Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

จากการรายงานสถานการณ์ไวรัส COVID-19 ประจำวันที่ 7 มี.ค. 63 พบว่าจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม 38 ราย ซึ่งลดลงจากช่วงก่อนหน้านี้ แม้ว่า นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 จะแถลงว่า เหตุผลที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงมาจาก การประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน การประกาศเคอร์ฟิว และการที่ประชาชนลดกิจกรรมในบ้าน นอกบ้าน

ประเทศไทยตรวจน้อยเลยรายงานผู้ติดเชื้อน้อยหรือเปล่า

มีคำถามและข้อสงสัยว่ามาจากการตรวจที่น้อย เพราะเกณฑ์การตรวจเข้าถึงยากหรือไม่ จึงทำให้พบผู้ติดเชื้อน้อยลง ขณะที่เว็บไซต์ worldometers.info เองก็รายงานข้อมูลเมื่อวันที่ 6 เม.ย. ที่ผ่านมาว่า ประเทศไทยตรวจโควิด-19 ไปทั้งสิ้น 25,071 ตัวอย่าง คิดเป็น 359 ตัวอย่างต่อประชากร 1,000,000 คน พบผู้ป่วย 2,220 คน หรือ คิดเป็นร้อยละ 8.85

นพ.ทวีศิลป์ ชี้แจงว่า การรายงานตัวเลขผู้รับการตรวจหาเชื้อโควิด-19 สะสม ที่เว็บไซต์ดังกล่าวนำเสนอ มาจากรายงานจากเว็บไซต์ของกระทรวงสาธารณสุข ที่ไม่ได้นำข้อมูลจากโรงพยาบาลทั่วประเทศมาอัปเดต

ในการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ช่วงเช้าที่ผ่านมา มีการท้วงติง ซักถาม เรื่องยอดตัวเลขผู้รับการตรวจสะสมเป็นอย่างมาก ซึ่งมองดูแล้วก็ไม่ใช่ตัวเลขการตรวจที่แท้จริง จึงมีการหารือกันว่าจะต้องรายงานข้อมูลที่แท้จริง เพราะมีสื่อหลายที่นำไปอ้างอิงแล้วเกิดความเข้าใจผิดพลาด ทำให้ขาดความน่าเชื่อถือ เพราะจริง ๆ ตรวจเยอะกว่านั้นแต่ Under report อยู่ (มีข้อมูลแต่ไม่ถูกนำมารายงาน) ยืนยันว่า ไม่ใช่เป็นการปิดข่าวอย่างแน่นอน แต่หลังจากนี้จะเก็บข้อมูลให้ครบถ้วน เพื่อนำมารายงาน และจะเพิ่มการตรวจให้มากขึ้นหลังจากนี้

“มีแพทย์ จากโรงพยาบาลรามาธิบดี บอกว่าเฉพาะของเขาแห่งเดียว ตั้งแต่มีการตรวจมา ยอดสะสมก็เกิน 28,000 รายแล้ว แต่ทีนี้การอัพเดตของกระทรวงสาธารณสุข ไม่อัพเดตข้อมูลนี้ ทำให้เกิดการท้วงติงกันว่าเราควรมีคำตอบให้กับสังคม ส่วนข้อมูลที่ผมพูดไปว่า 70,000 กว่ารายในยอดตรวจสะสม ของการแถลงเป็นตัวเลขที่ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานมาด้วยวาจา ซึ่งยังไม่ชัดเจนว่าเป็นตัวเลขสะสมของกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ หรือที่อื่นด้วย ทั้งนี้จะต้องรอการยืนยันก่อน แต่ที่แน่ ๆ ตรวจมากกว่า 20,000 แน่นอน” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

สำหรับเกณฑ์การตรวจ ที่มองว่าเกณฑ์สูงเกินไป นพ.ทวีศิลป์ ระบุว่า อยู่ระหว่างการเรียบเรียงหลักเกณฑ์ที่ปรับปรุงขึ้นใหม่ ซึ่งเตรียมรายงานในการแถลงของ ศบค. ในวันพรุ่งนี้ (8 เม.ย.63)

ข้อสงสัยว่ามีผู้ป่วยโรคปอดเพิ่มมากขึ้นอย่างมีนัยยะสำคัญหรือไม่

โฆษก ศบค. ชี้แจงว่า ตามหลักระบบการรายงานของโรคติดเชื้อ จะมีรายงานไปตามกลุ่มโรคนั้น ๆ เช่น โรคปอดจากเชื้อวัณโรค โรคไข้หวัดใหญ่ ซึ่งโรคเหล่านี้ตรวจง่ายอยู่แล้ว เมื่อพบก็จะทำการรายงานตามกลุ่มโรคนั้นไป เพราะหากป่วยแล้วพบว่ามีเชื้อ COVID-19 จริง แพทย์ก็ต้องรายงาน เพราะตอนนี้แพทย์เองก็กลัวและต้องป้องกันตัวเองเช่นกัน ดังนั้นหากตรวจพบจะไม่มีทางปกปิดข้อมูลแน่นอน

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า