SHARE

คัดลอกแล้ว

workpointTODAY ค้นข้อมูลการฉีดวัคซีนโควิด-19 ของไทย เฉพาะเข็ม 1 และเข็ม 2 โดยแบ่งตามยี่ห้อวัคซีนและจำนวนการฉีดในแต่ละเดือน พบข้อมูลล่าสุดวันที่ 28 ก.พ. – 4 ก.ย. 64 ไทยฉีดวัคซีนเข็ม 1 ไปแล้ว 25,104,942 โดส แบ่งเป็น Sinovac 46.79% AstraZeneca 39.65% Sinopharm 12.05% และ Pfizer 1.50%

ขณะที่เข็ม 2 ฉีดไปแล้ว 9,879,371 โดส แบ่งเป็น Sinovac 35.21% AstraZeneca 51.37% Sinopharm 12.52% และ Pfizer 0.90%

แม้จำนวนการฉีดวัคซีนในแต่ละเดือนจะมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จากเฉลี่ยวันละ 200,000 โดส ช่วงเดือน มิ.ย. เป็นเฉลี่ยวันละ 460,000 โดส ช่วงเดือน ส.ค. และเพิ่มขึ้นเป็นเฉลี่ยวันละ 740,000 โดส ช่วงวันที่ 1 – 4 ก.ย. ซึ่งสะท้อนว่าระบบสาธารณสุขไทยมีศักยภาพในการฉีดวัคซีนสูง แต่ประเด็นที่น่ากังวลคือวัคซีนที่ฉีดไปแล้วจะสามารถป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะไวรัสกลายพันธุ์ได้แค่ไหน

จำนวนการฉีดวัคซีนวัคซีนแต่ละเดือน (28 ก.พ. – 4 ก.ย. 64)

เนื่องจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ระลอก 2 ช่วงเดือน ธ.ค. 63 – ก.พ. 64 ทำให้รัฐบาลต้องนำเข้าวัคซีนเร่งด่วน จากเดิมที่เตรียม Kick off ฉีดวัคซีนช่วงกลางปี 2564 ดังนั้นระหว่างวันที่ 28 ก.พ. – สิ้นเดือน พ.ค. ไทยจึงเริ่มฉีดวัคซีนไปได้เพียง 3,664,859 โดส หรือเฉลี่ยวันละ 39,407 โดส แบ่งเป็นเข็ม 1 ประมาณ 2.5 ล้านโดส โดย 95% ของเข็ม 1 (2.4 ล้านโดส) เป็นวัคซีน Sinovac ส่วนเข็ม 2 ฉีดไปประมาณ 1.1 ล้านโดส เกือบ 100% เป็นวัคซีน Sinovac เช่นกัน

ต่อมา มิ.ย. 64 หรือจุด Kick off เริ่มฉีดวัคซีนตามแผนของรัฐบาล ซึ่งรัฐบาลตั้งใจว่าจะใช้ AstraZeneca เป็นวัคซีนหลัก แต่ในความเป็นจริงกลับ “ผิดแผน” เพราะได้รับมอบวัคซีนมาน้อยกว่าจำนวนที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เคยแถลงไว้ จาก 6 ล้านโดส เหลือเพียง 2 ล้านโดส ช่วงต้นเดือน มิ.ย. ส่งผลให้หลาย รพ.ต้องประกาศเลื่อนฉีดวัคซีนหลังจาก Kick off แค่ 1 วัน

อย่างไรก็ดี ตลอดเดือน มิ.ย. ไทยฉีดวัคซีนได้ 6,262,839 โดส หรือเฉลี่ยวันละ 208,761 โดส แบ่งเป็นเข็ม 1 ประมาณ 4.5 ล้านโดส โดย 74% ของเข็ม 1 (3.3 ล้านโดส) เป็นวัคซีน AstraZeneca และฉีดเข็ม 2 ได้ประมาณ 1.7 ล้านโดส โดย 97% ของเข็ม 2 (1.6 ล้านโดส) เป็นวัคซีน Sinovac

ช่วง ก.ค. – ส.ค. ไทยได้รับมอบวัคซีน AstraZeneca มากขึ้น แต่ยังคงไม่เป็นไปตามแผน เพราะ สธ.เคยแถลงว่าไทยจะได้รับวัคซีน AstraZeneca เดือนละ 10 ล้านโดสช่วง ก.ค. – พ.ย. 64 ทว่าจริงๆ แล้วบริษัทสามารถส่งมอบวัคซีนให้ไทยได้เพียงเดือนละ 5 – 6 ล้านโดส

เมื่อวัคซีนไม่ได้มาเยอะตามที่แถลง จำนวนการฉีดจึงยังไม่เพิ่มขึ้นเท่าไหร่นัก ตลอดเดือน ก.ค. ไทยฉีดวัคซีนได้ 7,758,276 โดส หรือเฉลี่ยวันละ 250,267 โดส แบ่งเป็นเข็ม 1 ประมาณ 6.7 ล้านโดส โดย 63% ของเข็ม 1 (4.2 ล้านโดส) เป็นวัคซีน AstraZeneca และฉีดเข็ม 2 ได้ประมาณ 1 ล้านโดส โดย 61% ของเข็ม 2 (6 แสนโดส) เป็นวัคซีน Sinovac

และในเดือน ส.ค. กระทรวงสาธารณสุขปรับแผนการฉีดวัคซีนใช้ “สูตรฉีดไขว้” คือเข็ม 1 ฉีด Sinovac ตามด้วยเข็ม 2 ฉีด AstraZeneca เพื่อรับมือโควิด-19 สายพันธุ์เดลต้า บวกกับคนที่ฉีด AstraZeneca เข็ม 1 ครบกำหนดฉีดเข็ม 2 จึงจะเห็นว่าสัดส่วนการฉีดวัคซีนเข็ม 1 และเข็ม 2 เปลี่ยนแปลงไป

ช่วง ส.ค. ไทยฉีดวัคซีนได้ 14,321,874 โดส หรือเฉลี่ยวันละ 461,996 โดส เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. กว่าเท่าตัว แบ่งเป็นเข็ม 1 ประมาณ 10 ล้านโดส โดย 57% ของเข็ม 1 (5.7 ล้านโดส) เป็นวัคซีน Sinovac และฉีดเข็ม 2 ได้ประมาณ 4 ล้านโดส โดย 77% ของเข็ม 2 (3.3 ล้านโดส) เป็นวัคซีน AstraZeneca

นอกจาก Sinovac กับ AstraZeneca แล้ว ช่วงเดือน มิ.ย. – ส.ค. ไทยยังฉีดวัคซีนอีก 2 ยี่ห้อ คือ Sinopharm ซึ่งนำเข้ามาโดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ฉีดเข็ม 1 และ 2 ไปแล้วประมาณ 3.6 ล้านโดส ขณะที่ Pfizer ซึ่งได้รับบริจาคมาจากรัฐบาลสหรัฐฯ ฉีดเข็ม 1, 2 และ 3 ไปแล้วประมาณ 7.8 แสนโดส

แนวโน้มฉีดวัคซีนได้มากขึ้น แต่น่าห่วงเรื่องประสิทธิผล

ข้อมูลล่าสุด (จากชุดข้อมูลเดียวกัน) ช่วงวันที่ 1 – 4 ก.ย. 64 ไทยฉีดวัคซีนเข็ม 1 และ 2 ไปแล้ว 2,976,465 โดส หรือเฉลี่ยวันละ 744,116 โดส เพิ่มขึ้นจากเดือน ก.ค. เกือบ 300,000 โดสต่อวัน สะท้อนว่าระบบสาธารณสุขไทยมีศักยภาพในการฉีดวัคซีนสูง แต่ประเด็นที่น่ากังวลคือวัคซีนที่ฉีดไปแล้วจะสามารถป้องกันโควิด-19 โดยเฉพาะไวรัสกลายพันธุ์ได้แค่ไหน

จากข้อมูลที่ยกมานี้ หากดูเฉพาะเข็ม 2 จะเห็นว่าหลักๆ ไทยฉีด AstraZeneca ไป 51.37% เท่ากับว่าคนไทยประมาณ 5 ล้านคน ได้ฉีด AstraZeneca 2 เข็ม หรือฉีดวัคซีนสูตรไขว้ ขณะที่อีก 35.21% หรือประมาณ 3 ล้านกว่าคน ได้ฉีดวัคซีน Sinovac 2 เข็ม ซึ่งอาจมีภูมิคุ้มกันไม่เพียงพอต่อการป้องกันโควิด-19 แล้วในปัจจุบัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า