SHARE

คัดลอกแล้ว

ศปก.ศบค. ประชุมนัดสุดท้าย ก่อนพรุ่งนี้ ชง ศบค.ใหญ่ ประกาศยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน พร้อมยุบ ศบค. และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง มีผล 1 ต.ค. 65 

พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ เป็นประธานการประชุมศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด–19 (ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่าการประชุมวันนี้ (22 ก.ย.65) เป็นการประชุมนัดสุดท้ายของ ศปก.ศบค. มีเรื่องสำคัญ คือ การรับทราบสถานการณ์ปัจจุบัน ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ประกาศให้ทราบทุกอย่างเริ่มดีขึ้นตามลำดับ ผู้ป่วยและผู้เสียชีวิตลดลง ซึ่งเป้าหมายของกระทรวงสาธารณสุข คือรณรงค์ดำเนินการต่อไป ให้เหลือน้อยที่สุดหรือไม่มีเลย 

นอกจากนี้ได้มีการหารือเรื่องแผนการเปลี่ยนผ่านให้โควิด-19 เป็นโรคเฝ้าระวัง โดยกระทรวงสาธารณสุขได้รับความเห็นชอบจาก ศบค.ไปก่อนหน้านี้ และวานนี้ ได้ประกาศให้ โควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรง ในส่วนของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้คิดแผนรองรับและเตรียมบูรณาการการทำงานเพื่อกลับไปสู่กลไกปกติของประเทศ  ทั้งนี้จะมีคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติของกระทรวงสาธารณสุขเป็นหลัก มีคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดและกรุงเทพมหานครเป็นกลไกหลักในการบริหารจัดการ

“จากนี้ กระทรวงสาธารณสุข จะได้ทำแผนและแจ้งแนวทางต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติหลังมีการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โรคติดต่อที่ไม่ร้ายแรง ตลอดจนองค์กร สถานประกอบการต่างๆ ต้องปฏิบัติอย่างไรหลังจากนี้ ซึ่งทั้งหมดจะมีแผนเผชิญเหตุรองรับด้วยในช่วงการเปลี่ยนผ่าน เพื่อไม่ให้กลับไปสู่การเสียหายขนาดใหญ่อีก” พล.อ.สุพจน์ กล่าว

พล.อ.สุพจน์ กล่าวว่า ที่ประชุมศปก.ศบค.ได้เห็นชอบร่วมกันว่าวันพรุ่งนี้ (23 ก.ย.65) จะเสนอต่อที่ประชุมศบค.ชุดใหญ่ ให้ยกเลิกการบังคับใช้พระราชกำหนดบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉิน (พ.ร.ก.ฉุกเฉิน) ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการนำเข้าเสนอในที่ประชุม ซึ่งมีพล.อ.ประวิตร วงษ์สุวรรณ รองนายกรัฐมนตรี  รักษาราชการแทนนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน พร้อมกับ ครม.ที่เกี่ยวข้อง แพทย์ คณะกรรมการผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์จะร่วมกันพิจารณา

“หากพรุ่งนี้ที่ประชุม ศบค.เห็นชอบ ก็จะส่งผลให้ยุบ ศบค. ,ศปก.ศบค และศูนย์ที่เกี่ยวข้อง อีก 9 ศูนย์ ยุบส่วนราชการต่างๆ ที่ตั้งมาก่อนหน้านี้ ทั้งอุตสาหกรรมท่องเที่ยว ภาคเศรษฐกิจ ยุบทั้งหมด  แต่จะมีกลไกรองรับและได้มีการเตรียมการเป็นลำดับแล้ว โดยหากผ่านความเห็นชอบก็จะเริ่มต้นได้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคมเป็นต้นไป โดยหลังจากนี้คณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะเป็นคนดูแลโดยพ.ร.บ.โรคติดต่อ ตั้งคณะกรรมการขึ้นมาดูแลและปรับปรุงให้เกิดความเหมาะสมมากขึ้นเพื่อรองรับกับสถานการณ์” พล.อ.สุพจน์ กล่าว

เมื่อถามว่าที่ประชุมย่อยมีข้อกังวลใดเป็นพิเศษหลังการเปลี่ยนผ่าน พล.อ.สุพจน์กล่าวว่า ที่กังวลคือเรื่องการใช้ชีวิตประจำวัน หากยกเลิกแล้ว ไม่ใช่ว่าจะถอดหน้ากากหรือดำเนินชีวิตอย่างไรก็ได้ แต่ต้องมีมาตรการป้องกันส่วนบุคคล เพราะในสังคมกลุ่มย่อยการรวมตัวยังมีคลัสเตอร์ใหญ่และย่อยเกิดขึ้น เพียงแต่ภูมิคุ้มกันหมู่ภาพรวมของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์ที่ดีมากและไม่มีอาการเจ็บป่วยรุนแรง มียาแพทย์ พยาบาล และโรงพยาบาลเพียงพอ

ส่วนจะไปถึงขั้นถอดหน้ากากใช้ชีวิตตามปกติคงจะต้องค่อยเป็นค่อยไปเพราะหากตามดูที่รัฐบาลได้ทำมาต่อเนื่อง  ได้ทำแบบค่อยเป็นค่อยไป ไม่เปิดให้เสียหายมากและค่อยมาแก้ไข แต่เราจะคำนึงถึงประชาชน ความเสียหายของประชาชนเป็นสำคัญ ดังนั้นคิดว่าค่อยๆ ปรับตัวกันไปก่อน 

อย่างไรก็ตามยืนยันว่า การเตรียมยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ไม่เกี่ยวข้องกับการประชุมเอเปค ที่ไทยเป็นเจ้าภาพ แต่เป็นการดำเนินการเพื่อให้เศรษฐกิจขับเคลื่อนไปข้างหน้า

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า