SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 27 พ.ค. ที่รัฐสภา การประชุมสภาผู้แทนราษฎร พิจารณา พ.ร.ก.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้เงินแก้ไขโควิด 1 ล้านล้านบาท

เวลา 16.20 น. นายอุตตม สาวนายน รมว.คลัง ชี้แจงเรื่องของการกู้เงินโดยเปรียบเทียบกับการกู้เงินของรัฐบาลในอดีต โดยยืนยันว่า ไม่ได้กู้มากแบบกระโดดออกมาจากที่เคยเกิดขึ้น

เป้าหมายในการดำเนินการของรัฐบาลคือการพยายามปกป้องรักษาเสถียรภาพเศรษฐกิจ การเงิน ตลาดทุนของประเทศ ซึ่งคงพูดไม่ได้ว่าเป็นส่วนของคนรวย หรือคนจนเท่านั้น ทุกส่วนผูกพันเชื่อมโยงกันทั้งหมด จึงต้องดูแลเสถียรภาพทั้งระบบ ไม่ให้ส่วนใดส่วนหนึ่งกระทบต่อระบบการเงินและระบบเศรษฐกิจเสียหาย เป้าหมายของรัฐบาลต้องการป้องกันไม่ให้วิกฤติโควิดไปสู่วิกฤติเศรษฐกิจที่ลึกและแก้ไขยาก ซึ่งต้องใช้งบประมาณในการมาดูแล

แนวทางที่รัฐบาลกำหนดนโยบายและมาตรการ เป็นแนวทางที่ใช้กันทั่วโลก กองทุนการเงินระหว่างประเทศ หรือ IMF และ ธนาคารโลก ก็เสนอแนวทางเชิงนโยบายมุ่งเน้นการช่วยเหลือประชาชนกลุ่มที่เปราะบางก่อน โดยใช้มาตรการการคลังและการเงินในวงกว้างกระตุ้นและเตรียมการฟื้นฟูเศรษฐกิจในระยะต่อไป

ส่วนงบประมาณ การกู้เงินครั้งนี้ มีกรอบการดำเนินการที่รัดกุม มีการกำหนดให้ หน่วยงานรายงานผลการเบิกจ่าย/ความก้าวหน้าโครงการต่อ สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะ (สบน.) รายเดือน ส่วน สบน. ต้องรายงานความก้าวหน้าต่อคณะกรรมการทุกเดือน และคณะกรรมการจะรายงานต่อ ครม.ทุก 3 เดือน นอกจากนั้นรัฐบาลจะรายงานต่อสภาภายใน 60 วัน นับแต่สิ้นปีงบประมาณตามที่เคยปฏิบัติกันมา

 

การกู้ครั้งนี้มีตัวชี้วัด 4 ตัว ในการบริหารหนี้สาธารณะคาดการณ์ ณ สิ้น ก.ย. 64 คือ

1.สัดส่วนหนี้สาธารณะต่อ GDP จะอยู่ที่ 57.96% ไม่เกินเกณฑ์ร้อยละ 60

2.สัดส่วนภาระหนี้ต่อประมาณการรายได้ 21.2% จากเกณฑ์ไม่เกิน ร้อยละ 35

3.สัดส่วนหนี้สาธารณะเงินตราต่างประเทศต่อหนี้สาธารณะทั้งหมด 2.53% ไม่เกินร้อยละ 10

4.สัดสวนภาระหนี้สาธารณะต่างประเทศต่อรายได้จากการส่งออกสินค้า/บริการ 0.19% จากเกณฑ์ไม่เกินร้อยละ 5

ทั้งนี้ภายใต้สมมติฐานกู้เงิน 1 ล้านล้าน รวมกับการกู้เงินอื่นๆ แล้ว ซึ่งแม้ไม่ใช่เวลาปกติแต่เราก็พยายามยึดตามเกณฑ์ปกติไว

นายอุตตม กล่าวต่อว่า เรื่องของการเยียวยา เหตุการณ์นี้เกิดขึ้นเฉียบพลัน เราไม่ได้คาดคิดว่าจะมาแรงขนาดนี้ แต่เราพยายามดำเนินการให้เร็ว ส่วนที่ว่าล่าช้า ยอมรับว่าต้องใช้เวลาเพราะการใช้เงินแผ่นดินต้องรัดกุม และข้อมูลของเราไม่ได้มีความพร้อมในการดำเนินมาตรการได้อย่างรวดเร็วอย่างที่อยากให้เป็น

กรณีอาชีพอิสระเราไม่ได้มีฐานข้อมูลว่าอยู่ที่ไหน ใครบ้าง จึงต้องเปิดให้ลงทะเบียน เพราะเราไม่มีข้อมูลจริงๆ ข้อมูลประเทศไทยไม่มีครบขนาดนั้น การจะจ่ายแบบให้ทุกคน ต้องคำนึงถึงข้อจำกัดเรื่องงบประมาณที่มีอยู่ จึงพยายามทำให้ครอบคลุม เน้นที่ผู้ได้รับผลกระทบก่อน นอกจากนั้นยังมีกลุ่มเปราะบางที่เราจะดูแลต่อไป

“ยอมรับครับว่ามีความล่าช้าบ้าง มีปัญหาบ้าง แต่ขอกราบเรียนว่าเป็นครั้งแรกที่ประเทศไทยดำเนินการในเรื่องนี้ แล้วเรารับฟังครับ ข้อชี้แนะข้อท้วงติงทุกอย่าง แล้วการดำเนินการเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทำงานหนักจริงๆ นำมาปรับปรุงปรับเปลี่ยนวิธีให้ดียิ่งขึ้น ให้สามารถตอบสนองความต้องการของประชาชน เจตนารมณ์ของรัฐบาลต้องการดูแลประชาชนให้ดีที่สุดภายใต้วิกฤติที่เกิดขึ้นครั้งแรก

นายอุตตม กล่าวด้วยว่า การเยียวยาไม่ใช่ครั้งเดียวเสร็จ การดูแลจะต่อเนื่องไปถึงการฟื้นฟู ข้อมูลต่างๆ ที่ได้จากการลงทะเบียนจะเป็นโอกาสได้ข้อมูลที่ไม่เคยมี ซึ่งจะนำไปใช้เป็นประโยชน์ต่อรัฐบาลในอนาคตในการกำหนดนโยบาย หรือใช้เยียวยาได้อีกหากเกิดวิกฤติในอนาคต

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า