Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อธิบดีกรมควบคุมโรค แจงโควิดติดซ้ำได้ หากเป็นคนละสายพันธุ์  ส่วนสายพันธุ์ย่อย ‘โอไมครอน’ BA.1 กับ BA.2 จะติดซ้ำได้หรือไม่ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามข้อมูลเพิ่มเติม

วันที่ 28 มี.ค. 2565 นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีการติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำ 2 ครั้งในระยะเวลา 1 เดือน ว่า การติดเชื้อโควิด-19 ที่ต่างสายพันธุ์กันสามารถติดเชื้อซ้ำได้ เช่น คนที่หายจากโควิดสายพันธุ์เดลตา สามารถติดสายพันธุ์โอไมครอนซ้ำได้ 

ส่วนกรณีสายพันธุ์โอไมครอนเหมือนกัน แต่เป็นคนละสายพันธุ์ย่อย เช่น BA.1 กับ BA.2 ยังเป็นเรื่องใหม่ ต้องติดตามรายละเอียดข้อเท็จจริงอีกครั้ง ซึ่งตามหลักแล้วก็มีโอกาส แต่จะ 1 ในแสนหรือ 1 ในล้าน ต้องดูข้อมูลประกอบ รวมถึงดูระยะเวลาด้วย เนื่องจากเมื่อติดเชื้อแล้วจะมีภูมิต้านทานต่อเชื้อ ส่วนใหญ่จะไม่ติดซ้ำในระยะเวลาสั้นๆ ยกเว้นคนที่มีปัญหาเรื่องการสร้างภูมิต้านทานของร่างกาย ขณะนี้ข้อมูลผู้ติดเชื้อซ้ำใน BA.1 และ BA.2 ระยะสั้นๆ ยังมีน้อยมาก ดังนั้นข้อมูลไม่มากพอที่จะบอกได้ว่ามีอาการรุนแรงมากขึ้นหรือไม่อย่างไร ต้องดูจากประวัติของผู้ติดเชื้อ เพื่อเก็บข้อมูลต่อ

 นพ.โอภาส กล่าวว่า โอไมครอน เชื้อส่วนใหญ่อยู่ในทางเดินหายใจส่วนต้น เชื้อก็จะออกมาจากการ ไอ จาม พูด มากกว่าเดลตาที่ลงปอดได้เยอะกว่า จึงเป็นที่มาว่าโอไมครอนแพร่ได้เร็ว ระยะฟักตัวสั้น รวมถึงหลายคนไม่มีอาการ จะแพร่เชื้อได้เร็ว แต่ส่วนใหญ่อาการน้อย โดยเฉพาะคนฉีดวัคซีนแล้ว อาการเพียงระคายคอ ไม่มีไข้ แต่สำหรับคนสูงอายุก็จะรุนแรงกว่า โดยเฉพาะคนไม่ฉีดวัคซีน เราจึงเชิญชวนกลุ่ม 608 มารับวัคซีน

เมื่อถามว่า หลายคนมองว่าตัวเองหายติดเชื้อแล้ว จะไม่ติดเชื้อซ้ำอีก ทำให้ประมาท นพ.โอภาส กล่าวว่า สำหรับคนที่มีประวัติติดเชื้อโควิดแล้ว ขอให้ยังระมัดระวังตนเองเสมอ สวมหน้ากากอนามัย ปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคครอบจักรวาล ความเสี่ยงคือ การพบปะกับคนไม่ได้สวมหน้ากากอนามัย โดยเฉพาะการรับประทานอาหาร ทั้งนี้ขอให้ปฏิบัติตามแนวทาง Self-clean up ด้วยการงดไปสถานที่เสี่ยงก่อนเดินทางกลับบ้านในช่วงสงกรานต์ รวมถึงการฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยเฉพาะคนสูงอายุ

เมื่อถามว่า เกณฑ์การแบ่งค่า CT จากการตรวจ RT-PCR ว่าค่ามากหรือน้อย บ่งบอกอะไรได้บ้าง นพ.โอภาส กล่าวว่า ค่า CT จะขึ้นอยู่กับแล็บที่ตรวจเชื้อ RT-PCR ส่วนจะบอกว่าเป็นเชื้อที่มีชีวิต หรือซากเชื้อ จะต้องดูเรื่องอาการและข้อมูลผู้ป่วยประกอบด้วย แต่หากค่า CT สูงๆ เช่น 35 ขึ้นไป แปลว่ามีเชื้อน้อย แต่ต้องดูอาการและประวัติ ฉะนั้นการวินิจฉัยว่าติดเชื้อหรือไม่ ไม่ได้ดูเพียงผลแล็บอย่างเดียว เช่น คนมีประวัติติดเชื้อแล้วอีก 2 เดือนติดซ้ำอีก เราต้องดูประวัติ ค่า CT ว่าสูงหรือต่ำ หากค่าสูงมากร่วมกับไม่มีอาการอะไร แปลความได้ว่าเป็นซากเชื้อ ทั้งนี้ การแปลความตรงนี้ต้องมีความระวัง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า