Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ท่ามกลางสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ที่ปัจจุบันยังไม่มีท่าทีที่จะดีขึ้น อีกทั้งยังมีไวรัสกลายพันธุ์ จนวัคซีนปัจจุบันอาจมีประสิทธิภาพไม่เพียงพอต่อการต้านทานโรค ขณะที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตเริ่มแตะนิวไฮบ่อยขึ้น ทำให้ระบบสาธารณสุขกำลังเข้าขั้นวิกฤต นอกจากนี้ ผลพวงจากสถานการณ์โควิด-19 ยังส่งผลกระทบต่อปากท้องของคนอีกหลายชีวิต หลายอาชีพ

workpointTODAY สำรวจชีวิตประชาชนในย่านรังสิต หลังจากราชกิจจานุเบกษา ประกาศข้อกำหนดสถานการณ์ฉุกเฉิน เพื่อสกัดการแพร่ระบาดโควิด-19 ปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุด-เข้มงวด สีแดงเข้ม 10 จังหวัด คือ กรุงเทพมหานคร ปริมณฑลและ 4 จังหวัดภาคใต้ ให้ปิดแคมป์คนงานก่อสร้าง งดการเดินทางและเคลื่อนย้ายแรงงานเป็นเวลา 1 เดือน มีผล 28 มิ.ย. 2564

“พนักงานอย่างพี่ ก็รายได้รายชั่วโมง หยุดงานไปก็คือไม่ได้เลย”

ร้านนวดแห่งหนึ่งที่ปิดร้านไปเกือบเดือน กลับมาเปิดอีกครั้งท่ามกลางความไม่แน่นอนของมาตรการจากภาครัฐ แม้ว่าประกาศปรับพื้นที่ควบคุมสูงสุดครั้งนี้ ‘ร้านนวด’ จะไม่ได้รับผลกระทบโดยตรง แต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่า ไม่ได้รับผลกระทบเลย เพราะลูกค้าที่มาใช้บริการนวดเพื่อผ่อนคลาย บางตาลงอย่างเห็นได้ชัด

แต่ในวันนี้ที่ร้านเปิดให้บริการ พนักงานยังคงสวมชุดเต็มยศ ขะมักเขม้นตระเตรียมอุปกรณ์เพื่อเตรียมบริการลูกค้าอย่างเต็มกำลัง

พนักงานร้านนวดบอกกับเราว่า ร้านนวดแห่งนี้ เป็น 1 ใน 4 สาขาที่ต้องกลับมาเปิดอีกครั้ง เพราะมีค่าเช่าที่ต้องแบกรับกว่าเดือนละ 500,000 บาท ขณะที่ชีวิตพนักงาน ต่างก็มีค่าใช้จ่าย ต้องส่งเสียและดูแลครอบครัว

“อย่างเราชนะ คนละครึ่ง ไม่มีประโยชน์หรอก อย่างคนละครึ่งเราก็ต้องหาเงินมาเติมอยู่ดี”

หนึ่งในพนักงานร้านได้เล่าถึงมาตรการเยียวยาจากทางภาครัฐที่เหมือนจะไม่ได้ช่วยให้ชีวิตผ่านพ้นช่วงสถานการณ์โควิด-19 ได้ดีขึ้น พร้อมบอกกล่าวถึงเรื่องการเข้าถึงวัคซีน ที่จนถึงขณะนี้ระบบการจองยังแจ้งข้อมูลไม่ชัดเจน

         “วัคซีนพี่ๆ ก็จองไปแล้ว ได้คิวมาลำดับสี่หมื่นกว่า แต่ก็ไม่รู้ได้ฉีดวันไหน อย่างพี่คนนี้ก็ไปฉีดพรุ่งนี้ แต่ของพี่ไม่รู้เลย”

ระหว่างการสนทนาที่เดินทางมาถึงช่วงท้าย พนักงานได้บอกว่า อยากฝากส่งเสียงไปยังภาครัฐ ถึงมาตรการเยียวยาสำหรับลูกจ้างที่ได้ค่าแรงรายวัน และเล่าถึงการปรับตัวในช่วงนี้ที่ต้องประหยัดค่าใช้จ่าย

“อยากให้พักชำระหนี้ พวกไฟแนนซ์  พี่ๆ ก็เป็นลูกจ้างรายวัน ค่าแรงรายชั่วโมง … ช่วงนี้ก็ประหยัด เนี่ยกลางวันเดี๋ยวตำส้มตำกิน ไข่ต้ม ลองไปถามร้านอาหารแถวๆ นี้ ก็ได้รับผลกระทบเหมือนกัน คนบางตา”

นอกจากพนักงานร้านนวดแล้ว ร้านขายน้ำเล็กๆ แห่งหนึ่ง ของคุณป้าสุคน อายุกว่า 60 ปี ยังคงยืนขายน้ำปั่นและชา กาแฟ อยู่ใต้หอพักของนักศึกษา ที่วันนี้ลูกค้าบางตาลงเช่นกัน

         “คือถ้าเทียบจากเมื่อก่อนตอนนี้ก็เหลือ 1 ใน 4 ทั้งรายได้ ทั้งลูกค้า ยังดีที่ป้าไม่มีภาระมาก ยังดีที่เขาลดค่าเช่าให้ครึ่งนึง เรื่องรายได้ กำไร ตอนนี้ไม่สน เอาแค่ขายพอให้ได้เงินต่อวันพอ”

         ป้าสุคน เล่าให้ฟังขณะที่มือกำลังชงชามะนาวอย่างคล่องแคล่ว ท่ามกลางบรรยากาศที่เงียบเหงา

“ป้ามีลูกชาย แต่ตอนนี้ลาออกจากงาน ตอนแรกทำงานโรงแรม เขาก็ทยอยลดคน จนเหลือหนึ่งคนต่อแผนก เงินเดือนก็ลดเหลือ 4,000 กว่าบาทจาก 20,000 กว่า คราวนี้คนมันน้อย งานก็หนัก ก็ทนไม่ไหว เงินเดือนก็น้อย ก็ต้องลาออก”

ส่วนร้านขายน้ำแห่งนี้ มีนักศึกษาเป็นลูกค้าประจำและรู้ว่าร้านจะเปิดทุกวัน ก็จะแวะเวียนมาซื้อ แต่ตอนนี้ลูกค้าบางตาลง และไม่กี่วันที่ผ่านมาก็เริ่มมีการทยอยขนของกลับบ้าน ซึ่งป้าสุคนบอกว่า ตั้งใจจะเปิดไปเรื่อยๆ แม้สถานการณ์จะเป็นแบบนี้ ให้พอมีรายได้บ้าง

ในส่วนของการเยียวยา ป้าสุคนบอกว่า ไม่ได้สิทธิ์เราชนะ หรือ ม.33 ต้องอาศัยบัญชีของยาย (คุณแม่) ที่ได้แบ่งมาใช้จ่าย คุณป้ายังกล่าวถึงวัคซีนว่ายังมีความเชื่อมั่น แม้จะทราบข่าวไม่คอยดีแต่เราก็ต้องไปฉีดเพื่อช่วยลดการระบาด ตอนนี้ได้จองผ่านโครงการไทยร่วมใจ ซึ่งก็จะได้รับคิวฉีดในเดือนกรกฎาคมที่จะถึงนี้

ในขณะอีกหนึ่งอาชีพที่เรียกเป็นคนกลางคืน อย่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย คุณลุงมนตรีได้ให้สัมภาษณ์ขณะกำลังตรวจตราความเรียบร้อยยามค่ำคืน ต่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่เขากำลังเผชิญอยู่

“วัคซีนไม่ได้จอง ฉีดแล้วก็ติด คนตายเยอะอีก จะฉีดทำไม ผมเลยป้องกันตัวเองดีกว่า”

นี่คือเสียงสะท้อนจากคุณลุงมนตรี เจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัยของหอพักหนึ่งหนึ่งย่านรังสิตที่ยังไม่มั่นใจกับความปลอดภัยของวัคซีน

ลุงมนตรียังเล่าว่าสถานการณ์โควิด-19 ที่ผ่านมาต้องประคองค่าใช้จ่ายจำนวนมาก ผนวกกับสถานการณ์ที่ผ่านมา เจ้าของได้มีมาตรการลดคนทำงาน สลับกันไป ทำให้รายได้ที่เป็นค่าจ้างรายวันต้องลดลงไปด้วย

“อย่างผมก็มีครอบครัว มีแม่ พี่สาวที่โดนออกจากงานเมื่อช่วงโควิดตอนแรกๆ มีลูก ต้องส่งหลายทาง”

ในขณะที่อาชีพอย่างเจ้าหน้าที่รักษาความปลอดภัย ที่ขึ้นตรงกับบริษัทนั้น ถือว่าเป็นผู้ประกันตนตามมาตรา 33 ลุงมนตรีจึงไม่ได้สิทธิโครงการเราชนะที่จ่ายเงินช่วยเหลือค่าครองชีพ 7,000 บาท ที่ผ่านมาอาศัยเพียง เงินจากโครงการ ม.33 เดือนละ 2,000 บาท มาใช้จ่ายในครอบครัว ขณะที่ลูกคนเล็กกำลังอยู่ชั้น ป.5 ซึ่งต้องมีค่าใช้จ่ายจำนวนมาก

นี่เป็นเพียงเสียงส่วนหนึ่งของคนตัวเล็กๆ จากหลายหลายอาชีพ ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ต่างคนยังคงรอคอยด้วยความหวัง ให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้นโดยเร็ว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า