Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. เผย กทม.ยังพบคลัสเตอร์ใหม่ 3 จุด ส่วนใหญ่ไม่มีอาการ นอกจากนี้ยังพบคลัสเตอร์ใหม่ บ้านเด็กอ่อนรังสิต เด็กและพี่เลี้ยงติดโควิด 39 ราย

วันที่ 24 มิ.ย.2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาด ของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสถานการณ์ประจำวัน ว่า มีผู้ติดเชื้อรายใหม่ 4,108 ราย เป็นการติดเชื้อในประเทศ 3,865 ราย มาจากระบบเฝ้าระวังและระบบบริการ 2,835 ราย มาจากการค้นหาเชิงรุก 1,030 ราย มาจากเรือนจำ 229 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ 14 ราย ในจำนวนนี้เป็นผู้ลักลอบเข้าเมืองผ่านช่องทางธรรมชาติจากกัมพูชา 2 ราย ทำให้มียอดผู้ติดเชื้อสะสม 232,647ราย หายป่วยเพิ่มเติม 1,578 ราย หายป่วยสะสม 191,355 ราย อยู่ระหว่างรักษา 39,517 อาการหนัก 1,564 ราย ใส่เครื่องช่วยหายใจ 445 ราย

เสียชีวิตเพิ่มเติม 31 ราย เป็นชาย 16 ราย หญิง 15 ราย อยู่ใน กทม. 28 ราย พระนครศรีอยุธยา 2 ราย ลพบุรี 1 ราย ทำให้มียอดผู้เสียชีวิตสะสม 1,775 ราย ส่วนความคืบหน้าการฉีดวัคซีนเมื่อวันที่ 23 มิ.ย. มีการฉีดไป 251,985 โดส ข้อมูลผู้ได้รับวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-23 มิ.ย. 8,400,320 โดส ขณะที่สถานการณ์โลก มีผู้ติดเชื้อสะสม 180,360,606 ราย เสียชีวิตสะสม 3,907,364 ราย

วันนี้มีรายงานคลัสเตอร์ใหม่ 3 แห่ง ทำให้โดยรวม กทม. มีคลัสเตอร์ที่เฝ้าระวังทั้งสิ้น 99 คลัสเตอร์ กระจายอยู่ใน 42 เขต ส่วนการติดเชื้อของคลัสเตอร์ในจังหวัดอื่นๆ พบคลัสเตอร์ใหม่ในหลายพื้นที่ เช่น
• จ.สมุทรสาคร พบที่ อ.เมือง 2 คลัสเตอร์ คือ โรงงานผลิตภัณฑ์ยาง 9 ราย โรงงานกุ้ง 9 ราย
• จ.นนทบุรี ที่โรงงานสาหร่ายแปรรูป อ.ปากเกร็ด 11 ราย
• จ.ปทุมธานี ที่บ้านเด็กอ่อนรังสิต อ.ธัญบุรี 39 ราย ในจำนวนนี้เป็นเด็กอายุ 3-6 ปี 33 ราย ผู้ดูแล 6 ราย ผู้ติดเชื้อรายแรกมาจากพนักงานขับรถ

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุม ศบค.ชุดเล็กได้เน้นย้ำผู้ดูแลผู้สูงอายุและเด็กเล็กต้องมีความรับผิดชอบส่วนตัวที่ต้องเข้มงวดมาตรการเฝ้าระวังตัวเอง และกำชับให้เจ้าของสถานที่ทั้งเอกชนและรัฐตรวจตราบุคลากรอย่างสม่ำเสมอ รวมถึงเจ้าหน้าที่รัฐที่มีสถานประกอบการในพื้นที่ดูแลขอให้ติดตามตรวจสอบอย่างเคร่งครัด

ส่วนกรณีการจัดการเตียงในพื้นที่ กทม. และปริมณฑล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี มีความเป็นห่วงและเน้นย้ำให้ช่วยเหลือในการเพิ่มศักยภาพการขยายเตียง โดยเฉพาะผู้ป่วยสีเหลืองและแดง ซึ่งที่ประชุม EOC ของกระทรวงสาธารณสุข ได้หารือข้อเสนอ เช่น ยกระดับ รพ.บางขุนเทียน และ รพ.ราชพิพัฒน์ รวมทั้งหารือ รพ.เอกชน เช่น รพ.มงกุฎวัฒนะ รพ.ธนบุรี เพื่อปรับพื้นที่รองรับผู้ติดเชื้อกลุ่มอาการรุนแรง

นอกจากนี้ หารือให้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล และวชิรพยาบาล ระดมบุคลากรเปิดเตียงรองรับผู้ป่วยอีก 50 เตียง ภายในเดือนนี้

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า