SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค. เผยยอดผู้ป่วยโควิดอาการหนัก 1,306 ราย ติดเชื้อเพิ่ม 2,331 ราย เสียชีวิตอีก 40 ราย จับตานนทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา

วันที่ 16 มิ.ย. 2564 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การโควิด-19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทยว่า พบผู้ติดเชื้อเพิ่ม 2,331 ราย เป็นผู้ติดเชื้อใหม่ 2,305 ราย จากเรือนจำ 26 ราย และเสียชีวิตเพิ่ม 40 ราย ทำให้การระบาดระลอกใหม่ตั้งแต่เดือนเมษายนที่ผ่านมา มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 175,732 ราย

ด้านกรุงเทพฯ รายงานยอดการฉีดวัคซีนในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ข้อมูล ณ เวลา 08.00 น.วันนี้ (16 มิ.ย.64) มีผู้รับวัคซีนเพิ่ม 56,654 โดส รวมยอดผู้รับวัคซีนสะสม 1,912,524 โดส

ส่วนภาพรวมทั่วประเทศ ข้อมูลจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ณ วันที่ 15 มิถุนายน มีจัดสรรวัคซีนแล้วกว่า 7,080,000 โดส มีการฉีดวัคซีนสะสมกว่า 6.5 ล้านคน ใน 77 จังหวัด

-เข็มแรก 4,762,063 โดส (7.2% ของประชากร)

-เข็มสอง 1,749,121 โดส (2.6% ของประชากร)

ศบค. ชุดเล็กหารือจังหวัดที่มีปัจจัยเสี่ยงการติดเชื้อ เตรียมเสนอ ศบค. ชุดใหญ่ ผ่อนปรน – เพิ่มมาตรการ ช่วงสถานการณ์โควิด- 19 ในบางพื้นที่

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า  วันนี้ที่ประชุม ศบค. ชุดเล็ก มีการพูดคุยเรื่องปัจจัยเสี่ยงควบคุมการติดเชื้อ ยกเว้นพื้นที่ กทม. นนทบุรี สมุทรปราการ และปทุมธานี ซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงสูง โดยแยกเป็นพื้นที่ที่มีโรงงาน สถานประกอบการที่มีแรงงานข้ามชาติจำนวนมาก, จังหวัดที่มีตลาดค้าส่ง ตลาดที่มีผู้ค้าจากหลายจังหวัดหรือมีผู้เดินทางเข้าจังหวัดจำนวนมาก, ชุมชนแออัด, ชุมชนต่างชาติหรือพบผู้ติดเชื้อในชุมชน, ชายแดนที่พบแรงงานข้ามชาติติดเชื้อ และชายแดนที่มีโอกาสเสี่ยงที่แรงงานข้ามชาติจะลักลอบเข้าประเทศ เพื่อหารือเบื้อต้นเกี่ยวกับมาตรการผ่อนปรน ซึ่งจะนำเสนอต่อ ศบค.ชุดใหญ่ในวันศุกร์นี้ บางจังหวัดอาจจะมีมาตรการผ่อนคลาย แต่บางจังหวัดอาจมีการปรับมาตรการเข้มข้นขึ้น

ส่วนตัวเลขผู้ติดเชื้อวันนี้พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 2,331 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 2,305 ราย ผู้ป่วยในเรือนจำ 26 ราย พบผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 204,595 ราย รักษาอยู่ 35,405 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,306 ราย และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 364 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 167,665 ราย หายเพิ่ม 4,947 ราย เสียชีวิตใหม่ 40 ราย โดยผู้เสียชีวิตเป็นผู้ป่วยชาย 24 ราย ผู้ป่วยหญิง 16 ราย ค่ากลางอายุผู้ป่วย 63 ปี อายุระหว่าง 34-90 ปี แบ่งเป็นกรุงเทพมหานคร 20 ราย, นครปฐม 5 ราย, พระนครศรีอยุธยา 4 ราย, ชลบุรี, ปทุมธานี และสมุทรปราการ จังหวัดละ 2 ราย, เพชรบุรี, ราชบุรี, นครสวรรค์, พัทลุง และสุราษฎร์ธานี จังหวัดละ 1 ราย

พญ.อภิสมัย กล่าวว่า จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่วันนี้สูงสุดยังอยู่ที่กรุงเทพมหานคร ส่วนที่จังหวัดนนทบุรี พบคลัสเตอร์ใหม่ บริษัทกระจกอะลูมิเนียม พื้นที่ อ.ไทรน้อย ซึ่งน่าจะเกี่ยวโยงกับแคมป์คนงานก่อสร้าง ส่วนที่ อ.บางบัวทอง พบคลัสเตอร์ใหม่ที่บริษัทไม้แขวนเสื้อพลาสติก

ส่วนที่ จ.สมุทรปราการ มีรายงานคลัสเตอร์ใหม่ 3 คลัสเตอร์ในพื้นที่ อ.เมือง และ อ.พระประแดง แม้ว่าจะไม่พบผู้ติดเชื้อเยอะแต่ จ.สมุทรปราการ พบผู้ติดเชื้อทุกวันโดยเฉพาะในพื้นที่โรงงาน เป็นสิ่งที่ ศบค. กังวล และจากที่ได้รับข้อมูลก่อนหน้านี้ มีการติดเชื้อในโรงงานขนาดใหญ่ที่มีคนงานมากกว่า 200 คน และตอนนี้เริ่มเห็นการติดเชื้อกระจายไปที่โรงงานเล็กๆ ด้วย นอกจากนี้ยังมีรายงานในส่วนของบริษัทผลิตสื่อซึ่งยังไม่ได้นำตัวเลขมารวมไว้เพราะยังอยู่ในขั้นตอนการสอบสวนโรค

ศบค. เผยในต่างประเทศมีการฉีดวัคซีน 2 เข็มต่างยี่ห้อกัน สำหรับผู้มีอาการแพ้รุนแรง ส่วนประเทศไทยกำลังเร่งทำการวิจัย

กรณีที่ชายวัย 51 ปี จ.เชียงใหม่ ได้รับการฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแต่ต่างยี่ห้อกัน โดยเข็มที่ 1 เป็นของซิโนแวค ฉีดเมื่อวันที่ 21 พ.ค. 2564 และเข็มที่ 2 เป็นของแอสตร้าเซนเนก้า ฉีดเมื่อวันที่ 11 มิ.ย. 2564 และเพิ่งทราบว่าตนเองได้ฉีดวัคซีนต่างชนิดกัน หลังจาว่าจะต้องให้ในพื้นที่เป็นผู้ชี้แจงเรื่องนี้

ล่าสุดโรงพยาบาลนครพิงค์ออกมาชี้แจง กรณีมีผู้แจ้งเรื่องการฉีดวัคซีนต่างชนิดกันระหว่างเข็มแรกและเข็มที่ 2 แล้ว ระบุว่า เป็นความคลาดเคลื่อนในการลงบันทึกข้อมูลทางคอมพิวเตอร์เท่านั้น วัคซีนที่ชายคนดังกล่าวได้รับเป็นวัคซีนซิโนแวคทั้ง 2 เข็ม

พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 กล่าวถึงกรณีการฉีดวัคซีนโควิด-19 เข็ม 1 และ 2 ต่างยี่ห้อกันว่า ในต่างประเทศพบว่า ผู้ได้รับการฉีดวัคซีนยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่งเกิดอาการแพ้อย่างรุนแรง แพทย์จึงห้ามไม่ฉีดซ้ำในเข็มที่สอง ทำให้หลายประเทศจึงมีมาตรการจัดหาวัคซีนคนละยี่ห้อ ซึ่งอาจจะเป็นการใช้วัคซีนที่มีวิธีการผลิตต่างกัน เพื่อไม่ให้เกิดการแพ้ การเก็บข้อมูลการใช้วัคซีนคนละยี่ห้อในทางการแพทย์ก็ต้องมีการศึกษาวิจัย ซึ่งในประเทศไทยมีหลายหน่วยงานที่กำลังศึกษาอยู่ ในประเทศเกาหลีและสหรัฐฯ กำลังวิจัยและพยายามศึกษาในเบื้องต้นว่าการวัดภูมิคุ้มกันที่เกิดขึ้นจากคนที่ติดเชื้อโดยธรรมชาติ รวมทั้งการใช้วัคซีนยี่ห้อใดยี่ห้อหนึ่ง เข็ม 1 และ 2 เหมือนกัน และนำมาเทียบกับคนที่ฉีดเข็ม 1 และ 2 คนละยี่ห้อ

ผู้ช่วยโฆษก ศบค. ระบุว่า การศึกษาวิจัยดังกล่าวยังไม่มีผู้ใดสรุปได้ว่าจะมีประสิทธิภาพที่ดีกว่า การให้ฉีดวัคซีนยี่ห้อเดียวกันทั้ง 2 เข็มเป็นเพียงหลักการที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ แต่ในเรื่องของการฉีดวัคซีนเข็ม 1 เข็ม 2 หรือ เข็ม 3 ถือเป็นข้อสังเกตที่น่าสนใจ ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านสาธารณสุขจะได้ศึกษาข้อมูลต่อต่อไป

 

วัคซีนโควิดแอสตร้าฯ ล็อตใหม่มาแล้ว พร้อมกระจายทันที

ขณะที่ นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรงสาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ในวันนี้ทีมงานจากกรมควบคุมโรค จะเดินทางไปตรวจรับวัคซีนป้องกันโควิด-19 จากบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด ล็อตใหม่แล้ว ซึ่งวัคซีนล็อตดังกล่าวผ่านการรับรองรุ่นการผลิต (Lot release) จากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เป็นที่เรียบร้อยแล้ว ฉะนั้น สามารถจัดสรรวัคซีนออกไปฉีดได้ทันที นพ.โอภาส กล่าวว่า ส่วนวัคซีนซิโนแวค ล็อตที่เข้ามาเมื่อวันที่ 10 มิถุนายน จำนวน 1 ล้านโดส ทางกรมควบคุมโรค ยังไม่ได้ตรวจรับวัคซีนจากองค์การเภสัชกรรม (อภ.) แต่คาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จในเร็วๆ นี้

ขอให้มั่นใจว่าเราจะมีวัคซีนฉีดอย่างต่อเนื่อง และข้อมูลการฉีดเมื่อวานนี้มากกว่า 2 แสนโดส ดังนั้น หลังจากนี้ก็จะมีการจัดสรรวัคซีนนำออกไปเพิ่มเติม ตามออเดอร์ของ ศบค.

จ.แม่ฮ่องสอน ไม่พบติดเชื้อโควิด -19 ตลอด 4 สัปดาห์

นายสิธิชัย จินดาหลวง ผู้ว่าราชการจังหวัดแม่ฮ่องสอน ประธานคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดแม่ฮ่องสอน เปิดเผยว่า ขณะนี้จังหวัดแม่ฮ่องสอนไม่พบผู้ป่วยติดเชื้อมาเป็นเวลา 28 วัน หรือ 4 สัปดาห์ติดต่อกัน ซึ่งถือเป็นความร่วมมือร่วมใจของพี่น้องประชาชนหน่วยงาน ที่ช่วยกันดูแล วางแผนยุทธศาสตร์ในการจัดการกับพื้นที่ ร่วมดูแลตัวเองและสังคมอย่างดีเยี่ยม ส่วนจำนวนผู้ติดเชื้อสะสมในระลอกเมษายน 64 คงที่ 49 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านแล้ว 48 ราย คงเหลือผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่จำนวน 1 ราย ย้ายมาจากโรงพยาบาลศรีสังวาลย์ ปัจจุบันรักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลแม่สะเรียง

วันนี้ มีผู้เข้ารับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 ทั้งจังหวัดแม่ฮ่องสอน จำนวน 48 ราย ไม่พบผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มเติม ยอดตรวจทั้งจังหวัด ตั้งแต่ (1 เม.ย.-16 มิ.ย. 64) รวม 4,097 คน สำหรับสถานที่รักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 ระลอกใหม่เมษายน 2564 จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีจำนวนเตียงที่สามารถรองรับ ผู้ป่วยโควิด-19 ได้จำนวน 115 เตียง จากทั้งหมด 116 เตียง

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า