SHARE

คัดลอกแล้ว

จากกรณีที่กระทรวงการคลังเตรียมเสนอมาตรการดูแลเศรษฐกิจเพื่อลดผลกระทบจากการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีเศรษฐกิจในวันที่ 4 มี.ค. โดยมีรายงานว่าจะมีการโอนเงินเพื่อให้ประชาชนถอนนำไปใช้จ่ายได้ขั้นต่ำคนละ 1,000 บาท

วันที่ 5 มี.ค. นายชาญกฤช เดชวิทักษ์ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำนายกรัฐมนตรี (ปฏิบัติงานกระทรวงการคลัง) กล่าวว่า มาตรการที่นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง เตรียมนำเสนอต่อ ครม.เศรษฐกิจ ป็นชุดมาตรการระยะสั้นที่มีความจำเป็นและเห็นผลรวดเร็ว เพื่อประคับประคองสถานการณ์ไม่ให้เกิดวิกฤติ ครอบคลุมประชาชนที่ได้รับผลกระทบ 2 กลุ่มใหญ่ คือ 1.ผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ 2.ผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม
.
ในส่วนของประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และอาชีพอิสระ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีเงินเข้ากระเป๋า เพื่อช่วยแบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายที่จำเป็นต่อการดำรงชีวิตประจำวัน โดยจะใช้วิธีโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ (PromptPay) เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดการรั่วไหล ซึ่งกระทรวงการคลังมีฐานข้อมูลรายชื่ออยู่แล้ว

สำหรับผู้ประกอบการธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม จะใช้กลไกของธนาคารเฉพาะกิจของรัฐปล่อยเงินกู้ให้ธนาคารพาณิชย์แบบต้นทุนต่ำ เพื่อให้นำไปปล่อยกู้แก่ผู้ประกอบการในอัตราดอกเบี้ยที่ถูกลงและทำได้จริง ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยจะช่วยยืดหยุ่นกฎเกณฑ์การปล่อยสินเชื่อและการกันสำรองหนี้เป็นการชั่วคราว
.
“ไม่อยากให้มองแยกส่วน อยากให้มองเป็นชุดมาตรการลดผลกระทบทางเศรษฐกิจทั้งระบบ เป็นการให้ความช่วยเหลือชั่วคราว ดูแลพี่น้องประชาชนผู้มีรายได้น้อย เกษตรกร และผู้ประกอบอาชีพอิสระ ให้มีเงินในกระเป๋าไว้จับจ่าย รัฐบาลไม่ได้ใช้เงินสุรุ่ยสุร่ายถึงแสนล้านบาท สำหรับผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดย่อม รัฐบาลจะส่งเสริมให้มีการฝึกอาชีพเพื่อเพิ่มศักยภาพให้ลูกจ้างในสถานประกอบการ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมท่องเที่ยว แต่จะใช้งบประมาณเท่าไหร่ขึ้นอยู่กับการพิจารณาถึงความเหมาะสมของคณะรัฐมนตรี”
.
นายชาญกฤช กล่าวด้วยว่า รัฐบาลในหลายประเทศที่กำลังประสบปัญหาเชื้อไวรัสโควิด-19 ระบาด ก็มีชุดมาตรการระยะสั้นเพื่อพยุงเศรษฐกิจภายในประเทศเช่นกัน เช่น กระทรวงการคลังฮ่องกง ออกแถลงข่าวในวันที่ 26 ก.พ.63 ว่าจะแจกเงินให้ประชาชน 7 ล้านคนๆ ละ 41,000 บาท เพื่อให้จับจ่ายซื้อสินค้าและบริการจากภาคธุรกิจ บรรเทาพิษเศรษฐกิจครั้งเลวร้ายที่สุด

ด้านนายสุชาติ​ ธาดาธำรงเวช​ อดีต รมว.คลัง​ ระบุว่า ไม่เห็นด้วยอย่างยิ่งต่อการมาตรการเยียวยาผลกระทบจากโควิด-19 ด้วยการโอนเงินผ่านระบบพร้อมเพย์ให้ประชาชนผู้มีรายได้น้อย เงินเดือนน้อย ผู้ประกอบการวิชาชีพและเกษตรกร เพื่อใช้ซื้อสินค้าและบริการหัวละ 1-2 พันบาท เพราะมาตรการชิมช้อปใช้ก่อนหน้านี้ก็ไม่ได้ส่งผลต่อสภาพเศรษฐกิจ
.
“รัฐบาลไม่ควรใช้วิธีการนำภาษีจากประชาชน มาเป็นเงินแจกประชาชน เพราะประชาชนไม่อยากรับ​ และจะมีคนเสียนิสัย​ไม่ทำงาน​มากขึ้น รอแต่เงินแจกจากรัฐบาล​ เศรษฐกิจของประเทศจะแย่​ลง​ เหมือน​ประเทศเวเนซุเอลา หรือ ซิมบับเว​ และที่ผ่านมาเงิน “ชิมช้อปใช้” ที่แจกไปแล้ว​ จำนวนมากมาย​ก็ไม่ได้ฟื้นระบบเศรษฐกิจเลย​ แต่ทำให้เงินภาษีประชาชน​ถูกใช้ไปอย่างสูญเปล่า อีกทั้ง เงินภาษีควรใช้เพื่อพัฒนาประเทศ ดูแลความเจ็บไข้ได้ป่วยของประชาชน​ ให้การศึกษา​ รักษาสิ่งแวดล้อม​ รวมถึงป้องกันสาธารณภัย”
.
นายสุชาติ​ เสนอว่า หากรัฐบาลต้องการให้ประชาชนทั้งประเทศมีเงินอยู่ในมือเพิ่มขึ้น​ 1 แสนล้านบาท ก็ให้ลดอัตราภาษีมูลค่าเพิ่มลงร้อยละหนึ่ง ประชาชนจะไปคิดเองว่า ควรเอาเงินจำนวนนี้​ ไปลงทุนทำอะไร​ ซึ่งเป็นการสร้างรายได้​ (GDP​)​ ให้ประเทศ​ GDP​ คือ รายได้ที่ประชาชนไปทำงาน ไปขายผลผลิต​ รายจ่ายไม่ใช่​ GDP​ จะฟื้น​ GDP​ ต้องเพิ่มการทำงาน​ ไม่ใช่การเอาเงินภาษีไปแจก​ให้ใช้จ่าย​
.
รัฐบาลควรนำเงินจำนวนนี้​ ไปลงทุนเพื่อช่วยประชาชน​ให้ทำมาหากินได้ง่ายขึ้น​ ดีขึ้น​ มีงานทำมากขึ้น​ ซึ่งจะมีประโยชน์มากกว่า

ขณะที่ นายเผ่าภูมิ โรจนสกุล รองเลขาธิการพรรคเพื่อไทย ก็แสดงความไม่เห็นด้วยกับมาตรการแจกเงิน โดยสรุปเป็น 5 ข้อ ดังนี้

1. รมว. คลังชี้แจงผ่านเฟสบุ๊คสรุปความว่า ท่านแจก หวังให้คนเอาไปใช้จ่าย หวังให้คนผลิตมากขึ้น หวังให้จ้างงานมากขึ้น มองว่าตรรกะข้อนี้ไม่ถูกต้อง ท่านทราบหรือไม่ว่า การใช้จ่ายของคน แปรผันตรงต่อกระแสรายได้ในระยะยาว ไม่ใช่เงินชั่วคราวในระยะสั้นหรือการแจกเงิน กระแสรายได้ระยะยาว มันคือ งาน สำคัญคือประชาชนต้องมีงาน คนมีงานอยู่แล้วต้องป้องกันไม่ให้ตกงาน คนตกงานต้องรีบสร้างงานให้ คนใช้จ่ายเมื่อมีงาน รู้สึกมั่นคงในรายได้ ที่ท่านหวังแจกเงินเพื่อสร้างงาน ผมเกรงว่ามันจะไม่เกิดขึ้น
.
2. ท่านทราบหรือไม่ว่า ไม่มีผู้ผลิตรายไหน จะเพิ่มการผลิต เพิ่มการจ้างงาน เพื่อรองรับกำลังซื้อชั่วคราวหัวละพันแบบนี้ ความหวังเรื่องการจ้างงานจากเงินแจก มันไม่ตั้งอยู่บนหลักคิดที่ถูกต้อง
.
3. ท่านทราบหรือไม่ว่า หัวใจของผลกระทบจากโควิด-19 มันอยู่ที่สายป่านของธุรกิจภาคท่องเที่ยวขนาดเล็กมันสั้น 2-3 เดือนเท่านั้น ต้องแก้ด้วยการต่อสายป่าน ให้ธุรกิจเหล่านี้ไม่ล้ม ถ้าล้มมันจะลาม มาตรการชุดนี้ในส่วนที่เป็นการต่อสายป่าน ผมเห็นด้วย แต่ส่วนที่แจกไปทั่ว ผมมองว่าเป็นมาตรการที่ชุ่ย
.
4. ท่านทราบหรือไม่ว่า ปีที่แล้วทั้งปี ท่านได้ใช้มาตรการแจกเงินอย่างเข้มข้น ถ้าดีจริงควรเห็นผลสะสมตั้งแต่ไตรมาส 4 ปีที่แล้ว แต่ผลงานนั้นได้สะท้อนผ่าน GDP ไตรมาสดังกล่าว ซึ่งต่ำสุดในรอบ 21 ไตรมาส ซึ่งโดยปกติแล้วไตรมาส 4 ควรเป็นช่วงที่ดี มีแรงส่งการผลิต การใช้จ่ายปลายปีสูง และการท่องเที่ยวสูง และช่วงนั้นยังไม่มีโควิด-19 ตัวเลขมันฟ้องว่าที่แจกมาทั้งปีมันผิดทาง
.
5. ท่านทราบหรือไม่ว่า ผลกระทบจากโควิด-19 กำลังจะลามไปนอกภาคท่องเที่ยว ซึ่งอันตรายมาก ต้องเอาเงินมาหยุดการลามตรงนี้แบบเฉพาะจุด ต้องหยุดเลือดเฉพาะที่ ไม่ใช่แจกหว่านไปทั่วประเทศอย่างนี้ ทำอย่างนี้เหมือนขาเจ็บแต่รักษาโดยการทายาแก้คันไปทั้งตัว

มาตรการแจกเงินก็แย่อยู่แล้ว ยิ่งฟังคำชี้แจงอีก ยิ่งทำให้เข้าใจว่าทำไมรัฐบาลจึงออกมาตรการสารพัดแจกแบบนี้ออกมาเรื่อยๆ วันนี้เข้าใจแล้วว่ามันผิดมาตั้งแต่วิธีคิด

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า