SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์เผยว่า คนไทยไม่จำเป็นต้องกลัวการระบาดระลอก 2 หากยังมีวินัย หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากาก และรักษาระยะห่าง ก็จะทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นไม่สูงอย่างที่คาด

เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน 2563 ที่ผ่านมาองค์การอนามัยโลก (WHO) ออกมารายงานว่า โลกกำลังเข้าสู่ช่วงที่อันตรายมากขึ้น สาเหตุมาจากตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 ทั่วโลก ที่ยังคงเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและต่อเนื่อง เพราะเวลานี้สถานการณ์ในประเทศบราซิล ฟิลิปปินส์ สหรัฐอเมริกา หรืออิหร่าน ยังอยู่ในภาวะวิกฤตการแพร่ระบาด ระลอกแรก เพราะตัวเลขผู้ติดเชื้อ และผู้เสียชีวิต ยังไม่มีทีท่าจะลดลง

ขณะเดียวกัน ประเทศอย่าง เกาหลี ญี่ปุ่น สิงคโปร์  และออสเตรเลีย ที่เคยส่อเค้าว่าควบคุมการแพร่ระบาดได้แล้ว กลับกำลังเผชิญหน้ากับการแพร่ระบาดระลอกที่ 2

.ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล เผยว่า โรคที่มีการแพร่ระบาดได้ง่าย เหมือนไวรัสแบบนี้ หากพลาดแม้แต่นิดเดียว มีโอกาสที่จะเกิดการกลับมาใหม่ เวลานี้แม้ตัวเลขผู้ป่วยใหม่อาจยังไม่เพิ่มขึ้น แต่ทั่วโลกกลับเกิดการแพร่กระจายของโควิด-19 เราจึงไม่สามารถมองเฉพาะสถานการณ์ของประเทศไทยได้ เราต้องมองโลกทั้งใบ เพราะการเคลื่อนย้ายของคนก็ดี การเคลื่อนย้ายของตัวไวรัสก็ดี มันสามารถเดินทางผ่านชายแดนเข้ามาได้ง่ายมาก

ความแตกตื่นจากการพบเชื้อไวรัสที่เพิ่งเกิดในจังหวัดระยอง เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคมที่ผ่านมา นับเป็นบทเรียนชั้นดี ที่คนไทยสามารถเรียนรู้ที่จะรับมือกับ การแพร่ระบาดระลอก 2 ได้ เพราะการที่ประชาชนยังมีวินัย หมั่นล้างมือ ใส่หน้ากาก และรักษาระยะห่าง ทำให้จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นไม่สูงอย่างที่คาด

นอกจากการรักษาวินัยแล้ว การเช็คอิน-เช็คเอาท์ผ่านแอปพลิเคชัน ไทยชนะ ก็ถือเป็นอีกพฤติกรรมสำคัญ เพราะช่วยให้เราตรวจสอบจำนวนผู้ที่เช็คอินในสถานที่เดียวกัน และแจ้งเตือนผู้ที่มีความเสี่ยง รีบเข้ารับการตรวจหาเชื้อ รวมถึงกักตัวได้อย่างทันท่วงที การที่เราสามารถคลี่คลายสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วเช่นนี้ เป็นเพราะคนไทยทุกคนร่วมมือกัน ทำให้สามารถรักษาสมดุลของสถานการณ์ไว้ได้

แพทย์ย้ำว่า คนไทยไม่จำเป็นต้องกลัวการระบาดระลอก 2 เพราะสิ่งสำคัญไม่ใช่การระบาดจะมาหรือไม่ แต่คือมาในรูปแบบไหน ถ้ามาแล้วไม่รุนแรงก็ไม่มีประเด็น

“นี่เป็นรูปแบบที่ถ้าประเทศไทยจะมีการระบาดระลอก 2 อยากให้เป็นมากที่สุด เรียกว่า slow burn จะมีการติดเชื้อขึ้นมาหน่อย แต่จะไม่สูงเหมือนครั้งแรก แล้วก็ลดลง ถ้าเราทำกันแบบนี้ เราควบคุมกันได้แบบนี้ อัตราเสียชีวิตจะยังต่ำ และไม่เกินระบบบริการสุขภาพของ เรายังสามารถดูแลคนไทยได้” .ดร.นพ.ประสิทธิ์ วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า