SHARE

คัดลอกแล้ว

ภายในเวลา 1 เดือน ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน ได้ระบาดลุกลามไปทั่วโลก ท่ามกลางความกังวลถึงความรุนแรงของเชื้อกลายพันธุ์นี้ อย่างไรก็ตาม โลกเริ่มรู้จักไวรัสสายพันธุ์นี้มากขึ้นจากการวิจัยในห้องทดลองและจากการระบาดจริงในหลายพื้นที่ ซึ่งก็มีทั้งข่าวดีและข่าวร้ายต่อมนุษยชาติ

วันนี้ workpointTODAY จะสรุปให้เห็นภาพว่า เรารู้จักไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนในระดับไหนแล้ว

งานวิจัยสก็อตแลนด์เทียบสัดส่วนผู้ติดเชื้อโควิด พบโอไมครอนอาจลดความเสี่ยงป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 2 ใน 3 แต่นักวิจัยยังกังวลหากจำนวนผู้ติดเชื้อพุ่งเร็ว อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยในโรงพยาบาลแซงเดลตาได้

งานวิจัยล่าสุดจากสก็อตแลนด์ เทียบสัดส่วนผู้ป่วยโควิด-19 ที่ต้องเข้ารับการรักษาตัวที่โรงพยาบาล ตั้งแต่วันที่ 1 พ.ย.-19 ธ.ค. ที่ผ่านมา โดยทีมวิจัยใช้ข้อมูลจากผู้ติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา จำนวน 126,511 คน โดยเป็นผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 856 คน ขณะที่ข้อมูลจากผู้ป่วยโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 23,840 คน พบผู้ที่ต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลทั้งสิ้น 15 คน

ข้อมูลเหล่านี้เมื่อนำมาคำนวณเพิ่มเติมร่วมกับปัจจัยอื่นๆ ทำให้นักวิจัยชี้ว่า หากไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอนมีความรุนแรงแบบเดียวกับสายพันธุ์เดลตาจริง จำนวนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนที่ต้องเข้าโรงพยาบาลควรสูงกว่า 15 คน แต่น่าจะอยู่ที่ 47 คน

จากข้อสรุปดังกล่าวทำให้นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่า ไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนน่าจะลดความเสี่ยงการป่วยเข้าโรงพยาบาลได้ถึง 2 ใน 3 เมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ซึ่งก็สอดคล้องกับงานวิจัยหลายชิ้นก่อนหน้านี้ที่ตั้งสมมุติฐานว่า โควิดสายพันธุ์โอไมครอน อาจมีฤทธิ์รุนแรงน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา

อย่างไรก็ตาม การวิจัยชิ้นนี้เป็นเพียงการคำนวณจากฐานข้อมูลที่ไม่สูงและยังมีข้อจำกัดอยู่มาก โดยศาสตราจารย์เจมส์ ไนสมิทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านชีววิทยา มหาวิทยาลัยอ็อกฟอร์ดแสดงความกังวลว่า แม้นี่จะเป็นข่าวดีของกลุ่มคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว 2 เข็ม ที่อาจมีอาการป่วยไม่รุนแรง แต่หากเกิดกรณีที่มีผู้ติดเชื้อโอไมครอนเพิ่มเป็นเท่าตัวในช่วงไม่กี่วันข้างหน้า ก็อาจทำให้จำนวนผู้ป่วยหนักจากการติดเชื้อโอไมครอนแซงหน้าเดลตาได้

ผลการวิจัยแอฟริกาใต้ พบอัตราส่วนผู้ติดเชื้อโอไมครอนเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตาถึง 70-80% แต่อาการป่วยของผู้ที่เข้าโรงพยาบาลแล้วจะรุนแรงไม่ต่างกัน

งานวิจัยในแอฟริกาใต้ สำรวจจำนวนผู้ติดเชื้อโควิด-19 เข้าโรงพยาบาล เปรียบเทียบระหว่างผู้ป่วยติดเชื้อโอไมครอนกับเดลตา ในช่วงวันที่ 1 ต.ค.-6 ธ.ค. ที่ผ่านมา จำนวน 161,328 คน พบว่า อัตราส่วนผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนเข้าโรงพยาบาลน้อยกว่าสายพันธุ์เดลตา ในสัดส่วนถึง 70-80%

อย่างไรก็ตาม จากการติดตามอาการป่วยพบว่า หากเป็นผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลแล้ว ไม่ว่าจะติดเชื้อโอไมครอนหรือเดลตา อาการป่วยของผู้ติดเชื้อระหว่างสายพันธุ์มีความรุนแรงไม่ต่างกัน

Imperial College London วิเคราะห์ ผู้ติดเชื้อโอไมครอนเสี่ยงเข้าแผนกฉุกเฉินโรงพยาบาลน้อยกว่าเดลตา 11% และจะยิ่งเสี่ยงน้อยลงถ้ามีภูมิคุ้มกันในร่างกาย แต่เป็นห่วงหากโอไมครอนระบาดหนัก อาจกระทบระบบสาธารณสุขได้

การวิเคราะห์จาก Imperial College London ระบุว่า ไวรัสโควิดสายพันธุ์โอไมครอน โดยใช้การประเมินความเสี่ยงจากการที่ผู้ติดเชื้อโอไมครอน ต้องเข้ารับการรักษาตัวในแผนกฉุกเฉินในโรงพยาบาลต่ำกว่าสายพันธุ์เดลตาอยู่ที่ 11% ในกรณีที่ผู้ติดเชื้อไม่เคยมีภูมิคุ้มกันมาก่อน โดยหากร่างกายผู้ติดเชื้อมีภูมิคุ้มกัน ความเสี่ยงรักษาตัวในแผนกฉุกเฉินจะลดลงไปถึง 25-30%

รายงานชิ้นเดียวกันยังวิเคราะห์ด้วยว่า การติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน จะลดความเสี่ยงรักษาตัวในโรงพยาบาลนานกว่า 1 วันได้มากถึงราว 40% ด้วย

อย่างไรก็ตาม ศาสตราจารย์นีล เฟอร์กูสัน หนึ่งในทีมวิจัยแสดงความกังวลว่า หากหลังจากนี้อัตราการติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนพุ่งสูง ก็มีความเป็นไปได้ว่าจะมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์นี้เข้าโรงพยาบาลมากขึ้น จนอาจทำให้สถานการณ์สาธารณสุขในอังกฤษตกที่นั่งลำบาก

ฮ่องกงพบโอไมครอนแบ่งตัวในหลอดลมมากกว่าสายพันธุ์อื่น 70 เท่า แต่แบ่งตัวในปอดน้อยกว่า 10 เท่า ชี้อาจเป็นสาเหตุให้โอไมครอนแพร่เชื้อเร็วกว่าสายพันธุ์อื่น แต่อาจมีฤทธิ์ไม่รุนแรง

งานวิจัยมหาวิทยาลัยฮ่องกง นำตัวอย่างเยื่อในหลอดลมของผู้ติดเชื้อไปตรวจสอบ พบการแบ่งตัวของโอไมครอนในหลอดลมเร็วกว่าสายพันธุ์เดลตาและสายพันธุ์ดั้งเดิมถึง 70 เท่า

นักวิทยาศาสตร์ชี้ว่า แม้บริเวณหลอดลมจะไม่ได้จัดอยู่ในระบบทางเดินหายใจส่วนบน แต่การพบการแบ่งตัวของไวรัสมากขนาดนี้ ก็อาจมีผลให้ไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนแพร่เชื้อไปยังคนอื่นได้ง่ายกว่า

แม้จะมีการแบ่งตัวมากในหลอดลม แต่งานวิจัยชิ้นนี้กลับพบว่า การแบ่งตัวของโอไมครอนในปอดน้อยกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิม 10 เท่า ตรงนี้ก็อาจเป็นคำตอบว่า ทำไมไวรัสสายพันธุ์โอไมครอนอาจมีฤทธิ์ไม่รุนแรง ทำให้ผู้ป่วยอาการไม่หนัก

อังกฤษประเมินประสิทธิภาพวัคซีนลดลงเมื่อสู้กับโอไมครอน แม้จะฉีดครับสองเข็มแล้ว ยืนยันการฉีดกระตุ้นเข็มสามป้องกันการป่วยมีอาการได้มากขึ้น

หน่วยงานด้านความมั่นคงสาธารณสุขของสหราชอาณาจักร ประเมินประสิทธิภาพวัคซีนโควิด-19 ต่อโควิดสายพันธุ์โอไมครอนจากการใช้จริง โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากผู้ติดเชื้อโควิดสายพันธุ์โอไมครอน 581 คน ซึ่งมีประวัติฉีดวัคซีนไฟเซอร์หรือแอสตร้าเซนเนก้าครบ 2 เข็มแล้ว พบว่าวัคซีนมีประสิทธิภาพป้องกันอาการป่วยไม่รุนแรงได้น้อยลง เมื่อต้องสู้กับสายพันธุ์โอไมครอน เมื่อเทียบกับประสิทธิภาพต่อสายพันธุ์เดลตา

อย่างไรก็ตาม หน่วยงานของอังกฤษชี้ว่า หากมีการฉีดวัคซีนกระตุ้นเป็นเข็มที่ 3 ประสิทธิภาพของวัคซีนต่อการป้องกันโอไมครอนจะสูงขึ้น ซึ่งจากข้อมูลระบุว่า การฉีดวัคซีนไฟเซอร์เป็นเข็มกระตุ้น จะเพิ่มประสิทธิภาพป้องกันการป่วยมีอาการได้ 70% ในกรณีที่สองเข็มแรกฉีดแอสตร้าเซนเนก้า และมีประสิทธิภาพ 75% หากสองเข็มแรกฉีดวัคซีนไฟเซอร์ ซึ่งถือว่ามาก แต่ก็ยังน้อยกว่าเมื่อเทียบกับสายพันธุ์เดลตา ที่การฉีดเข็มกระตุ้นจะเพิ่มประสิทธิภาพได้เป็น 90%

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า