Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

อนุทินสั่ง สบส. ตรวจสอบ ปม รพ.เอกชนขายแพ็กเกจรักษาโควิดย้ำถ้าเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกทำได้ เพื่อให้ผู้ป่วยที่สามารถจ่ายได้มีทางเลือก แต่ต้องไม่ผิดหลักเกณฑ์ 

นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงกรณี รพ.เอกชนบางแห่งออกแพ็กเกจรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ว่า ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาโมลนูพิราเวียร์ รัฐบาลเป็นผู้สนับสนุนให้ รพ.รัฐ และเอกชน เพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ตามสิทธิการรักษา

ส่วนรพ.เอกชนที่ออกแพ็กเกจอาจเป็นเรื่องการอำนวยความสะดวกสบาย เพื่อให้ผู้ป่วยที่สามารถจ่ายได้มีทางเลือกตรงนี้ อย่างไรก็ตามกรณีเช่นนี้มีอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) ลงไปตรวจสอบข้อเท็จจริงว่า ทำได้หรือไม่ หรือกรอบไหนทำไม่ได้ ก็จะมีการตรวจสอบให้ชัดเจน

“เรื่องนี้เป็นเรื่องการซื้อความสะดวก หากเขาทำแบบนี้และพิสูจน์ได้ว่า อำนวยความสะดวกได้จริงและไม่ผิดหลักเกณฑ์ใดๆ ก็น่าจะทำได้ และประชาชนก็ได้ความสะดวกสบาย แต่หากมีกรณีไหนที่เข้าข่ายทำผิด หรือยังไม่ชัดเจน ให้สอบถามมายัง สบส.เพื่อตรวจสอบ แต่ต้องมีหลักฐาน ไม่ใช่เขาบอกมา ที่ผ่านมายังไม่เห็นหลักฐานชัดเจน ถ้ามีส่งมาเลย ทุกวันนี้ก็ยังปิด รพ.เอกชนไม่ได้สักแห่ง” นายอนุทิน กล่าว

ด้าน นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดี สบส. กล่าวว่า หากผู้ป่วยโควิดไปรักษาใน รพ.ตามสิทธิ เป็นไปตามระบบ รพ.ที่รักษาตามสิทธินั้นย่อมไม่สามารถเรียกเก็บเงินได้ เพราะรัฐเป็นผู้สนับสนุนยาไปยัง รพ. อย่างไรก็ตาม ช่วงหลัง รพ.เอกชนจะเป็นอีกทางเลือกหนึ่งสำหรับผู้ที่ต้องการอำนวยความสะดวกสบายและมีกำลังจ่าย เพียงแต่การรักษาต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์

เมื่อถามว่ากรณี รพ.เอกชน ระบุแพ็กเกจให้คนไข้เลือกว่าจะใช้ยาประเภทใด นพ.ธเรศ กล่าวว่า จริงๆ สามารถทำได้ แต่ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษาทางการแพทย์ ซึ่งยาส่วนนี้จะเป็นของเอกชน เนื่องจากปัจจุบันในส่วนของรัฐจะเตรียมยาไว้ให้กรณีรพ.เอกชนที่ดูแลคนไข้ตามสิทธิ แต่ยังมีอีกกลุ่มที่มาขึ้นทะเบียน และเอกชนสามารถซื้อขายตามระบบปกติได้

นพ.ธเรศ กล่าวว่า สิ่งสำคัญการออกแพ็กเกจใดๆ ต้องอิงอาการคนไข้เป็นหลัก ต้องเป็นไปตามมาตรฐานการรักษา และมาตรฐานสถานพยาบาล แต่เมื่อมีข้อคิดเห็นกรณีนี้เข้ามา เราจะมีการประชุมหารือและกำชับ รพ.เอกชน ในการปฏิบัติเรื่องนี้ให้ถูกต้อง ซึ่งสัปดาห์นี้จะมีการหารือร่วมกับเอกชนอีกครั้ง โดยหากใครเจอเรื่องลักษณะนี้หรือสงสัยว่า รพ.เอกชนทำได้หรือไม่ให้แจ้งมาที่ สบส. เพื่อตรวจสอบต่อไป

“การออกแพ็กเกจต้องแจ้งล่วงหน้า และแจ้งราคาให้ประชาชนทราบล่วงหน้า แต่ที่สำคัญการให้ยาต้องรักษาตามอาการ ตามมาตรฐาน หากทำผิดนอกเหนือจากนั้น จะผิดทั้งพ.ร.บ.สถานพยาบาล และหากแพทย์เป็นผู้สั่งจ่ายนอกเหนืออาการก็จะเข้าข่ายผิดเรื่องการประกอบวิชาชีพ จะเป็นในส่วนของแพทยสภาตรวจสอบ” อธิบดี สบส. กล่าว

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า