SHARE

คัดลอกแล้ว

วันที่ 31 พ.ค. นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี ชี้แจงเรื่องการออก 3 พ.ร.ก. เพื่อเยียวยาและฟื้นฟูผลกระทบโควิดวงเงิน 1.9 ล้านล้านบาท ก่อนการลงมติ พ.ร.ก. 3 ฉบับว่า

มาตรการการควบคุมโรคเป็นความจำเป็น ถ้าเราไม่รีบยุติการแพร่ระบาดภายในไม่กี่วันจะมีผู้ติดเชื้อเป็นหมื่นคนและจะเบรกไม่อยู่ รัฐบาลถึงจุดที่ต้องตัดสินใจทางการแพทย์ด้วยการให้ทุกคนต้องเว้นระยะ อยู่กับบ้าน ซึ่งทำให้ไม่มีกิจกรรมทางเศรษฐกิจ โรงงานต้องปิด ซึ่งรัฐบาลรู้ดีว่าจะเกิดอะไรขึ้น

เราจึงได้คิดล่วงหน้า มีการหารือร่วมกันถึงเรื่องเงินเยียวยาระยะสั้น จะหาอย่างไร งบประมาณมีเพียงพอหรือไม่ เมื่อไม่เพียงพอจึงได้ให้สำนักงานบริหารหนี้สาธารณะเตรียมการกู้ยืม เป็นที่มาของการเยียวยา 3 เดือน โดยหลักการที่ตกลงกันคือ เยียวยาผู้ที่ได้รับผลกระทบเท่านั้น ผู้กระทบและมีฐานะที่ดีควรช่วยคนที่ลำบาก

แม้ประเทศไทยเราไม่เคยมีเหตุการณ์แบบนี้และไม่มีข้อมูลบิ๊กดาต้า แต่โชคดีที่เรามีระบบพร้อมเพย์ที่รัฐบาลวางเอาไว้ ถ้าไม่มีภายใน 2 เดือน คงไม่สามารถจ่ายเงินเยียวยาถึงชาวบ้าน

และช่วงนั้นเริ่มมีอาการกับตลาดตราสารหนี้ บางกองทุนคนเริ่มไถ่ถอน จากข่าวโควิดที่ทำให้คนตกใจ ตนเคยผ่านวิกฤติต้มยำกุ้ง รู้ดีว่าเมื่อเศรษฐกิจจริงมีปัญหาจะส่งผลไปถึงตลาดเงิน ตลาดทุน สุดท้ายก็จะกระทบธนาคาร ซึ่งเราจะไม่รอเหมือนตอนที่เป็นรัฐบาลพรรคไทยรักไทยที่ต้องตามไปเก็บศพ จึงเดินเชิงรุกป้องกันก่อน

ด้วยการออก พ.ร.ก. ตั้งกองทุนตราสารหนี้ ซึ่งไม่ใช่การอุ้มเจ้าสัว เพราะหากถึงเวลาที่บริษัทต้องไถ่ถอนหุ้นกู้แต่หาเงินไม่ได้จะล้มทันที จะกระทบระบบการเงินทั้งหมด จึงให้กองทุนนี้เป็นเสมือนหลังพิง หากเขาหาแหล่งเงินไม่พอ ธนาคารแห่งประเทศไทยจะเป็นแบ็กให้

ส่วนกรณี พ.ร.ก. ปล่อยสินเชื่อผ่อนปรนให้ SMEs ทุกคนเป็นห่วง และเห็นข้อจำกัดของระบบธนาคารไทยที่ SMEs เข้าไม่ถึง จึงเตรียมจะออกกองทุนภายใต้ สำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม(สสว.) ซึ่งจะมีการบริหารจัดการอีกแบบหนึ่ง นี่คือสิ่งที่เตรียมไว้ล่วงหน้า

นายสมคิด ยังกล่าวถึง เรื่องงบประมาณฟื้นฟู 4 แสนล้านบาท ในเงินกู้ 1 ล้านล้านบาทว่า ได้ให้สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นหลัก ในการมุ่งไปที่ด้านการเกษตร ชุมชุนเข้มแข็ง การท่องเที่ยว สร้างงานสร้างรายได้ ระบบโลจิสติกส์ สร้างบุคลากรในท้องถิ่น ทุกกระทรวงไปช่วยกัน เป็นโอกาสสำคัญที่จะเดินตามแนวทางที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ทรงวางแนวทางไว้ คือ เติบโตจากภายใน

ในขณะที่การส่งออก การท่องเที่ยวจากต่างประเทศ ใช้เวลาอีกนาน จึงต้องมุ่งสร้างพื้นฐานประเทศไทยให้เข้มแข็ง โดยวางระบบไม่ให้การเมืองแทรกแซง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องซื่อสัตย์สุจริตมาเป็นคนกลั่นกรอง โดยให้รับฟังความเห็นจากสภาและที่อื่นๆ ด้วย

ครึ่งปีหลังที่การค้าขายยังไม่ปกติ การท่องเที่ยวยังติดขัด การร่วมมือร่วมกันของรัฐบาลและสภาจะเป็นสิ่งสำคัญ เงิน 4 แสนล้านบาทจะมุ่งทำโปรเจ็กต์เน้นคุณภาพ จะต้องทำให้เศรษฐกิจท้องถิ่นเข้มแข็ง รอจนการส่งออก การท่องเที่ยวมาหนุนส่งให้ไปข้างหน้าได้ โดยเงินจำนวนนี้ไม่จำเป็นต้องใช้ให้หมด ที่เหลือปรับเป็นงบเยียวยาได้

สำหรับงบประมาณ 2564 ต้องปรับเปลี่ยน ส่วนที่ไม่เกี่ยวกับการสร้างงานสร้างรายได้ต้แงเปลี่ยน หากยังไม่เพียงพอ ตนได้คิดล่วงหน้าไว้แล้ว ถ้าต้องกู้เพิ่มหนี้ต่อ GDP เท่าไร ประคองให้ถึงปีหน้าให้คนไทยมีรายได้ ดึงเอกชนมาช่วย

ประเทศไทยเรามี EEC ซึ่งเป็นโครงการที่ดีมาก ประเทศใกล้เคียงไม่มี เมื่อโควิดหาย เราจะมีสิ่งเหล่านี้เตรียมไว้ ด้วยการวางพื้นฐานจะมีโอกาสกระโดดไปข้างหน้า ต้องใช้โอกาสนี้สร้างคน ฝึกคน ซึ่งงบ 4 แสนล้านบาทไปใช้ส่วนนี้ได้

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า