป็นขวัญกำลังใจผู้ปฏิบัติงานด้วยผู้ประกอบวิชาชีพทุกภาคส่วนเห็นด้วยในการคุ้มครอง ซึ่งไม่ได้ลดมาตรการฐานการักษาพยาบาลที่ยังคงเดิมและทำงานในสภาวิสัยที่ไม่ปกติและมีข้อจำกัด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า