Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สาธารณสุขรายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 พบผู้ติดเชื้อใหม่ 30 ราย เดือนเมษายนพบ 23% ติดเชื้อในครอบครัว ย้ำประชาชนอย่าหย่อนมาตรการ ด้านกรมควบคุมโรครอผลเพาะเชื้อซากไวรัส หวั่นป่วยซ้ำเหมือนเกาหลี

วันที่ 15 เม.ย.2563 นพ.อนุพงศ์ สุจริยากุล นายแพทย์ทรงคุณวุฒิกรมควบคุมโรค กล่าวว่า สถานการณ์โรคโควิด-19 ในประเทศไทยขณะนี้ มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยวันนี้มีจำนวนผู้ป่วยกลับบ้านได้มากกว่าผู้ป่วยรายใหม่ เป็นผู้ป่วยกลับบ้านได้ 92 ราย (สะสม 1,497 ราย) ผู้ป่วยรายใหม่ 30 ราย ทำให้มีผู้ป่วยที่อยู่ในโรงพยาบาล 1,103 ราย อย่างไรก็ตาม เมื่อจำแนกผู้ป่วยจากแหล่งที่ติดเชื้อในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี สมุทรปราการ ระหว่างเดือนมีนาคม ถึง เมษายน 2563 พบว่า ในเดือนมีนาคมพบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 จำนวน 1,054 ราย สาเหตุส่วนใหญ่ติดเชื้อจากนอกบ้านสูงถึงร้อยละ 77 รองลงมาเป็นการติดเชื้อจากต่างประเทศร้อยละ 15 และเป็นการติดเชื้อในบ้านร้อยละ 8 ส่วนเดือนเมษายน (ข้อมูลวันที่ 1-12 เมษายน 2563) พบผู้ป่วย 460 ราย เป็นการติดเชื้อจากนอกบ้านร้อยละ 60 ติดเชื้อในบ้านเพิ่มขึ้นเป็นร้อยละ 23 ราย ส่วนติดเชื้อจากต่างประเทศพบร้อยละ 17

จากข้อมูลข้างต้น พบว่าการติดเชื้อภายในบ้านมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่มาจากการรับเชื้อภายนอกเขามา อาทิ จากผู้ที่ทำงานนอกบ้าน จับจ่ายซื้อของ ทำธุระนอกบ้าน ลูกหลานไปรวมกลุ่มสังสรรค์ แม้กระทั่งจากผู้ที่มาหาที่บ้าน จึงขอให้ประชาชนปฏิบัติตนปฏิบัติตามมาตรการของกระทรวงสาธารณสุขอย่างเคร่งครัดทั้งขณะที่อยู่ในบ้านและนอกบ้าน โดยเฉพาะการเว้นระยะห่างระหว่างบุคคล และการสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อยๆ โดยผู้ที่ทำงานนอกบ้านหรือผู้ที่ออกนอกบ้านเป็นบุคคลสำคัญที่อาจนำเชื้อเข้ามาให้คนในครอบครัว เมื่อกลับถึงบ้านให้รีบเปลี่ยนเสื้อผ้า อาบน้ำทำความสะอาดร่างกายทันที จัดให้มีพื้นที่สะอาดส่วนกลางภายในบ้าน ไม่นำสัมภาระที่ใช้นอกบ้านเข้ามาในบริเวณนี้ อาทิ รองเท้า กระเป๋า เสื้อผ้าที่สวมใส่แล้ว แยกสำรับอาหารส่วนตัว ล้างมือบ่อยๆ หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น หากออกนอกบ้านต้องใส่หน้ากากอนามัยหน้ากากผ้า หมั่นล้างมือด้วยน้ำและสบู่ หรือแอลกอฮอล์เจลเพื่อลดโอกาสการนำเชื้อจากนอกบ้านมาติดสมาชิกในครอบครัว

เร่งเพาะเชื้อซากไวรัสหวั่นมีผู้ป่วยซ้ำ
นพ.อนุพงษ์ กล่าวถึงกรณีผู้ป่วยในเกาหลีป่วยติดเชื้อโควิด-19 ซ้ำว่า แพทย์ติดตามเรื่องนี้เพื่อหาคำตอบว่าทำไมเกาหลีใต้ซึ่งมีการตรวจในห้องปฏิบัติการสูงที่สุดจึงพบการป่วยซ้ำ เกาหลีใต้ตรวจค้นหาผู้ติดเชื้อได้เร็ว และรักษาผู้ป่วยได้เร็ว แต่สุดท้ายมีรายงานว่าพบผู้ป่วยมีผลบวกในการตรวจเชื้อแบบ Real-time RT PCR ซึ่งเป็นวิธีแรกของการตรวจสารพันธุกรรมของไวรัส

นพ.อนุพงษ์ กล่าวว่า สิ่งที่ต้องพิสูจน์คือ การตรวจพบครั้งที่ 2 กลับมาเป็นบวก หลักจากรักษาหายเป็รลบแล้ว การตรวจด้วยวิธีการเดียวกัน เป็นการติดเชื้อใหม่ หรือเป็นซากของสารพันธุกรรมของไวรัส ตรงนี้จะต้องมีการตรวจซากของสารพันธุกรรมของไวรัสว่าเชื้อตาย หรือเชื้อเป็น โดยจะต้องมีการเพาะเชื้อที่ต้องอาศัยห้องปฏิบัติการที่มีชีวนิรภัยขั้น 3 ขึ้นไป ซึ่งประเทศไทยมีไม่กี่ที่

เมื่อถามว่ากรณีนี้มีโอกาสที่จะเกิดการป่วยซ้ำในเมืองไทยหรือไม่ ผู้ทรงคุณวุฒิ กรมควบคุมโรค กล่าวว่า เคยมีการตั้งคำถามว่าคนจีนที่รักษาหายจากไทยกลับไปอู่ฮั่นมีการเก็บข้อมูลและตรวจซ้ำ 3 วันคนไข้เคสนั้นเข้าไปนอนโรงพยาบาลอีกระยะหนึ่ง ตรงนี้แพทย์ไทยตั้งคำถามว่าเพราะอะไร แต่ยังไม่ได้คำตอบ และก่อนหน้านี้ผู้ป่วยจ.ชัยภูมิ ที่รักษาโควิด-19 จนผลตรวจเป็นลบ และเดินทางกลับไปพักฟื้นที่บ้าน เมื่อพักฟื้นได้ 3 วันรู้สึกไม่สบายจึงไปตรวจที่โรงพยาบาลพบเชื้อโควิด-19 อีก เคสนี้เป็นเคสที่แพทย์ไทยให้ความสนใจและได้ทำการเพาะเชื้อซากไวรัส ตรวจดูระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยซึ่งขณะนี้กำลังรอผลตรวจอยู่

กรมอนามัยแนะวิธีป้องกันเชื้อโควิด-19 ชุมชนแออัด

ขณะที่ พญ.พรรณพิมล วิปุลากร อธิบดีกรมอนามัย กล่าวว่า กรมอนามัยได้มีข้อแนะนำการปฏิบัติภายในตลาดสด เพื่อให้เจ้าของตลาดนำไปเป็นแนวทางการปฏิบัติในช่วงโควิด-19 ระบาด โดยต้องดูแลสถานที่ให้สะอาด ถูกสุขลักษณะ จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ บริเวณการใช้บริการ จัดให้เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ส่วนผู้ขายในตลาดให้รักษาสุขอนามัยอย่างเคร่งครัด และได้ทีการสำรวจ (Quick Survey) ในตลาดสด จำนวน 337 แห่ง พบว่า ร้อยละ 66.8 ปฏิบัติตามมาตรการ Social Distancing ระหว่างผู้ขายของกับผู้บริโภค และร้อยละ 49.9 มีการเว้นระยะระหว่างแผง และผู้ขายของ/ผู้ช่วยขายของ/พนักงานตลาด /ผู้บริโภค ให้ความร่วมมือ สวมหน้ากากผ้าหรือหน้ากากอนามัย ร้อยละ 93.5 มีจุดบริการเจลแอลกอฮอล์ล้างมือ ร้อยละ 69.4 และจัดจุดบริการล้างมือด้วยน้ำสะอาดร้อยละ 46.9 ถือว่าทั้งเจ้าของตลาดและผู้ใช้บริการให้ความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการเป็นอย่างดี อย่างไรก็ตาม ขอให้ทุกคนทั้งผู้ค้าขาย ผู้ไปใช้บริการ หมั่นสังเกตอาการตนเองและคนในครอบครัว หากมีไข้ มีอาการระบบทางเดินหายใจ ให้รีบพบแพทย์ทันที พร้อมแจ้งประวัติเสี่ยง

ข้อแนะนำสำหรับผู้อาศัยในชุมชนแออัด และที่พักคนงานก่อสร้าง ซึ่งอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างหนาแน่น เพื่อไม่ให้เกิดการระบาดเป็นกลุ่มก้อน หากมีสมาชิกอยู่ร่วมบ้านหลายคน ต้องสวมหน้ากากอนามัยแบบผ้าตลอดเวลาเมื่อต้องอยู่ร่วมกัน หมั่นล้างมือด้วยสบู่และน้ำ แยกใช้สิ่งของร่วมกัน หลีกเลี่ยงการออกนอกบ้านโดยไม่จำเป็น และหมั่นสังเกตอาการตนเองและคนในครอบครัว สำหรับที่พักคนงานก่อสร้าง ให้เจ้าของกิจการหรือนายจ้าง ควบคุมดูแลความสะอาดที่พัก ห้องน้ำ อุปกรณ์ และสิ่งของที่ใช้ร่วมกัน จัดให้มีที่ล้างมือพร้อมสบู่ หรือเจลแอลกอฮอล์ รวมทั้งการคัดกรองเบื้องต้น พร้อมสังเกตอาการป่วยของคนงาน และจะต้องหมั่นสังเกตอาการตนเอง และคนในครอบครัว ต้องสวมหน้ากากอนามัยแบบผ้าเมื่ออยู่ร่วมกันในครอบครัว

นอกจากนี้ กรมอนามัยได้จัดทำ Application Thaistopcovid-19 เพื่อติดตามกลุ่มต่าง ๆ ให้ปฏิบัติตามมาตรฐาน ประเมินตนเอง และปักหมุดแต่ละพื้นที่ที่ได้ปฏิบัติตามเกณฑ์ที่กรมอนามัยกำหนด โดยประชาชนผู้บริโภคสามารถตรวจสอบ เพื่อเลือกใช้บริการ ร้องเรียนเสนอแนะผ่านช่องทางเดียวกันได้

สำหรับ ผลการสำรวจรายสัปดาห์ตามมาตรการ “หยุดบ้าน หยุดเชื้อ เพื่อชาติ” โดยกระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสำนักงานสถิติแห่งชาติ วันที่ 2 – 8 เมษายน 2563 จากผู้ตอบแบบสอบถาม 47,144 คน พบว่า ร้อยละ 47.1 มีการออกนอกบ้าน ในจำนวนนี้พบว่า ร้อยละ 94.2 มีความจำเป็นที่ต้องออกนอกบ้าน เข่น ทำงาน หาหมอ ชื้ออาหาร/ของใช้ ทำธุรกรรม และร้อยละ 9.4 ใช้ขนส่งสาธารณะในการเดินทาง ส่วนพฤติกรรมในการป้องกันตนเองเมื่อพบกับคนอื่นทั้งในและนอกบ้าน พบว่า ร้อยละ 85.2 ล้างมือหรือใช้เจลแอลกอฮอล์ทุกครั้งร้อยละ 76.7 ใส่หน้ากากอนามัย/หน้ากากผ้าทุกครั้ง และร้อยละ 62.7 รักษาระยะห่าง 1-2 เมตร เมื่อพบกับผู้อื่นทุกครั้ง

รายงานข่าวกรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019(COVID-19) สถานการณ์ในประเทศไทย (14 เมษายน 2563 เวลา 16.00 น.) มีจำนวนผู้ป่วยกลับบ้านได้มากกว่าผู้ป่วยรายใหม่ ซึ่งมีผู้ป่วยกลับบ้านได้ 92 ราย (สะสม 1,497 ราย) ผู้ป่วยรายใหม่ 30 ราย นับเป็นลำดับที่ 2,614-2,643 และมีผู้ป่วยที่ยังรักษาอยู่ในโรงพยาบาล 1,103 ราย ผู้ป่วยรายใหม่จำแนกเป็นกลุ่มได้ดังนี้

กลุ่มที่ 1 เป็นผู้มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 19 ราย (พบผู้ป่วยที่จังหวัดปัตตานี, ยะลา,ชุมพร, ภูเก็ต, นนทบุรี, กรุงเทพฯ)

กลุ่มที่ 2 ผู้ป่วยรายใหม่ จำนวน 3 ราย มีรายละเอียด ดังนี้
2.1 คนไทยเดินทางกลับจากต่างประเทศ 1 ราย (กลับจากฝรั่งเศส)
2.2 ไปสถานที่ชุมนุมชน เช่น ห้างสรรพสินค้า, ตลาดนัด, สถานที่ท่องเที่ยว 2 ราย

กลุ่มที่ 3 ยืนยันพบเชื้อ อยู่ระหว่างสอบสวนโรค 7 ราย

กลุ่มที่ 4 เดินทางมาจากต่างประเทศ และเข้า State Quarantines 1 ราย (กลับจากสหรัฐอเมริกา)

รายละเอียดผู้ป่วยเสียชีวิตเพิ่ม 2 ราย

รายที่ 1 เป็นหญิงไทย อายุ 65 ปี อาชีพขายอาหาร มีโรคประจำตัว คือ เบาหวาน, ไตเรื้อรัง, ความดันโลหิตสูง และมีประวัติคนในครอบครัวเป็นผู้ป่วยโรคโควิด-19 เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ ด้วยอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก และรับการตรวจหาเชื้อพบเชื้อโควิด-19 จากนั้นจึงส่งต่อรักษาที่โรงพยาบาลอีกแห่งในจังหวัดเชียงใหม่ เสียชีวิตวันที่ 13 เมษายน 2563 สาเหตุการเสียชีวิตหลักคือติดเชื้อโควิด-19 สาเหตุรอง ไตวายเรื้อรังระยะสุดท้าย (เป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 42)

รายที่ 2 เป็นชายไทย อายุ 60 ปี มีประวัติเดินทางไปร่วมพิธีทางศาสนาอิสลามที่ประเทศอินโดนีเซีย เข้ารับรักษาที่โรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ด้วยอาการไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ เก็บสิ่งส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการพบเชื้อโควิด-19 เสียชีวิตวันที่ 14 เมษายน 2563 (เป็นผู้เสียชีวิตรายที่ 43)

สรุปภาพรวมวันนี้ มีผู้ป่วยกลับบ้านสะสม 1,497 ราย ยังรักษาในโรงพยาบาล 1,103 ราย เสียชีวิตรวม 43 ราย รวมมีผู้ป่วยสะสม 2,643 ราย

สถานการณ์ทั่วโลกข้อมูลตั้งแต่วันที่ 5 มกราคม – 15 เมษายน 2563 (7.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 1,995,947 ราย เสียชีวิต 126,537 ราย ส่วนสถานการณ์ต่างประเทศที่มียอดผู้ป่วยมาก 3 อันดับแรก คือ สหรัฐอเมริกาพบผู้ป่วย 612,320 ราย เสียชีวิต 25,989 ราย สเปนพบผู้ป่วย 174,060 ราย เสียชีวิต 18,255 ราย และอิตาลีพบผู้ป่วย 162,488 ราย เสียชีวิต 21,067 ราย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า