วันที่ 29 มี.ค. ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการแถลงข่าวประจำวันของ ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-
.
ส่วนผู้ลงทะเบียนที่เกินกว่
.
สำหรับกระบวนการคัดกรอง เร็วที่สุดคือหลัง 7 วันทำการ เมื่อที่มีการตรวจสอบข้อมูล
.
ส่วนบัญชีจะเป็นธนาคารใดก็ไ
เมื่อสอบถามถึงกรณีผู้ที่ไม
.
ทั้งนี้ เราไม่ได้มีการกำหนดปิดการล
.
กรณีกลุ่มนักศึกษาที่ทำงานพ
.
ต่อมานายลวรณให้สัมภาษณ์เพิ
ขณะที่นางพิศมัย นิธิไพบูลย์ หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม สำนักงานประกันสังคม สรุปแนวทางการช่วยเหลือผู้ประกันตนในระบบประกันสังคม ว่า มติคณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบให้แก้กฎกระทรวงการได้รับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากมีเหตุสุดวิสัย โดยมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มี.ค.- 31 ส.ค. 63 โดยแก้ไขคำนิยาม “เหตุสุดวิสัย” หมายความว่า อัคคีภัย วาตภัย อุทกภัย ธรณีพิบัติภัย หรือภัยที่เกิดจากโรคที่แพร่หรือระบาดในมนุษย์ซึ่งเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อเพิ่มขึ้นให้ครอบคลุม ซึ่งปัจจุบันคือโควิด-19 ซึ่งจะทำให้ลูกจ้างได้รับเงินว่างงานหากได้รับภัยจากโควิด-19 โดยกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัยที่นายจ้างรับรอง หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานเนื่องจากเป็นผู้ใกล้ชิดกับผู้ที่ติดเชื้อโควิด -19 หรือกลุ่มเสี่ยง และถูกกักตัวใน 14 วัน ในระหว่างที่ถูกกักตัว ลูกจ้างยังไม่สิ้นสภาพการเป็นลูกจ้าง ดังนั้น สำนักงานประกันสังคมจะเยียวยาให้โดยให้ได้รับเงินกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ทั้งนี้ ระยะเวลาไม่เกิน 180 วัน
.
หัวหน้าผู้ตรวจราชการกรม กล่าวว่า กรณีหน่วยงานภาครัฐสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการชั่วคราว ประกันสังคมจะจ่ายเงินกรณีว่างงาน 50% ของค่าจ้างที่นำส่งประกันสังคม ไม่เกิน 60 วัน และหากว่าผู้ประกันตนต้องการยื่นคำขอรับประโยชน์ทดแทนในกรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย ขณะนี้ประกันสังคมเปิดช่องทาง โดยส่งผ่านทางเว็บไซต์ www.sso.go.th โดยทั้งผู้ประกันตนและนายจ้างจะต้องยื่นกรณีว่างงาน โดยผู้ประกันตนบันทึกในแบบ สปส.2-01/7 นายจ้างของผู้ประกันตนต้องรับรองวันที่ลูกจ้างไม่สามารถมาทำงานได้ เพื่อที่จะกำหนดให้เจ้าหน้าที่วินิจฉัยเงินทดแทนกรณีว่างงานจากเหตุสุดวิสัย ในส่วนของช่องทางอื่นจะกำหนดไว้ร่วมกับกรณีว่างงานกรณีทั่วไป
.
ในส่วนของกรณีว่างงานกรณีทั่วไป สำนักงานประกันสังคมได้เพิ่มกรณีว่างงานให้ โดยเฉพาะถูกเลิกจ้างหรือนายจ้างหยุดกิจการ ลูกจ้างจะได้รับเงินกรณีว่างงานเพิ่มขึ้นจากเดิมเป็น 70% ของค่าจ้าง นำส่งประกันสังคม ไม่เกินระยะเวลา 200 วัน กรณีลูกจ้างลาออก ได้รับเงินกรณีว่างงาน 45% ของค่าจ้าง ไม่เกินระยะเวลา 90 วัน ทั้งนี้ ผู้ประกันตนกรณีว่างงานปกติไม่ใช่จากเหตุสุดวิสัย ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนว่างงาน และรายงานตัวเดือนละ 1 ครั้ง ในเว็บไขต์ของกรมการจัดหางาน ก่อนมายื่นแบบฟอร์มบนเว็บไซต์ของสำนักงานประกันสังคม เพื่อรับเงินว่างงานกรณีทั่วไป