SHARE

คัดลอกแล้ว

ศ.นพ.ยง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก เผยวัคซีนโควิด 19 บริษัทซิโนแวค มีประสิทธิภาพลดความรุนแรงของโรคได้ดี  มีความปลอดภัย เชิญชวนกลุ่มเป้าหมายรับการฉีดวัคซีนเพื่อชาติ พร้อมตอบข้อสงสัยวัคซีนโควิด 19 ที่คนไทยควรรู้

วันที่ 27 ก.พ. 2564 ที่ผ่านมา ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แถลงข่าวประเด็น “วัคซีนโควิด 19 : ที่คนไทยควรรู้” ว่า การระบาดของโควิด 19 ครั้งนี้ ถือเป็นการระบาดใหญ่ในรอบ 100 ปี หลังจากที่เคยมีการระบาดของไข้หวัดใหญ่สเปนในปี 2461 หากไม่มีการดำเนินการใดจะประเทศไทยมีผู้เสียชีวิต 1 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 7 แสนคน และใช้เวลา 2 ปีโรคจึงจะสงบ ซึ่งที่ผ่านมามาตรการต่าง ๆ และการใช้ชีวิตแบบวิถีชีวิตใหม่ สามารถลดการระบาด ลดการสูญเสียได้อย่างมาก ทำให้ไทยมีผู้เสียชีวิตประมาณ 80 คน สำหรับวัคซีนโควิด 19 จะมาทดแทนการป่วย สร้างภูมิคุ้มกันให้เกิดขึ้น

สำหรับวัคซีนโควิด 19 บริษัทซิโนแวคที่จะฉีดให้ผู้ที่อยู่ในประเทศไทย มีประสิทธิภาพลดความรุนแรงของโรคได้ดี โดยป้องกันการป่วยที่มีอาการน้อย ต้องพบแพทย์แบบผู้ป่วยนอกได้ถึง 70 เปอร์เซ็นต์ ป้องกันการป่วยที่ต้องเข้าโรงพยาบาลได้ 100 เปอร์เซ็นต์ และป้องกันการเจ็บป่วยเล็กน้อยที่ไม่ต้องพบแพทย์ 50 กว่าเปอร์เซ็นต์ สาเหตุที่ยังไม่ฉีดในคนที่มีอายุ 60 ปีนั้น เนื่องจากเป็นวัคซีนใหม่ มีการศึกษาในผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไปประมาณ 3 เปอร์เซ็นต์ จึงยังไม่ทราบผลในการป้องกันโรค และอาการแทรกซ้อน คาดว่ารอผลการศึกษาประมาณ 2 เดือน เมื่อมีข้อมูลมากขึ้นอาจปรับเปลี่ยนได้

สำหรับจะฉีดเมื่อไหร่นั้น กระทรวงสาธารณสุขมีกฎเกณฑ์จัดลำดับการฉีดตามความเสี่ยง ขณะนี้ทั่วโลกฉีดวัคซีนไปแล้วมากกว่า 220 ล้านโดส บางประเทศ เช่นอิสราเอล ฉีดเข็มแรกครอบคลุมประชากรถึง 80 เปอร์เซนต์ พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อลดลงกว่าครึ่ง อัตราการตายต่อวันลดลง ชี้ให้เห็นว่าการฉีดวัคซีนหมู่มากมันสามารถป้องกันโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่วนอาการแทรกซ้อนนั้น ข้อมูลของสหรัฐอเมริกา ฉีด 13 ล้านคน มีอาการแพ้รุนแรง 5 คนในล้านคน เกิดอาการขณะอยู่ในโรงพยาบาล ไม่มีผู้เสียชีวิต ส่วนภาพรวมหลังการฉีด 220 ล้านโดส มีผู้เสียชีวิต 113 ราย เมื่อสอบสวนแล้วพบว่าไม่มีรายใดที่เกี่ยวกับการฉีดวัคซีนโดยตรง ส่วนใหญ่เกิดจากอุบัติเหตุ และโรคประจำตัว อาการที่พบส่วนใหญ่เป็นอาการหลังการฉีดวัคซีนทั่วไป เช่น เจ็บ ปวดเล็กน้อยบริเวณที่ฉีด มีไข้  จึงขอให้มั่นใจในเรื่องความปลอดภัยของวัคซีน

“ส่วนจะฉีดวัคซีนโควิด 19 ชนิดใดดีนั้น วัคซีนซิโนแวค และแอสตร้าเซนเนกาที่นำมาฉีดในประเทศไทย มีประสิทธิภาพไม่แตกต่างกัน สามารถลดความรุนแรงของโรคได้ดี ไม่ให้มีอาการป่วยรุนแรงและเสียชีวิต  เมื่อมีวัคซีนเราก็จะมีการผ่อนคลายเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ  การฉีดวัคซีนเป็นการป้องกันเรา ป้องกันเขา และยังเป็นการป้องกันคนรอบข้าง  จึงขอเชิญชวนให้มารับการฉีดวัคซีน เป็นการฉีดเพื่อชาติ เพราะเมื่อมีการฉีดจำนวนมาก โรคนี้ก็จะสงบลง ชีวิตความเป็นอยู่ของเราจะกลับคืน ฟื้นฟูเศรษฐกิจต่อได้ ซึ่งผลสำรวจประชาชนกว่า 30,000 คน พบว่า 80 เปอร์เซ็นต์ต้องการฉีดวัคซีน” ศ.นพ.ยงกล่าว

สำหรับข้อสงสัยว่ามีความจำเป็นที่ต้องตรวจภูมิต้านทานก่อนและหลังฉีดวัคซีนหรือไม่นั้น ไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ จะตรวจเฉพาะเมื่อนำข้อมูลไปใช้สำหรับการศึกษาวิจัยเท่านั้น

ที่มีอายุ 90 ปี ฉีดวัคซีนได้หรือไม่ คำตอบคืออายุไม่ได้เป็นปัจจัยที่เป็นข้อห้ามไม่ให้ฉีดวัคซีน โดยวัคซีนของบริษัทแอสตร้าเซนเนกาฉีดได้ตั้งแต่อายุ 18 ปีขึ้นไป ส่วนซิโนแวคต้องรอข้อมูลอีกระยะหนึ่ง

ฉีดวัคซีนโควิด 19 พร้อมกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ได้หรือไม่ เนื่องจากวัคซีนโควิด 19 เป็นวัคซีนใหม่ จึงยังไม่อยากให้ฉีดพร้อมกับวัคซีนอื่น เพราะหากมีอาการข้างเคียงจะไม่ทราบว่าเกิดจากวัคซีนใด จึงให้ฉีดห่างกัน 2 สัปดาห์ ยกเว้นในกรณีป้องกันโรครุนแรงถึงชีวิต สามารถฉีดได้ เช่นถูกสุนัขกัด จำเป็นต้องฉีดวัคซีนพิษป้องกันโรคสุนัขบ้า วัคซีนป้องกันบาดทะยัก

การฉีดวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 คนละชนิดได้หรือไม่ ปัจจุบันยังไม่มีข้อมูลการศึกษาในวัคซีนโควิด 19 อยู่ระหว่างทำการศึกษา คาดว่าในอีก 3 – 4 เดือนจะทราบผล จึงขอให้ฉีดชนิดเดียวกันก่อน สำหรับเด็กควรจะได้รับวัคซีนหรือไม่ เด็กควรจะเป็นกลุ่มสุดท้ายที่จะต้องได้รับวัคซีน เพราะส่วนใหญ่เด็กติดเชื้อโควิด 19 มีอาการป่วยไม่รุนแรง

เมื่อฉีดวัคซีนแล้วจะเป็นโรคโควิด 19 ได้หรือไม่ มีโอกาสป่วยได้ เนื่องจากวัคซีนป้องกันไม่ได้ 100 เปอร์เซ็นต์ แต่หลังฉีดวัคซีน ถ้าเป็นโรค ส่วนใหญ่อาการน้อยลง ลดอัตราการเสียชีวิต ลดความรุนแรงที่จะเข้าโรงพยาบาล

ประเด็นสุดท้ายคนท้องหรือให้นมบุตรฉีดได้หรือไม่ โดยปกติคนท้องสามารถฉีดวัคซีนได้ ถ้าเป็นวัคซีนชนิดเชื้อตาย แต่เนื่องจากวัคซีนนี้เป็นวัคซีนใหม่ ยังไม่เคยมีการศึกษาในคนท้อง จึงยังไม่ฉีดให้คนท้องฉีด ยกเว้นกรณีมีความเสี่ยงเป็นบุคลากรด้านหน้า จะต้องพิจารณาเป็นกรณีไป เปรียบเทียบระหว่างความเสี่ยงกับประโยชน์ที่จะได้รับ ส่วนการฉีดวัคซีนในสตรีไม่มีความจำเป็นต้องตรวจว่าตั้งครรภ์หรือไม่ แต่หากรู้ว่าตั้งครรภ์จะไม่ฉีดเข็มที่ 2

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า