SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. รายงานสถายการณ์โควิด-19 วันนี้ยอดผู้เสียชีวิตทำสถิติสูงสุด 235 ราย ขณะที่ผู้ป่วยรักษาหายเพิ่มมากกว่าผู้ติดเชื้อใหม่ที่  22,806 ราย

  1. ผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้ 19,843 ราย สะสม 767,088 ราย

2. หายป่วย 22,806 ราย สะสม 550,714 ราย

3. เสียชีวิต 235 ราย สะสม 6,588 ราย

4. กำลังรักษา 211,223 ราย
– อยู่ใน รพ.หลัก 62,717 ราย
– รพ.สนาม 148,506 ราย
– อาการหนัก 5,450 ราย
– ใช้ท่อช่วยหายใจ 1,1,106 ราย

ศบค.รายงานสถานการณ์ระบาดโควิด-19 ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวม 7,948 คน คิดเป็น 41% เมื่อเทียบกับต่างจังหวัดที่แนวโน้มการติดเชื้อเริ่มแซงขึ้นมา เป็น 59% แล้ว หรือคิดเป็น อัตรา 6 ต่อ 4 สำหรับ 10 อันดับจังหวัดติดโควิด-19 มากที่สุด ได้แก่ กรุงเทพมหานคร 3,114 ราย รองมาเป็น สมุทรปราการ สมุทรสาคร ชลบุรี และที่ต้องจับตา จังหวัดทางภาคอีสาน ได้แก่ อุบลราชธานี พบผู้ติดเชื้อใหม่ 615 ราย และนครราชสีมา 440 ราย

  • จ.สมุทรสาคร ติดเชื้อพุ่ง 1,639 ราย เสียชีวิต 15 ราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสมุทรสาคร รายงานพบผู้ติดเชื้อรายใหม่อีก 1,639 ราย ในจำนวนนี้เป็นคนที่อยู่ในจังหวัดสมุทรสาครถึง 817 ราย ที่เหลือเป็นคนนอกจังหวัดอีก 518 ราย ส่งผลยอดเชื้อสะสมทั้งหมดรวม 61,897 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 33,935 ราย อยู่ระหว่างการรักษา 27,737 ราย และผู้เสียชีวิตรายใหม่ 15 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตสะสมอยู่ที่ 225 ราย

  • จ.ชลบุรี ติดเชื้อเพิ่มอีก 1,005 ราย เสียชีวิต 10 ราย

สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดชลบุรี รายงานสถานการณ์โควิด-19 พบติดเชื้อรายใหม่ 1,005 ราย มีการระบาดเป็นกลุ่มก้อน (Cluster) ในสถานประกอบการ 21 แห่ง และตลาด 5 แห่ง แคมป์คนงานก่อสร้าง 10 แห่ง และชุมชน 4 แห่ง

ขณะนี้ได้ค้นหาผู้สัมผัสทั้งหมดจำนวน 1,283 ราย, ค้นหาเชิงรุกเบื้องต้น จำนวน 971 ราย, และอยู่ระหว่างการรอรับรายงานการค้นหาเชิงรุกเพิ่มเติมการระบาดของโควิด-19 ระลอกใหม่ เริ่มจากแหล่งสถานบันเทิง สู่ครอบครัว มาสู่เพื่อนร่วมงาน มาสู่ชุมชนที่พักอาศัยพนักงาน แรงงาน ซึ่งมีปัจจัยเสี่ยงมาจากการทานข้าวร่วมกัน หรือมีกิจกรรมใกล้ชิด สังสรรค์แม้จะเป็นเพียงกลุ่มเล็ก 2-3 คนในเพื่อนสนิท

  • จ.เชียงใหม่ มีคำสั่งนำอาหารต้องได้รับอนุญาตจาก อปท. ก่อน 

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดเชียงใหม่ มีคำสั่งประกาศห้ามประชาชนที่ผู้ใจบุญ นำอาหารมาแจกจ่ายให้กับประชาชนคนตกงานหรือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิค-19 บริเว๊ริมถนนหรือทางสาธารณะ หลังจากการนำอาหารมาแจกแล้วเกิดการแย่งอาหารกันจนไม่มีระเบียบหรือเว้นระยะห่าง เกรงจะเป็นการแพร่ระบาดของโควิค หากจะแจกต้องได้รับอนุญาตจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เจ้าของพื้นที่ เพื่อจัดเจ้าหน้าที่มาดูแลอำนวยความสะดวก ตรวจวัดไข้หรือเว้นระยะห่าง หากฝ่าฝืนมีโทษปรับ 20,000 บาท

  • ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 20 ล้านโดส

ศ.ดร. นายแพทย์ สิริฤกษ์ ทรงศิวิไล ปลัดกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยว่า ขณะนี้ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้ว เป็นจำนวนถึง 20 ล้านโดส โดยใช้เวลาเพียง 36 วันในการฉีด 10 ล้านโดสพร้อมเปิด 10 สถิติสำคัญ ดังนี้

1. ประเทศไทยได้ฉีดวัคซีนโควิด-19 แล้วมากกว่า 20 ล้านโดส โดย 10 ล้านโดสแรกใช้เวลา 124 วัน แต่สิบล้านโดสหลังใช้เวลาเพียง 36 วัน (เร็วขึ้นกว่า 3.4 เท่า) ขณะนี้มีประชากร 23.9% ที่ได้รับวัคซีนโควิด-19 แล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม และมี 6.7% ที่ฉีดครบสองเข็ม นอกจากนี้ 0.3% ได้รับวัคซีนเข็มสามแล้วโดยเป็นบุคลากรการแพทย์และสาธารณสุข
2. ใช้วัคซีนโควิด-19 จำนวน 4 ชนิด ได้แก่ ซิโนแวค (48.77% ของจำนวนโดส), แอสตร้าเซนเนก้า (43.95%) ซิโนฟาร์ม (7.00%) และไฟเซอร์ (0.28%) แต่ในแง่จำนวนคนนั้น มีผู้ที่ได้รับวัคซีนแอสตราเซนเนกามากกว่าซิโนแวก 1.5 ล้านคน
3. ได้ขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด-19 ในไทยแล้ว 6 ชนิด และอยู่ระหว่างดำเนินการขึ้นทะเบียนอีก 2 ชนิด
4. จำนวนการฉีดวัคซีนมากที่สุดเกิน 670,000 โดสต่อวัน เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2564
5. จังหวัดภูเก็ต ได้ฉีดวัคซีนโควืด-19 ครอบคลุมประชากรมากที่สุด โดย 75.9% ของคนภูเก็ตได้รับวัคซีนแล้วอย่างน้อยหนึ่งเข็ม และ 59.2% ฉีดวัคซีนครบสองเข็มแล้ว ส่วนกรุงเทพมหานครได้รับวัคซีนแล้ว 70.2% ของประชากร โดย 14.9% ฉีดครบสองเข็มแล้ว ทั้งนี้ทั้งสองจังหวัดมีการฉีดวัคซีนให้กับผู้สูงอายุเกิน 60 ปี มากกว่า 80% แล้ว สำหรับจังหวัดที่ฉีดวัคซีนให้กับผู้ป่วย 7 กลุ่มโรคเกิน 80% แล้วคือ จังหวัดสมุทรปราการ
6. ประเทศไทยมีจำนวนการฉีดวัคซีนจำนวนเป็นอันดับ 4 ในอาเซียน และร้อยละการครอบคลุมประชากรเป็นอันดับที่ 5
7. ประเทศไทยฉีดวัคซีนโควิด-19 เป็นอันดับที่ 27 ของโลกในแง่จำนวนโดส
8. ประเทศไทยมีวัคซีนโควิด-19 แล้วมากกว่า 30 ล้านโดส ได้แก่ แอสตราเซนเนกา 12.8 ล้านโดส ซิโนแวก 12.5 ล้านโดส ซิโนฟาร์ม 5 ล้านโดส และ ไฟเซอร์ 1.5 ล้านโดส โดยได้รับบริจาควัคซีนจาก จีน 1 ล้านโดส (ซิโนแวก) ญี่ปุ่น 1.05 ล้านโดส (แอสตราเซนเนกา) สหราชอาณาจักร 0.42 ล้านโดส (แอสตราเซนเนกา) และสหรัฐอเมริกา 1.5 ล้านโดส (ไฟเซอร์)
9. วัคซีนสามารถลดการเสียชีวิต โดยผลการวิเคราะห์ผู้ที่เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 จำนวน 819 ราย มี 74.5% ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน และมีเพียง 2 รายที่ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว
10. วัคซีนที่วิจัยและพัฒนาโดยคนไทยอย่างน้อย 4 ชนิดกำลังทดสอบในมนุษย์ ได้แก่ วัคซีน ChulaCov19 พัฒนาโดยจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, วัคซีน HXP-GPOVac พัฒนาโดยมหาวิทยาลัยมหิดลและองค์การเภสัชกรรม, วัคซีน COVIGEN พัฒนาโดยบริษัทไบโอเนท-เอเชีย จำกัด และวัคซีน Baiya SARS-CoV-2 Vax 1 พัฒนาโดยบริษัท ใบยา ไฟโตฟาร์ม จำกัดและจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า