SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 17 มิ.ย. 2564 ศูนย์ข้อมูลโควิด-19 รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ประจำวันพบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 3,129 คน เป็นการติดเชื้อทั่วไป 2,672 คน และติดเชื้อในเรือนจำ 457 คน ทำให้ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่ปี 63 เพิ่มเป็น 207,724 คน ขณะที่มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 4,651 คน จำนวนผู้ป่วยรักษาหายสะสม 172,316 คน

วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตพิ่มอีก 30 คน ทำให้ยอดผู้เสียชีวิตสะสมขยับเพิ่มเป็น 1,555 คน ทั้งนี้ในการระบาดรอบใหม่เดือน เม.ย.64 มีผู้ติดเชื้อแล้ว 178,861 คน รักษาหายแล้ว 144,890 คน

พญ.อภิสมัย เปิดเผยว่า พรุ่งนี้ (18 มิ.ย.2564) จะมีการพิจารณาปรับมาตรการบางพื้นที่ ซึ่งอาจมีความเข้มข้นขึ้น โดยเฉพาะพื้นที่ที่มีแคมป์คนงาน 50 เขต รวม 575 แคมป์ทั่วกรุงเทพฯ  มีคนงานประมาณ 79,620 คน เป็นคนไทย 33,432 คน คนต่างชาติ 46,188 คน

ที่ผ่านมา ศบค.ได้ขอความร่วมมือแต่ละแคมป์ให้ศึกษามาตรการป้องกันการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 เมื่อยังทำไม่ได้จึงต้องปรับมาตรการให้เข้มข้นขึ้น โดยจะขอความร่วมมือจากกระทรวงมหาดไทยให้ส่งกำลังทหาร ตำรวจ เข้าควบคุมดูแลพื้นที่แคมป์คนงานทั้ง 575 แห่ง ประชาชนที่อยู่โดยรอบพื้นที่ได้เป็นหูเป็นตาแทนเจ้าหน้าที่ แจ้งเข้ามาว่าการจัดการในโรงงาน, แคมป์ทำผิดมาตรการ ทั้งการตั้งวงดื่มสุรา ตั้งวงเล่นไพ่ บางแคมป์ถูกปิด แต่มีคนงานไปออกด้านนอกซื้อของในตลาด และการที่โรงงาน, ที่พัก, ตลาด และชุมชนมีความเชื่อมโยงกัน ก็จะทำให้ไม่มีความปลอดภัย ถ้าเราไม่สามารถควบคุมการระบาดเชื้อโควิด-19 ในทุกๆ วงได้

ด้านกรมควบคุมโรค รายงานวานนี้ว่าได้ไปตรวจรับการส่งมอบวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ล็อตที่ 2 จำนวน 600,000 โดสที่เข้ามาใหม่ จากยอดทั้งหมดในล็อตนี้มี 1.6 ล้านโดส ส่วนอีก 1 ล้านโดส คาดว่าจะส่งมอบได้ในวันศุกร์วันนี้ ทั้งหมดเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตจากบริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ ประเทศไทย

บริษัท แอสตราเซนเนกา ไทยแลนด์ ออกแถลงการณ์ถึงประสิทธิภาพของวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า ยืนยันว่ามีประสิทธิภาพป้องกันโควิดสายพันธุ์เดลตา หรือ สายพันธุ์อินเดียได้ถึง 64% และป้องกันสายพันธุ์อัลฟาได้ 74% และหลังฉีดวัคซีนครบ 2 เข็มแล้ว จะให้ประสิทธิผลสูงถึง 92% ลดอาการหนักและไม่เสียชีวิตถ้าติดเชื้อสายพันธุ์เดลตา

สำหรับประเทศไทยพบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาแล้ว 496 คน และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น เพราะมีการแพร่ระบาดจะไวกว่าสายพันธุ์อัลฟาหรือสายพันธุ์อังกฤษถึง 40%

 

กระทรวงสาธารณสุขย้ำว่าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนพร้อมตรวจสอบป้องกันอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน
กระทรวงสาธารณสุขย้ำว่าให้ความสำคัญกับความปลอดภัยของประชาชนพร้อมตรวจสอบป้องกันอาการไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีน

นายแพทย์ เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค ได้ให้ข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับการฉีดวัคซีนว่าขณะนี้ ได้ฉีดวัคซีนไปแล้วทั้งสิ้นกว่า 7 ล้านโดส ถือว่าเป็นจำนวนที่มากพอสมควร ตั้งแต่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 โดยแบ่งได้ ดังนี้
– วัคซีนซิโนแวค ฉีดสะสมจำนวน 3,214,385 โดส โดยมีอาการไม่พึงประสงค์ที่มีอาการและต้องรับรักษาเป็นผู้ป่วยในจำนวน 993 ราย คิดเป็นอัตราผู้มีอาการ 20 รายต่อการฉีดแสนโดส ทั้งนี้ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ เวียนศีรษะ 20% คลื่นไส้ 15% ปวดศีรษะ 12% อาเจียน 8% ผื่น 7% ปวดกล้ามเนื้อ 6% ท้องเสีย 5% และคัน 4%
– วัคซีนแอสตร้าเซเนก้า ฉีดสะสมจำนวน 1,943,693 โดส โดยมีอาการไม่พึงประสงค์ที่ต้องเข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยใน 472 ราย คิดเป็นอัตราผู้มีอาการ 24 รายต่อการฉีดแสนโดส ถือว่ามีจำนวนมากกว่าซิโนแวคเล็กน้อย ทั้งนี้ อาการที่พบบ่อย ได้แก่ ไข้ 31% ปวดศีรษะ 27% เวียนศีรษะ 21% คลื่นไส้ 21% อาเจียน 20% ปวดกล้ามเนื้อ 15% อ่อนเพลีย 13% และถ่ายเหลว 7%
เมื่อวาน (16 มิถุนายน 2564) คณะผู้เชี่ยวชาญส่วนกลาง (คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ ภายหลังการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค) ได้มีการประชุมเพื่อพิจารณาเกี่ยวกับการเสียชีวิตภายหลังได้รับวัคซีน จำนวน 68 ราย โดยมีจำนวนที่พิจารณาโดยผู้เชี่ยวชาญแล้ว 13 ราย โดยไม่มีรายใดเกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีนทั้งหมดเป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวกับวัคซีน (coincidential event) ทั้งนี้แบ่งเป็น กล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน 8 ราย, การเป็นจ้ำเลือด 1 ราย, ลิ่มเลือดอุดตันในปอด 1 ราย, เยื่อสมองอักเสบเป็นหนอง 1 ราย, เลือดออกในช่องท้อง 1 ราย และเลือดออกในสมองเนื่องจากความผิดปกติของเส้นเลือดสมอง 1 ราย ทั้งนี้ เหลือจำนวนผู้เสียชีวิตที่อยู่ระหว่างการสอบสวนโรค หรือชันสูตรศพอีก 55 ราย

ทั้งนี้ คณะผู้เชี่ยวชาญพิจารณาเหตุการณ์ไม่พึงประสงค์ภายหลังการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรคมีการพิจารณาแบ่งผลการพิจารณาเป็นประเภท ดังนี้ 1. เกี่ยวข้องกับวัคซีน 2. เกี่ยวข้องกับคุณภาพของวัคซีน 3. เกี่ยวข้องกับการให้บริการการฉีดวัคซีน 4. เกี่ยวข้องกับการฉีดวัคซีน 5. เป็นเหตุการณ์ร่วมที่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีนแต่บังเอิญเกิดร่วมกัน 6. ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีน และ 7. ข้อมูลไม่เพียงพอที่จะสรุป
นายแพทย์ เฉวตสรรฯ ได้ยกตัวอย่างว่าการเฝ้าระวังอาการไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนมีในทุกประเทศ ยกตัวอย่าง สหรัฐอเมริกา ซึ่งมีประชากรประมาณ 328 ล้านโดส อัตราการเสียชีวิตปีละ 3.3 ล้านคน ขณะนี้ฉีดวัคซีนแล้ว 312 ล้านโดส มีรายงานการเสียชีวิตหลังได้รับวัคซีน ตั้งแต่ 14 ธันวาคม 63 – 3 พฤษภาคม 64 (ฉีดวัคซีน 259 ล้านโดส) จำนวนผู้เสียชีวิต 4,173 ราย โดยคณะผู้เชี่ยวชาญที่ได้ตรวจสอบภายหลัง สรุปว่า ไม่ได้มีสาเหตุมาจากวัคซีนโควิด-19 แต่อย่างใด

เช่นเดียวกับประเทศไทย ซึ่งมีประชากรประมาณ 70 ล้านคน ข้อมูลการเสียชีวิตประมาณปีละ 5 แสนกว่าคน ซึ่งในการพิสูจน์สาเหตุของกรรมการหลายกรณีอาจต้องเทียบกับอัตราการเสียชีวิตของสาเหตุนั้น ๆ หรืออัตราการเสียชีวิตภาพรวมของประเทศไทย เพื่อช่วยสรุปว่าอัตราการตายเพิ่มขึ้นหรือเกี่ยวโยงภายหลังจากมีการเริ่มฉีดวัคซีนหรือเปล่า

นายแพทย์ เฉวตสรรฯ ยืนยันว่ากระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยของพี่น้องประชาชน หากมีข้อมูลใดต้องนำมาพิสูจน์ทราบเพื่อให้เกิดความชัดเจน เราจะพยายามอย่างเต็มที่ที่สุดเพื่อข้อสรุปที่น่าเชื่อถือ ตอนนี้วัคซีนยังถือว่ามีความปลอดภัย เช่นเดียวกับวัคซีนหลายยี่ห้อที่ฉีดทั่วโลก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า