SHARE

คัดลอกแล้ว

หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ย้ำไม่ประมาท โควิด-19 มีสิทธิ์ระบาดใหม่ในไทย แต่ขณะนี้ยังไม่เกิด ขอประชาชนรักษาวินัย สวมหน้ากาก-ล้างมือบ่อยๆ

วันที่ 21 ส.ค.2563 กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานความคืบหน้าผลการสอบสวนและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) กรณีหญิงไทย 2 รายกลับจากประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ ที่มารับการตรวจสุขภาพก่อนจะเดินทางไปทำงานที่ต่างประเทศ ซึ่งผลการตรวจโควิด 19 ทางห้องปฏิบัติการ พบสารพันธุกรรมในปริมาณน้อย และเจาะเลือดมีผลตรวจพบภูมิคุ้มกัน บ่งชี้ว่า เคยมีการติดเชื้อมาก่อนนั้น สำหรับผลการสอบสวนโรคเพื่อค้นหาและติดตามตัวผู้ใกล้ชิดในครอบครัวและชุมชน มีการเก็บตัวอย่างส่งตรวจหาเชื้อก่อโรคโควิด 19 ด้วยวิธี RT-PCR ดังนี้

1. มีผู้ใกล้ชิดในครอบครัวและเพื่อนบ้านของรายที่ 1 ที่อายุ 34 ปี รวม 23 คน ผลการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการพบว่า ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19

2. มีผู้ใกล้ชิดในครอบครัวและเพื่อนบ้านของรายที่ 2 ที่อายุ 35 ปี รวม 15 คน ผลการตรวจหาเชื้อทางห้องปฏิบัติการพบว่า ทั้งหมดให้ผลเป็นลบ ไม่พบสารพันธุกรรมของเชื้อโควิด 19

ก่อนหน้านั้น นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ได้เปิดเผยว่า ที่ผ่านมาประเทศไทยสามารถควบคุมการระบาดของโรคโควิด 19 ได้ดีมาก เป็น 1 ใน 7 ประเทศที่องค์การอนามัยโลกให้ความชื่นชมการควบคุมการระบาดแต่ละประเทศมีนโยบายการบริหารจัดการ การควบคุมโรคไม่เหมือนกัน ประเทศไทยมีความร่วมมือที่ดีจากทุกภาคส่วนทำให้ควบคุมโรค ไม่พบการติดเชื้อภายในประเทศนานกว่า 85 วันแล้ว ผู้ป่วยที่พบมาจากต่างประเทศและกักตัวสังเกตอาการใน State quarantine

อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยมีโอกาสพบการระบาดได้ เนื่องจากสถานการณ์ผู้ติดเชื้อทั่วโลกยังมีแนวโน้มสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เฉลี่ย 4 วัน ต่อ 1 ล้านราย และคาดการณ์ว่า ภายในสิ้นปี 2563 อาจพบผู้ป่วยทั่วโลกสูงถึง 50 ล้านคน และมีเสียชีวิตถึง 1.5 ล้านคน แต่ขณะนี้ระบบสาธารณสุขของเรามีความพร้อม จากประสบการณ์ที่เคยมีผู้ติดเชื้อสูงถึงวันละ 100 กว่าราย ก็สามารถรับมือได้ ที่สำคัญผู้ติดเชื้อ 100 คน จะมีผู้ที่มีอาการมากเพียง 20 คน ในจำนวนนี้ มีเพียง 3-5 คนที่มีอาการวิกฤต ต้องเข้า ICU นอกจากนี้ ต่อไปยังมียารักษาโรค และวัคซีนที่มีอย่างน้อย 6 ชนิด อยู่ในขั้นตอนการทดลองระยะ 3 คาดว่าจะสามารถผลิตได้ในสิ้นปีนี้

สำหรับกรณีพบหญิงไทยเดินทางจากต่างประเทศ และตรวจพบเชื้อหลังกลับเข้าไทย 75 วัน และ 50 วันนั้น เป็นร่องรอยที่บ่งบอกว่า เคยติดเชื้อจริง แต่ที่พบเป็นชิ้นส่วนไวรัสที่มีปริมาณน้อยมาก ไม่สามารถแพร่เชื้อได้ แต่เพื่อความปลอดภัยกระทรวงสาธารณสุขได้ส่งทีมสอบสวนผู้สัมผัสอย่างรวดเร็ว ผลตรวจขณะนี้ไม่พบผู้ติดเชื้อ เรามีหลักฐานยืนยันในผู้ที่หายป่วยตั้งแต่ 35 วัน จนถึง 105 วัน และมาบริจาคพลาสมาให้กับศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย และการศึกษาร่วมกับกทม. จำนวน 217 คน พบว่า 13 คน ตรวจพบชิ้นส่วนไวรัสและผู้ที่สัมผัสกับคนเหล่านี้ ไม่มีใครติดเชื้อเลย และขอเชิญชวนให้ผู้ติดเชื้อที่เดินทางกลับจากต่างประเทศที่หายแล้ว มาร่วมกันบริจาคพลาสมา ขณะนี้มีแล้ว 300 หน่วย รักษาได้ร่วม 300 คน เก็บได้นาน 1 ปี จะช่วยลดอัตราการตายได้หากให้ตั้งแต่ระยะแรก

นพ.ยง กล่าวต่อว่า การระบาดระลอก 2 หมายถึงมีการแพร่กระจายเชื้อภายในประเทศ และติดเชื้อมากกว่า 3 คนขึ้นไปและเป็นกลุ่มก้อน แต่หากมีผู้ติดเชื้อภายในประเทศเพียง 1 ราย จะไม่ถือว่าเป็นการระบาด เป็นเพียงการพบผู้ป่วยรายใหม่เท่านั้น สำหรับประเด็นการกลายพันธุ์ เป็นเรื่องของวิวัฒนาการและความเปลี่ยนแปลงของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด รวมถึงเชื้อโควิด 19 ด้วย ซึ่งสายพันธุ์ไม่ได้บ่งบอกถึงความรุนแรงของโรค และไม่ได้บอกว่าวัคซีนจะช่วยป้องกันไม่ได้ แต่มีประโยชน์ในทางระบาดวิทยาที่จะบอกถึงต้นตอถิ่นกำเนิดว่ามาจากแหล่งเดียวกันหรือไม่

“การต่อสู้ครั้งนี้จะประสบความสำเร็จดีมาก ทุกคนต้องช่วยกัน ทั้งรัฐ เอกชน ประชาชนต้องรักษาระเบียบวินัย รณรงค์ให้ล้างมืออย่างน้อย 20 วินาที หรือการใช้เจลแอลกอฮอล์ ป้องกันเขาป้องกันเรา ด้วยการสวมหน้ากากผ้า/หน้ากากอนามัย เมื่อออกจากบ้านและเข้าในที่ชุมชน รวมถึงการรักษาระยะห่าง ไม่อยากเห็นการรวมคนหมู่มาก หากทำได้จะช่วยลดการแพร่กระจายและลดการแพร่ระบาดของโรคได้ ขอให้อดทนถ้าคนไทยร่วมมือกัน เราจะผ่านวิกฤตนี้ไปด้วยกัน” นพ.ยง กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า