SHARE

คัดลอกแล้ว

กทม. พบผู้ป่วยโควิด-19 สายพันธุ์อินเดีย 404 ราย อธิบดีกรมวิทย์ คาดไม่เกิน 2-3 เดือน สายพันธุ์อินเดียระบาดในไทยแทนสายพันธุ์อังกฤษ เตรียมศึกษาเทียบภูมิคุ้มไวรัสหลังรับวัคซีน

วันที่ 16 มิ.ย. 2564 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พร้อมด้วย นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า จากการเฝ้าระวังและติดตามสายพันธุ์ไวรัสโควิด-19 ตั้งแต่ เม.ย. 2564 จำนวน 5,055 คน พบว่าเป็นสายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) 4,528 คน คิดเป็นร้อยละ 89.6 ส่วนสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) 496 คน หรือร้อยละ 9.8 และสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) พบ 3 คน

สำหรับ การรระบาดของสายพันธุ์เบตา (แอฟริกาใต้) ยังพบอยู่ใน จ.นราธิวาส และกระจายแค่ 3 อำเภอเท่านั้น ส่วนสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) พบว่า มีการระบาดใน กทม. มากที่สุดถึง 404 คน

ส่วนการระบาดในต่างจังหวัดรวม 19 จังหวัด พบ มีความเชื่อมโยงกับ คลัสเตอร์ใน กทม. เช่น แคมป์คนงานก่อสร้างหลักสี่ ล่าสุด จากการตรวจหาสายพันธุ์ในผู้ป่วย พบว่า มีผู้ป่วยนับ 10 คน ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) รักษาอยู่ รพ.กลางกรุง 3-4 แห่ง

ทั้งนี้ จากการติดตามสถานการณ์ของสายพันธุ์ ไวรัสโควิด-19 คาดว่า ภายในไม่เกิน 2-3 เดือน ในประเทศไทย สายพันธุ์เดลตา (อินเดีย) จะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์อัลฟา (อังกฤษ) เนื่องจาก การแพร่ระบาดที่เร็วกว่า ถึงร้อยละ 40

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อไปว่า กรมวิทย์ฯ ยังเตรียมศึกษาวิจัยเรื่องประสิทธิภาพของวัคซีนที่ได้รับมีผลต่อสายพันธุ์ต่างๆ หรือไม่ โดยใช้อาสาสมัคร 200 คน เป็นการเก็บเลือดแล้วมาเพาะกับเชื้อไวรัส ดูภูมิคุ้มกัน พบว่าในส่วนของสายพันธุ์ดั้งเดิม (จีน) เมื่อร่างกายรับวัคซีนซิโนแวค 2 เข็ม เกิดภูมิคุ้มกันได้ 100% แต่เมื่อตรวจสอบกับไวรัสสายพันธุ์อังกฤษ พบมีภูมิขึ้น 50-60% แต่ในส่วนของสายพันธุ์อินเดีย และ แอฟริกาใต้ ยังอยู่ระหว่างการทดสอบดูภูมิคุ้มกันเช่นเดียวกับการติดตามระดับภูมิคุ้มในวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า เมื่อรับไปแล้ว 1 เข็ม

ทั้งนี้ ไม่อยากให้ประชาชนต้องไปเสียเงินตรวจดูภูมิคุ้มกันเองไม่ว่าจะผ่านการตรวจด้วย rapid test หรือเสียเงินเจาะเลือด ไม่จำเป็น โดยการตรวจสอบนี้ กรมวิทย์ จะรับเป็นผู้ศึกษาแทนเอง พร้อมย้ำว่า การศึกษาเรื่องระดับภูมิคุ้มกัน ยังมีผลเกี่ยวข้องกับการย่นระยะเวลาการรับวัคซีนในเข็มถัดไป เบื้องต้นในส่วนของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า กำหนดระยะห่างระหว่างเข็ม 1 และ เข็ม 2 นาน 10-12 สัปดาห์

ด้าน นพ.อาชวินทร์ โรจนวิวัฒน์ ผู้อำนวยการสถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์สาธารณสุข กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า การตรวจหาสายพันธุ์ไม่จำเป็นต้องทำทุกคน จะทำในคนที่มีอาการรุนแรงที่เป็นเคสใส่ท่อช่วยหายใจ หรือเสี่ยงเสียชีวิต, กลุ่มที่พบการระบาดจำนวนมาก และมีความเชื่อมโยงกัน, พื้นที่ที่ไม่มีการระบาด แต่กลับพบเคสคนป่วย และพื้นที่ชายแทน เป็นต้น

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า