SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ของประเทศไทย ประจำวันศุกร์ ที่ 4 มิ.ย. 2564 พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 2,631 ราย โดยแบ่งเป็นผู้ติดเชื้อทั่วไป 2,442 ราย และผู้ติดเชื้อภายในเรือนจำ 189 ราย ทำให้มีผู้ป่วยสะสม 171,979 ราย (สะสมเฉพาะตั้งแต่ 1 เม.ย. ที่ผ่านมา 143,116 ราย ) และมีผู้เสียชีวิตเพิ่มอีก 31 ราย รวมมีผู้เสียชีวิตจากโควิด 19 แล้ว จำนวน 1,177 ราย

ขณะเดียวกัน มีผู้ป่วย รักษาหายกลับบ้านได้ วันนี้ 2,493 ราย รวมหายป่วยแล้ว 120,697 ราย เหลือรักษาตัวในโรงพยาบาล 50,105 ราย

วัคซีนโควิด-19 อาการไม่พึงประสงค์ต้องแยกจากอาการข้างเคียง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความลงในเฟซบุ๊ก “Yong Poovorawan” ระบุว่า โควิด-19 วัคซีน กับอาการไม่พึงประสงค์

อาการไม่พึงประสงค์ ต้องแยกจากอาการข้างเคียง

อาการไม่พึงประสงค์ เกิดขึ้น หลังการให้วัคซีน เป็นเหตุการณ์อะไรก็ตาม ที่เกิดขึ้นหลังการให้วัคซีนใน 2 สัปดาห์ เราจะรวบรวมเป็นอาการไม่พึงประสงค์ แล้วสรุป ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ เป็นความเป็นไปได้ที่เกี่ยวข้องกับวัคซีน น่าจะเกี่ยวข้อง หรือเกี่ยวข้อง จึงต้องอาศัยการช่วยวิเคราะห์อย่างละเอียด

อย่างที่ผมเคยเล่าให้ฟังว่า ฉีดวัคซีนแล้วเสียชีวิต ใน 2 วันต่อมา ก็ถือว่าเป็นอาการไม่พึงประสงค์อย่างร้ายแรง แต่เมื่อไปศึกษารายละเอียด พบว่าการเสียชีวิตถูกยิงตาย ก็ต้องศึกษาต่อไปอีกว่า วัคซีนมีผลทำให้พฤติกรรมก้าวร้าว หรือไม่ ถ้าก้าวร้าวแล้วถูกยิงตาย วัคซีนก็อาจจะเป็นสาเหตุได้

ผมอยู่ในการศึกษาวัคซีนมามาก แม้กระทั่งฉีดวัคซีนไปแล้ว เดินออกจากโรงพยาบาล เดินตกท่อ ก็ยังต้องหาสาเหตุว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนหรือไม่ เพราะวัคซีนอาจทำให้เวียนศีรษะ แล้วเดินตกท่อก็ได้ แต่ถ้าไปเดินสะดุดแล้วตกท่อ ก็ไม่น่าจะเป็นสาเหตุ

ในขณะนี้ประเทศไทยฉีดวัคซีนไปถึง 3.8 ล้านโดส ถ้าเฝ้าระวังอาการ เอาแค่ 7 วันก็พอ ก็เท่ากับ ไม่น้อยกว่า 25 ล้านวัน ชีวิตคน หรือเท่ากับ 65 หมื่นปี หรือเรียกง่ายๆคนเรามีอายุ 80 ปี ก็อย่างน้อย 800 คนที่เมื่อนับรวมวันกัน ตั้งแต่เกิดจนตายก็จะเท่ากับ 25 ล้านวัน

ฟังดูแล้วเข้าใจยากไปหน่อย ถ้าพูดง่ายๆชีวิต 25 ล้านวัน เท่ากับชีวิตของคน 800 คน ที่มีอายุอยู่ถึง 80 ปี เมื่อวันเวลาดังกล่าวดังที่ยกตัวอย่างก็ต้องมีการเสียชีวิต ตามโลกแห่งความเป็นจริง แต่การให้วัคซีนส่วนใหญ่แล้วให้กับคนแข็งแรง เหตุการณ์จึงไม่ได้เกิดถึงขนาดนั้น

ดังนั้น เมื่อเกิดอาการไม่พึงประสงค์ โดยเฉพาะอาการใหม่ จะต้องมีการรายงาน ว่าโรคนั้นเกี่ยวข้องกับหรือเป็นอาการข้างเคียงกับวัคซีนหรือไม่ เช่นการให้วัคซีนไวรัส Vector เกิดการมีลิ่มเลือดและมีเกล็ดเลือดต่ำ (คนละโรคกับเส้นเลือดดำอุดตัน) โรคนี้ก็พบได้อยู่แล้ว แต่เมื่อมาเปรียบเทียบกับอุบัติการณ์ของคนปกติที่พบในชีวิตจริง แล้วพบว่าเกิดจากวัคซีนได้มากกว่า ก็เป็นที่ยอมรับว่า การเกิดลิ่มเลือดชนิดที่มีเกล็ดเลือดต่ำ ว่ามีความเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนชนิด virus Vector แต่อุบัติการณ์จะเกิดในคนอายุน้อย และมีอุบัติการณ์ทั้งสิ้นประมาณ 1 ในแสน เมื่อเทียบประโยชน์แล้วมีมากกว่าก็เดินหน้าให้วัคซีน และโรคดังกล่าวก็รักษาได้ ถ้ารู้เร็ว

เช่นเดียวกันการฉีดวัคซีน mRNA เช่นของ Pfizer ขณะนี้มีรายงานการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ โดยเฉพาะในคนอายุน้อย ข้อมูลนี้กำลังเฝ้าระวัง โดยเฉพาะในอเมริกาและอิสราเอล เริ่มให้ความสำคัญ ก็จะต้องศึกษาเพิ่มเติมว่า อุบัติการณ์ในการฉีดวัคซีนในคนอายุน้อยของ Pfizer มีโอกาสเกิดมากกว่าคนที่ไม่ได้ฉีด แล้วเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเท่าใด จะต้องคำนึงถึงผลได้ของวัคซีนเปรียบเทียบกับการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ และ ผลระยะยาวของหัวใจ

วัคซีนที่ใช้อยู่ขณะนี้เป็นวัคซีนใหม่ จึงจำเป็นต้องบันทึกอาการไม่พึงประสงค์ ลงอย่างละเอียด และจำเป็นต้องใช้นักวิชาการมาวิเคราะห์ และคำนึงถึง ประโยชน์ที่ได้ กลับผลเสียที่จะเกิดจากการฉีดวัคซีน

เราจำเป็นจะต้องใช้ทั้งเหตุและผล เข้ามาร่วมการตัดสินใจ

ข่าวในเชิงลบ จะออกมาเร็วและผู้คนสนใจ แต่เมื่อความจริงปรากฏ ว่าเกี่ยวข้องหรือไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน ก็มักจะ ไม่เป็นข่าวออกมาเลย เช่นในรายการเสียชีวิต จะเป็นข่าวอย่างรวดเร็ว แต่ผลของการสอบสวนต้องใช้เวลา และเมื่อผลสอบสวนออกมาแล้ว ก็มักจะไม่ได้เป็นข่าวแล้ว

<iframe src=”https://www.facebook.com/plugins/post.php?href=https%3A%2F%2Fwww.facebook.com%2Fyong.poovorawan%2Fposts%2F5784089378300298&show_text=true&width=500″ width=”500″ height=”356″ style=”border:none;overflow:hidden” scrolling=”no” frameborder=”0″ allowfullscreen=”true” allow=”autoplay; clipboard-write; encrypted-media; picture-in-picture; web-share”></iframe>

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า