Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เผยประสิทธิผลการใช้จริงวัคซีน ‘ซิโนแวค’ พบยังป้องกันการติดเชื้อโควิด-19 กว่าร้อยละ 90 ลดปอดอักเสบร้อยละ 85 ในสายพันธุ์อัลฟา ส่วนสายพันธุ์เดลตา ประสิทธิผลการใช้จริงยังคงตัว แต่ต้องปรับสูตรฉีดวัคซีนผสมเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันมากขึ้น

วันที่ 19 ก.ค. 2564 นพ.ทวีทรัพย์ ศิรประภาศิริ นายแพทย์ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึง ประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 ว่า จากการศึกษาประสิทธิผลวัคซีนโควิด-19 สถานการณ์จริงในประเทศไทย 4 การศึกษา ดังนี้

1. จ.ภูเก็ต เป็นการศึกษาติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงในช่วงเดือน เม.ย-พ.ค. 2564 จำนวนกว่า 1,500 ราย พบการติดเชื้อ 124 ราย เมื่อเปรียบเทียบเปอร์เซ็นต์การติดเชื้อระหว่างผู้รับวัคซีนและไม่ได้รับวัคซีน พบว่าประสิทธิผลช่วยป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 90.7

2. จ.สมุทรสาคร เป็นการติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูงเช่นกันกว่า 500 ราย ช่วง เม.ย. 2564 พบติดเชื้อ 116 ราย ประสิทธิผลป้องกันติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 90.5

3. จ.เชียงราย เป็นการศึกษากรณีพบการติดเชื้อในบุคลากรสาธารณสุข ช่วงเดือน มิ.ย. 2564 โดยศึกษาบุคลากรกว่า 500 ราย พบการติดเชื้อ 40 ราย และยังได้ติดตามความรุนแรงเรื่องปอดอักเสบ เมื่อเปรียบเทียบข้อมูลพบว่า ประสิทธิผลของซิโนแวค 2 เข็มป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 88.8 และป้องกันปอดอักเสบอยู่ที่ร้อยละ 84.9 ส่วนบุคลากรที่ได้รับแอสตร้าเซนเนก้า 1 เข็ม ครบ 14 วัน ป้องกันการติดเชื้ออยู่ที่ร้อยละ 83.8

4. กรมควบคุมโรค ใช้ฐานข้อมูลติดตามบุคลากรสาธารณสุข ที่ติดเชื้อทั้งประเทศและข้อมูลการรับวัคซีน ช่วงเวลาตั้งแต่ 1 พ.ค.-30 มิ.ย. 2564 พบว่า ประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 71 ช่วงเดือน พ.ค. 2564 ที่มีการระบาดของสายพันธุ์อัลฟา และประสิทธิผลอยู่ที่ร้อยละ 75 ช่วงเดือน มิ.ย. 2564 ที่เริ่มมีการระบาดของสายพันธุ์เดลตา แทนสายพันธุ์อัลฟา ประมาณร้อยละ 20-40

ทั้งนี้ ผลการศึกษาทั้งหมดตั้งแต่ช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. 2564 ซึ่งเป็นสายพันธุ์อัลฟาเกือบทั้งหมด พบว่า ประสิทธิผลของ ‘ซิโนแวค’ หากได้ครบ 2 เข็ม ยังมีประสิทธิผลดีพอสมควร คือ ป้องกันติดเชื้อประมาณร้อยละ 90 และป้องกันปอดอักเสบได้ร้อยละ 85 ส่วนประสิทธิผลต่อสายพันธุ์เดลตา ข้อมูลที่ศึกษาโดยกรมควบคุมโรคในขณะนี้ ถือว่ายังคงที่คือ ร้อยละ 75 ไม่ต่างจากเดิมที่ร้อยละ 71

ซึ่งวัคซีนที่ประเทศไทยใช้อยู่ปัจจุบันถือว่ามีความปลอดภัย และมีประสิทธิผลสูง โดยเฉพาะสายพันธุ์อัลฟา ส่วนการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ที่ระบาดมีสัดส่วนของสายพันธุ์เดลตาที่สูงขึ้นรวดเร็ว ข้อมูลการศึกษาภาคสนามกรมควบคุมโรคยังไม่พบว่าประสิทธิผลของวัคซีนลดลง

อย่างไรก็ตาม จากการศึกษาทางห้องปฏิบัติการพบว่า การฉีดเข็มกระตุ้น และการฉีดสลับประเภทของวัคซีนในกรณีที่เดิมเป็นการใช้วัคซีนเชื้อตายแบบ ‘ซิโนแวค’ จะสามารถเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันให้ได้สูงกว่าเดิมได้รวดเร็วและสูงมากขึ้น จึงทำให้มีการปรับนโยบายวิธีการฉีดวัคซีนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพให้กับวัคซีนที่มีอยู่ให้สูงขึ้น โดยบุคลากรสาธารณสุขที่ฉีดวัคซีนครบแล้วมีการเพิ่มเข็มกระตุ้น และประชาชนทั่วไป ใช้การฉีดสลับประเภทในกรณีที่เดิมได้รับวัคซีน ‘ซิโนแวค’

ทั้งนี้ เพื่อสามารถรับมือการระบาดของสายพันธุ์เดลตาล่วงหน้าได้มีประสิทธิภาพกว่าเดิม โดยไม่ได้หมายความว่า วัคซีนเดิมไม่มีประสิทธิผลแต่ประการใด

นพ.ทวีทรัพย์ กล่าวต่อว่า ในสถานการณ์ที่ทั่วโลกยังมีความจำกัดของวัคซีน ประเทศไทยยังมีความจำเป็นและควรใช้วัคซีน ‘ซิโนแวค’ ต่อไป เนื่องจากวัคซีน ‘ซิโนแวค’ ถือว่ายังมีประสิทธิผลดี ดังผลการศึกษาประสิทธิผลในประเทศ และยังสามารถจัดหาได้เร็ว ปริมาณพอสมควรได้โดยไม่ต้องรอถึงไตรมาส 4 หรือปีหน้า ที่อาจทำให้ไม่ทันการณ์ต่อการป้องกันควบคุมการระบาดในขณะนี้ สถานการณ์การขาดแคลนวัคซีนเป็นไปเช่นเดียวกับประเทศอื่นๆ ทั่วโลก ประเทศไทยมีความพยายามในการจัดหาวัคซีนอย่างต่อเนื่อง

ล่าสุด สามารถตกลงที่จะนำวัคซีน mRNA คือ วัคซีนไฟเซอร์ เข้ามาเพิ่มเป็นวัคซีนหลักอีกชนิดหนึ่งของประเทศไทย จำนวน 20 ล้านโดส โดยบริษัทคาดว่า สามารถจัดส่งให้ช่วงไตรมาส 4 คือ หลังเดือน ต.ค. 2564 เป็นต้นไป

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า