Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข เตือนประชาชนไม่ควรซื้อชุดตรวจแรพพิทเทสที่ขายออนไลน์ ย้ำการตรวจต้องได้มาตรฐาน ชี้ร่างกายมนุษย์สร้างภูมิคุ้มกันต่อสู้กับเชื้อโรคได้ หากผลตรวจเป็นลบ ไม่ใช่จะไม่พบเชื้อ แต่อาจอยู่ในช่วงฟักตัวก็ได้

วันที่ 27 มี.ค.2563 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข อธิบายการทำงานของระบบภูมิคุ้มกันในร่างกายมนุษย์ที่มีต่อการต้านเชื้อไวรัสชนิดต่างๆ พร้อมเตือนประชาชนที่กังวลเรื่องการติดเชื้อโควิด-19 ไม่ควรซื้อชุดตรวจรู้ผลเร็ว หรือแรพพิทเทสที่มีขายทางออนไลน์มาใช้ หากตรวจโดยไม่มีความเข้าใจจะทำให้การอ่านผลไม่ถูกต้อง

นพ.ศุภกิจ อธิบายว่า เราต้องเข้าใจธรรมชาติของการติดเชื้อก่อน เมื่อเชื้อเข้าไปสู่ร่างกายแล้วเชื้อก็เพิ่มจำนวนขึ้นเรื่อยๆ จากนั้นร่างกายจะสร้างสิ่งที่เรียกว่า แอนติบอดี (Antibody) ขึ้นมาเพื่อต่อสู้กับเชื้อหรือแอนติเจน (Antigen) ร่างกายจะสร้างภูมิคุ้มกันเพิ่มขึ้นเพื่อกำจัดเชื้อให้ร่างกายกลับสู่ภาวะปกติ เมื่อสามารถต่อสู้กับเชื้อโรคได้แล้ว ร่างกายก็จะมีภูมิคุ้มกันนั้นอยู่ นั่นหมายความว่า เราอาจจะไม่เป็นโรคซ้ำ แต่ในกลุ่มเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่ส่วนใหญ่มีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมอย่างรวดเร็ว เพราะฉะนั้นภูมิคุ้มกันต่อเชื้อไวรัสไข้หวัดใหญ่จะอยู่ในร่างกานคนได้ประมาณ 1 ปี

รองปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการตรวจวินิจฉันโรคโควิด-19 อันแรกที่ต้องตรวจคือ ตรวจเชื้อหรือสารพันธุกรรม ตรวจส่วนประกอบของเชื้อของ Antigen จากนั้นตรวจ Antibody คือ ตรวจภูมิคุ้มกัน เพราะฉะนั้นการตรวจเหล่านี้ต้องตรวจในเวลาเหมาะสม ถ้าตรวจเชื้อมี window period ก็อาจจะตรวจไม่พบ ต้องรอประมาณ 3-5 วัน นั่นหมายความว่า หากได้รับเชื้อเมื่อวานแล้วพรุ่งนี้ไปตรวจเลยก็จะตรวจไม่พบ ผลจะออกมาว่าเราไม่ติดเชื้อ

ดังนั้นการตรวจเชื้อจะต้องใช้เวลา โดยเฉพาะการตรวจภูมิคุ้มกัน window period ของการตรวจ Antibody ของภูมิคุ้มกันยาวเกิน 5 วัน แน่นอน บางชุดตรวจอาจใช้เวลาในการเพาะเชื้อนานถึง 2 สัปดาห์ วันนี้สิ่งที่กระทรวงสาธารณสุขทำคือ ตรวจ Antigen คือ สารพันธุกรรมของเชื้อ เพราะฉะนั้นต้องใช้เวลา เมื่อภูมิคุ้มกันของร่างกายกำจัดเชื้อแล้ว เชื้อก็จะหมดไปจากร่างกาย แต่ภูมิคุ้มกันอาจจะอยู่ได้นานอย่างน้อยที่สุดเป็นไข้หวัดจะมีภูวิคุ้มกันอยู่ได้ 6 เดือนถึงหนึ่งปี เมื่อตรวจผลออกมาเป็นบวก แปลว่า เราเคยรับเชื้อมาแล้ว 2 เดือนข้างหน้าไปตรวจภูมิคุ้มกันก็เป็นบวก แต่เราไม่สามารถแพร่เชื้อไปไหนได้แล้วเพราะเชื้อมันหมดไปแล้ว

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า ชุดตรวจเร็ว หรือ  Rapid test ตรวจแล้วรู้ผลเร็วต้องทำความเข้าใจว่า การตรวจนั้นการรู้เร็วก็ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นหรือไม่เป็น เพราะยังมีระยะฟักตัวของเชื้อมากกว่า 10 วัน การตรวจวินิจฉัยโควิด -19 นั้น ไม่ใช่แค่เรื่องความรวดเร็วเท่านั้นยังมีเรื่องการแปลผล หากผลบวกแล้วต้องกี่เปอร์เซ็นต์ ซึ่งกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ให้ใช้ค่าผลยืนยันที่ 85 เปอร์เซ็นต์ และการตรวจสอบต้องผ่านการรับรอง ดังนั้นไม่แนะนำให้ซื้อมาตรวจเอง

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า