SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 วันนี้มีผู้ติดเชื้อเพิ่ม 127 ราย เสียชีวิต 1 ราย รวมผู้ป่วยสะสมทั้งหมด 1,651 ราย ส่วนใหญ่ยังเป็นกลุ่มผู้ป่วยจากสนามมวย

วันที่ 31 มี.ค.2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือ ศบค. เปิดเผยว่า ไทยมีผู้ติดเชื้ออันดับ 35 ของโลก ไทยมีผู้ป่วยสะสม 1,651 คน ผู้ป่วยรายใหม่ 127 คน เสียชีวิตเพิ่มอีก 1 คน เป็นชายไทย อายุ 48 ปี มีอาชีพเป็นนักดนตรีใน กทม. เมื่อป่วยจึงเดินทางกลับไปรักษาตัวในโรงพยาบาลแห่งหนึ่งทางภาคอีสาน และมีโรคประจำตัวเป็นโรคเบาหวาน มะเร็งลำไส้ ป่วยเมื่อวันที่ 20 มี.ค.ด้วยอาการไข้ หอบ เสียชีวิตเมื่อวันที่ 30 มี.ค.ที่ผ่านมา

ผู้ป่วยกลุ่มใหญ่ 62 ราย
– สนามมวย 4 ราย
– สถานบันเทิง 11 ราย
– สัมผัสผู้ป่วยก่อนหน้า 47 ราย
.
ผู้ป่วยอื่นๆ 49 ราย
– คนไทยกลับจาก ตปท. 17 ราย เป็นต่างชาติ 6 ราย อาชีพเสี่ยง 9 ราย
– บุคคลากรทางการแพทย์ 3 ราย
– ไปสถานที่ชุมนุมชน 6 ราย
– อื่นๆ 8 ราย
– รอสอบสวนโรค 16 ราย

[คำถามที่น่าสนใจจากสื่อมวลชน]

1. กระแสข่าวการปิดกรุงเทพฯ ข้อเท็จจริงเป็นอย่างไร
– ใช้เฉพาะบางพื้นที่ กทม.ใช้ตามประกาศเดิมยังไม่มีข้อสังการเพิ่มเติม

2. ครบ 1 สัปดาห์ของการประกาศใช้ พ.ร.ก.ฉุกเฉินแล้ว รัฐบาลพอใจหรืออยากแก้ไขเพิ่มเติมจุดใดบ้าง
– เมื่อวานมีการประชุมกัน นายกฯ พึงพอใจระดับหนึ่ง แต่ยังไม่สามารถไว้วางใจทั้งหมดได้ ต้องให้ปลัดกระทรวง สธ. ติดตามข้อมูลอย่างใกล้ชิด มาตรการต่างๆ จะปรับเปลี่ยนไปตามข้อมูลนำเข้าของ สธ. ถ้าไม่ให้ความร่วมมือตัวเลขผู้ติดเชื้อ ความเข้มข้นของมาตรการต่างๆ ก็จะตามมา

3. แพทย์พบคนไข้ปกปิดข้อมูล ตรงนี้มีบทลงโทษหรือไม่อย่างไร
– บทลงโทษเป็นไปตามข้อกฎหมาย แต่เจตนาของกฎหมายต่างๆ เหล่านี้ไม่ได้ต้องการให้เข้าสู่การจองจำหรือเสียเงิน เจตนาคือต้องการให้เปิดเผยข้อมูลเพื่อจะได้รักษาอย่างดี ขณะเดียวกันทางแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์จะได้ป้องกันตัวเองให้ถูกวิธี เพราะถ้าป่วย 1 คนก็จะทำให้แพทย์ที่ไปตรวจคนไข้ต่อ คุยกับหมอคนอื่นต่อ จะทำให้คนกลุ่มนี้ต้องหยุดงานไปอีกหลายสิบคน ส่งผลกระทบต่อประชาชนเป็น 100 คน ขอความร่วมมือในการแจ้งประวัติเพื่อไม่ต้องบังคับใช้กฎหมาย

4. บริษัทเอกชนหลายแห่งยังไม่ให้พนักงานหยุดงาน รัฐบาลจะดำเนินการทางกฎหมายได้หรือไม่
– ตอนนี้เป็นการขอความร่วมมือ ขอให้ผู้ประกอบการพิจารณาให้ถี่ถ้วนถึงความเสี่ยงที่จะเกิดขึ้น หากทำงานที่บ้านทดแทนการทำงานได้หรือไม่ หากพนักงานเสี่ยงติดเชื้อแล้วนำเชื้อไปที่ทำงาน อยู่รวมห้องเดียวกันกันเจ้าของด้วย ทุกคนอาจจะต้องหยุดงานหรือเข้าโรงพยาบาลนำมาซึ่งความเสียหาย

5. เราสามารถประกาศพื้นที่แออัด พื้นที่เสี่ยงได้หรือไม่
– นายกฯ มอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำข้อมูลจาก สธ.ไปบริหารจัดการ เป็นอิสระที่ผู้ว่าฯ ที่จะดำเนินการ ขอความร่วมมือประชาชนปฎิบัตตามที่ผู้ว่าฯ ประกาศ

6. เชื้อโควิด-19 จากอิตาลีรุนแรงกว่าเชื้อจากจีน ตรงนี้มีความเห็นอย่างไรบ้าง
– นักวิชาการลงความเห็นกันอยู่ว่าเชื้อมีความรุนแรง แต่ก็ต้องมีการพิสูจน์ การป้องกันเป็นสิ่งที่ทุกคนต้องทำเหมือนกันหมด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า