Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผยภาพรวมสถานการณ์โควิดในไทยลดลง ห่วงคลัสเตอร์ใหม่มีเพิ่มขึ้นในหลายจังหวัด ขณะที่ผลการเปิดประเทศ วันนี้ผู้เดินทางเข้าไทยติดเชื้อเพิ่ม 3 ราย

วันที่ 10 พ.ย. 2564 พญ.สุมณี วัชรสินธุ์ ผู้อำนวยการสำนักสื่อสารความเสี่ยงฯ กรมควบคุมโรค รายงานผลการเปิดประเทศว่า วันนี้มีผู้เดินทางจากต่างประเทศเข้าไทยเพิ่ม 2,779 ราย รวมสะสม 28,021 ราย พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 3 รายจากกลุ่ม Test & Go 2 ราย และกลุ่ม Sandbox 1 ราย รวมติดเชื้อสะสม 29 ราย คิดเป็น 0.1% ของผู้ที่เดินทางเข้ามาทั้งหมด

สำหรับต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยที่สนามบินสุวรรณภูมิวันนี้ 1,894 ราย, สนามบินภูเก็ต 807 ราย สนามบินสมุย 78 ราย เข้ามาในรูปแบบไม่กักกัน Test & Go จำนวน 2,114 ราย, Sandbox 530 ราย และแบบกักตัว 135 ราย

กลุ่มที่เดินทางเข้าไทยส่วนใหญ่จะเข้ามาในรูปแบบแบบไม่กักกัน หรือ Test and Go รองลงมาเป็นแบบ Sandbox โดยอัตราการติดเชื้อต่ำสุดที่จะเป็นแบบ Test and Go เนื่องจากการมีการวางมาตรการเพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับคนในประเทศ มีเงื่อนไขต่างๆ ก่อนเข้าประเทศเพื่อแยกเป็นนักเดินทาง และมีการคัดกรองเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทย เพื่อความปลอดภัยและสร้างความมั่นใจของระบบการจัดการให้กับพี่น้องประชาชนคนไทย

พญ.สุมณี กล่าวว่า ขณะนี้ได้ดำเนินการตามนโยบายเปิดประเทศมาแล้ว 10 วัน พบอัตราการติดเชื้อในผู้ที่เดินทางเข้าประเทศแค่ 0.1% เพราะมีการจัดระบบต่างๆ ในการในการรองรับทุกๆ ด้าน ดังนั้นในขั้นตอนต่างๆ ในการเข้าประเทศมีความสำคัญ ที่ประชุม ศบค.จึงได้เน้นย้ำในเรื่องการตรวจเอกสารหลักฐานตามเงื่อนไขการเข้าประเทศจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ต้องมีความละเอียด และการตรวจคัดกรองโควิดเมื่อเดินทางมาถึงประเทศไทยให้รายงานผลการตรวจให้ได้ภายใน 6 ชั่วโมง

สำหรับสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโควิด-19 ประจำวัน ไทยอยู่อันดับที่ 24 ของโลก วันนี้พบผู้ป่วยรายใหม่ 6,978ราย แบ่งเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 6,387 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 237 ราย จากเรือนจำ346 ราย และผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 8 ราย รวมยอดผู้ป่วยสะสม 1,989,473 ราย ผู้ป่วยรักษาหายเพิ่มขึ้น7,697ราย ยอดสะสม 1,873,184 ราย เหลือผู้ป่วยรักษาอยู่ 97,463 ราย ในจำนวนนี้มีอาการหนัก1,877 ราย และต้องใส่เครื่องช่วยหายใจ 423 ราย และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น 62 ราย

พญ.สุมณี กล่าวว่า ในจำนวนผู้เสียชีวิตมีเด็ก 2 ราย อายุ 9 ปีและ 13 ปี ไม่ได้รับวัคซีน โดยจังหวัดภาคใต้เสียชีวิตรวมกันมากที่สุด 23 ราย ปัจจัยเสี่ยงต่อความรุนแรงของโรค ส่วนใหญ่มีโรคประจำตัว โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน โรคไต โรคอ้วน ติดเตียง ส่วนปัจจัยเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ติดเชื้อในพื้นที่ คนรู้จัก ครอบครัว อาศัยในพื้นที่ระบาด และอาชีพเสี่ยง

ทั้งนี้ ภาพรวมผู้ติดเชื้อทั่วประเทศลดลงอย่างชัดเจน และสัดส่วนภาพรวมต่างจังหวัดอยู่ที่ 62% ชายแดนใต้ 18% กรุงเทพฯและปริมณฑล 20% สำหรับทิศทางแนวโน้มผู้ติดเชื้อในแต่ละภาค ประกอบด้วย ภาคกลางส่วนใหญ่มีทิศทางลดลง ต้องเฝ้าระวังคลัสเตอร์ใหม่ที่พบเพิ่มในหลายจังหวัด

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า