Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

โครงการโคแวกซ์ (COVAX) ซึ่งมีเป้าหมายจัดสรรวัคซีนให้ทั่วถึงทั่วโลก เริ่มดำเนินการจัดส่งวัคซีนให้ประเทศที่เข้าร่วมตั้งแต่ช่วงต้นปีที่ผ่านมา ซึ่งหากนับเฉพาะชาติสมาชิกอาเซียน ในตอนนี้โครงการโคแวกซ์ส่งมอบวัคซีนโควิด-19 ให้กับ 7 ชาติอาเซียน เป็นจำนวนรวมกว่า 33 ล้านโดสแล้ว

แต่ละประเทศในอาเซียนได้รับวัคซีนยี่ห้อใดบ้าง วันนี้ workpointTODAY รวบรวมข้อมูลการจัดส่งวัคซีนโดยโคแวกซ์มาให้อ่านกัน

1.) โครงการโคแวกซ์ (COVAX) เริ่มจัดสรรวัคซีนให้กับชาติต่างๆ ในอาเซียนไปแล้ว 7 ชาติ ดังต่อไปนี้
อินโดนีเซีย 16,204,960 โดส
กัมพูชา 324,000 โดส
ลาว 1,240,620 โดส
มาเลเซีย 828,000 โดส
ฟิลิปปินส์ 10,297,060 โดส
เวียดนาม 4,493,640 โดส
บรูไน 24,000 โดส

2.) หากเจาะลึกลงไปถึงยี่ห้อวัคซีนโควิด-19 ที่โครงการโคแวกซ์ใช้แจกจ่ายให้กับประเทศที่เข้าร่วม จะพบว่ามีอยู่ 3 ยี่ห้อ ได้แก่ โควิชิลด์ (Covishield) แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) และไฟเซอร์ (Pfizer)

โดยก่อนหน้านี้ การจัดสรรวัคซีนของโคแวกซ์ ประสบปัญหาได้รับวัคซีนไม่เป็นไปตามแผน จากการที่อินเดียระงับการส่งออกวัคซีนโควิชิลด์ ซึ่งเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในอินเดีย หลังประสบปัญหาการะบาดรุนแรงในประเทศ แต่จากข้อมูลจะเห็นได้ว่า โคแวกซ์ได้จัดหาวัคซีนยี่ห้ออื่นเพิ่มเติม ได้แก่แอสตร้าเซนเนก้าและไฟเซอร์ ส่งมอบให้กับประเทศที่เข้าร่วม

3.) นอกจากนี้โครงการโคแวกซ์ยังเป็นตัวกลางแจกจ่ายวัคซีนโควิด-19 ที่รัฐบาลสหรัฐฯ บริจาคให้ โดยในตอนนี้โคแวกซ์ได้จัดส่งวัคซีนโมเดอร์นา (Moderna) และจอห์นสัน แอนด์ จอห์นสัน (Johnson & Johnson) ให้กับอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ เวียดนามและลาวแล้ว

4.) จากข้อมูลล่าสุดจะเห็นได้ว่า มีเพียง 3 ชาติอาเซียนที่ยังไม่ได้รับวัคซีนจากโครงการโคแวกซ์ ได้แก่ ไทย เมียนมา และสิงคโปร์ โดยกรณีของสิงคโปร์ มีรายงานว่า นายลี เซียน ลุง นายกรัฐมนตรีสิงคโปร์ ประกาศเตรียมบริจาควัคซีนโควิด-19 ส่วนเกินให้กับโครงการโคแวกซ์ หลังมีวัคซีนเพียงพอใช้งานในประเทศ

5.) ส่วนกรณีของเมียนมา ซึ่งกำลังเผชิญสถานการณ์การระบาดของโรคโควิด-19 ที่รุนแรง รวมทั้งเหตุความรุนแรงหลังเกิดรัฐประหารตั้งแต่เดือน ก.พ. ที่ผ่านมา ล่าสุด คณะทำงานขององค์การสหประชาชาติประจำเมียนมาระบุว่า วัคซีนโควิด-19 ที่จัดสรรผ่านโคแวกซ์ จะถูกจัดส่งให้เมียนมาในเร็วๆ นี้ พร้อมยืนยันเป้าหมายการจัดส่งวัคซีนโควิด-19 ให้ครอบคลุมประชากรเมียนมา 20% ภายในปีนี้อีกด้วย

6.) สำหรับกรณีของประเทศไทย รัฐบาลไทยยืนยันตั้งแต่ช่วงต้นปีว่า ไทยไม่เข้าร่วมโครงการโคแวกซ์ ทำให้ไทยเป็นประเทศเดียวในอาเซียนที่ไม่เข้าร่วมโครงการนี้

อย่างไรก็ตาม ความเคลื่อนไหวล่าสุด นายธานี แสงรัตน์ อธิบดีกรมสารนิเทศและโฆษกกระทรวงการต่างประเทศ ชี้แจงว่า แม้ไทยจะไม่ได้เข้าเป็นโครงการแบ่งปันวัคซีนโคแวกซ์ขององค์การอนามัยโลก (WHO) แต่ได้ร่วมบริจาคให้องค์การอนามัยโลกเป็นจำนวน 200,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ เพื่อสร้างความเชื่อมโยงกับกลไกโคแวกซ์ จึงทำให้ไทยสามารถแลกเปลี่ยน จำหน่าย หรือแจกจ่ายวัคซีนที่ไทยผลิตได้เองในอนาคตข้างหน้าให้แก่ประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า