SHARE

คัดลอกแล้ว

ต้องเรียกว่าเคราะห์ซ้ำกรรมซัด เพราะแม้แต่ในเฮือกสุดท้ายของปี ‘ท่องเที่ยวไทย’ ก็ยังไม่อาจหายใจได้เต็มปอด เมื่อโควิด-19 ปะทุขึ้นอีกครั้งในพื้นที่สมุทรสาครและเริ่มส่งผลกับความรู้สึกในการออกเดินทางท่องเที่ยวของคนไทย

แม้ ‘ยุทธศักดิ์ สุภสร’ ผู้ว่าการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) จะยืนยันว่า ททท.ยังไม่ได้รับรายงานตัวเลขการยกเลิกการจองห้องพัก แต่ก็ยอมรับว่าในปีนี้ประเทศไทยจะสามารถผลักดันจำนวนไทยเที่ยวไทยให้ขึ้นไปถึง 95 ล้านคน-ครั้งเท่านั้นจากโอกาสในการผลักดันตัวเลขขึ้นไปแตะ 100 ล้านคน-ครั้งตามเป้าหมาย เพราะการระบาดระลอกใหม่ในพื้นที่สมุทรสาครส่งผลต่อการจัดงานเฉลิมฉลองปีใหม่ในพื้นที่ต่างๆ ทั้งกรุงเทพฯ และต่างจังหวัดที่ยังอยู่ระหว่างการตัดสินใจ

โดย ททท.เชื่อว่าหากมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นในพื้นที่ต่างๆ จริงก็อาจจะส่งผลกระทบต่ออารมณ์ของนักท่องเที่ยว แต่ถึงอย่างนั้นก็คาดว่าไม่น่าจะส่งผลถึงภาพการท่องเที่ยวในปีหน้า เพราะประเทศไทยก็จะต้องปรับตัวอยู่กับโควิด-19 ให้ได้เหมือนกับประเทศอื่นๆ

แต่ความหวั่นใจของคนไทยก็เริ่มปรากฎ

‘ชำนาญ ศรีสวัสดิ์’ ประธานสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) เปิดเผยว่า หลังจากข่าวการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 ระลอกใหม่ได้เผยแพร่ออกไปก็สร้างความกังวลใจในหมู่นักท่องเที่ยวไทยบางส่วน ทำให้มีการติดต่อเข้ามาสอบถามเข้ามาต่อเนื่องว่าด้วยสถานการณ์ปัจจุบันจะยังคงเดินทางท่องเที่ยวได้ตามปกติหรือไม่ ในขณะที่นักท่องเที่ยวบางส่วนก็ตัดสินใจยกเลิกการจองหรือเลื่อนวันเดินทางออกไปก่อน โดยแม้จะมีจำนวนไม่มากนัก แต่ก็มีให้เห็น

ในขณะที่ ‘มาริสา สุโกศล หนุนภักดี’ นายกสมาคมโรงแรมไทย ยอมรับว่า มีการเลื่อนและยกเลิกการจองบางส่วนจากลูกค้าในกลุ่มประชุมสัมมนาที่จะต้องเดินทางเป็นกลุ่มใหญ่ แต่ในส่วนของการเดินทางเพื่อพักผ่อนหย่อนใจ (leisure) ยังคงมีสถานการณ์ใกล้เคียงกับช่วงปกติ มียกเลิกบ้างแต่เป็นส่วนน้อยมาก และมีการชะลอการจองที่พักล่วงหน้า เนื่องจากติดปัญหาการตรวจสอบทุจริตมากกว่า

“ส่วนตัวเชื่อว่าฝากความหวังไว้ที่สาธารณสุขว่าจะสามารถยุติการแพร่ระยาด ควบคุม และติดตามได้เป็นผล มั่นใจว่าตราบใดที่สาธารณสุขสามารถควบคุมให้ไม่มีการแพร่บาดเพิ่มเติมจนถึงขั้นล็อกดาวน์ คนไทยก็จะยังคงมีอารมณ์ท่องเที่ยว”

แต่คำถามคือถ้าไม่ล่ะ?

จากการคาดการณ์ของ ททท. เมื่อกลางปีที่ผ่านมา ระบุสถานการณ์ฟื้นตัวทางการท่องเที่ยวของไทยไว้ 3 รูปแบบ ได้แก่ (1) ฟื้นตัวเร็ว (2) ฟื้นตัวปานกลาง และ (3) ฟื้นตัวช้า

โดยหากประเทศไทยต้องการจะเข้าสู่สถานการณ์ที่ดีที่สุด (1) ฟื้นตัวเร็ว ประเทศไทยจะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศและสามารถกระตุ้นการเดินทางของคนไทยผ่านมาตรการต่างๆ ได้ตั้งแต่ช่วงต้นปี 2564 และตลาดต่างชาติต้องสามารถฟื้นตัวได้ในช่วงไตรมาส 2 ของปี 2564

แต่ถ้าหากสถานการณ์ทางเศรษฐกิจไม่ดีนักก็อาจจะต้องขยับไปเป็นสถานการณ์แบบที่ (2) ฟื้นตัวปานกลาง โดยแม้ภาวะเศรษฐกิจจะยังไม่ฟื้นฟูกลับมาตามปกติ แต่ประเทศไทยจะต้องไม่มีผู้ติดเชื้อภายในประเทศ และตลาดต่างชาติจะต้องสามารถเดินทางเข้าสู่ประเทศไทยได้ในช่วงไตรมาส 3 ของปี 2564

จึงหมายความว่าหากจะให้เข้ากับคาดการณ์ทั้ง 2 รูปแบบข้างต้นที่ ททท.เดาไว้ คลัสเตอร์สมุทรสาครจะต้องจบลงในเดือนธันวาคมนี้เท่านั้น

แต่ถ้าหากว่าประเทศไทยประสบเหตุจำเป็นต้องล็อกดาวน์บางจังหวัด ไม่ว่าจะเป็นจังหวัดท่องเที่ยวหลักหรือรอง หรือจังหวัดที่ติดกับประเทศเพื่อนบ้านและมีศักยภาพในการรองรับการท่องเที่ยว โดยไม่ต้องพูดถึงเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานครหรือปริมณฑลอย่างสมุทรสาคร ประเทศไทยก็จะก้าวเข้าสู่สถานการณ์ที่แย่ที่สุด (worst case scenerio) หรือรูปแบบ (3) ฟื้นตัวช้า และไม่สามารถเปิดประเทศต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติได้จนกว่าจะถึงไตรมาส 4 ของปี 2564

โดยสถานการณ์คาดการณ์ทั้ง 3 รูปแบบ ส่งผลต่อรายได้จากการท่องเที่ยวที่แตกต่างกันมหาศาล เพราะหากสถานการณ์ฟื้นตัวเร็ว ไทยจะสามารถเก็บรายได้จากการท่องเที่ยว 1,525,300 ล้านบาท เติบโตขึ้น 105% จากปี 2563 ในขณะที่ถ้าสถานการณ์แย่ที่สุดไทยจะเก็บรายได้จากการท่องเที่ยวเพียง 675,700 ล้านบาท ลดลงจากปีนี้อีก 9% ห่างกันเกินกว่า 2 เท่า

โดยไม่รู้ว่าในรายได้ที่หายไปนั้นมีอาชีพและชีวิตของผู้ประกอบการท่องเที่ยวและแรงงานภาคท่องเที่ยวมากน้อยแค่ไหน

อ้างอิง https://www.prachachat.net/tourism/news-503144

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า