SHARE

คัดลอกแล้ว

นายกฯ กำชับ รมว.สธ.สำรองยาฟาวิพิราเวียร์ให้เพียงพอ ชื่นชมนักวิจัยไทยประสบความสำเร็จในการวิจับและพัฒนาวัคซีนโควิดแบบพ่นจมูก

วันที่ 11 ส.ค. 2564 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและรมว.กลาโหม แสดงความชื่นชมทีมนักวิจัยไทยจากสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ภายใต้การกำกับของกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ที่ผลิตผลงานที่เป็นการป้องกันการแพร่ระบาดโควิด-19

ศูนย์พันธุวิศวกรรมและเทคโนโลยีชีวภาพแห่งชาติ (ไบโอเทค) ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 แบบพ่นจมูก ชนิด Adenovirus-based และ Influenza-based ซึ่งผ่านการทดสอบการกระตุ้นภูมิคุ้มกันในหนูทดลองเรียบร้อยแล้ว พบว่ามีประสิทธิภาพต่อการคุ้มโรคที่เกิดขึ้น ปลอดภัยไม่มีปัญหา จากนี้จะมีการยื่นเอกสารต่อสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) เพื่อขอทดสอบในมนุษย์ โดยจะร่วมกับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ วางแผนทดสอบประสิทธิภาพวัคซีนกับเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์เดลตา ซึ่งหากได้รับอนุมัติเร็ว คาดว่าจะเริ่มทดสอบในมนุษย์เฟสแรกปลายปี 2564 นี้ และต่อเนื่องเฟส 2 ในเดือนมีนาคม ปี65 หากได้ผลดีจะสามารถผลิตออกมาใช้ได้ประมาณกลางปีหน้า

และศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ (นาโนเทค) ได้พัฒนา “NANO COVID-19 Antigen Rapid Test “ เป็นชุดตรวจคัดกรองเชื้อโควิด-19 แบบรวดเร็ว ที่มีความไวและความแม่นยำสูงมาก สามารถตรวจหาตัวเชื้อได้ในเวลาเพียง 15 นาที มีความไว 98% และความจำเพาะสูงถึง 100% ใช้ตรวจคัดกรองผู้ป่วยโควิด-19 เบื้องต้นได้ ช่วยลดปริมาณผู้ป่วยที่ต้องตรวจด้วยวิธีการ RT-PCR ลดค่าใช้จ่าย ลดภาระงานในระบบสาธารณสุข

ส่วนความคืบหน้าการวิจัยพัฒนาวัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA ใประเทศไทยด้วยว่า ศูนย์วิจัยวัคซีน คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ขณะนี้ได้ทดสอบการฉีดวัคซีน “ChulaCov19” ให้กับอาสาสมัครแล้ว เพื่อศึกษาประสิทธิภาพสูงสุดของปริมาณวัคซีนที่จะสร้างภูมิคุ้มกันอย่างเหมาะสมภายใต้การดูแลของทีมแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ พยาบาล และทีมนักวิจัย และลำดับต่อไป จะเข้าสู่การทดสอบทางคลินิก ระยะที่ 2 จำนวน 150-300 คน คาดจะเริ่มต้นฉีดได้ในเดือน ส.ค.นี้

สื่อข่าวรายงานว่าในการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ผ่านระบบวิดีโอคอนเฟอร์เร้นซ์วานนี้ (10 ส.ค.) พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวตอนหนึ่งถึงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ขณะนี้มีผู้ป่วยรักษาหายมากกว่าผู้ติดเชื้อ ถ้าเร่งค้นหาเชิงรุก และรักษาให้หายได้เร็วแบบนี้เรื่อย ๆ สถานการณ์น่าจะดีขึ้น ขอให้กระทรวงสาธารณสุขให้เบิกจ่ายงบกลางของกระทรวงเพื่อเร่งรัดให้มีการใช้จ่ายเงิน หมุนเวียนไปเพื่อเยียวยาบุคลากรทางการแพทย์

นอกจากนี้ยังมีการหารือเรื่องยาฟาวิพิราเวียร์โดย พล.อ.ประยุทธ์ ได้หยิบยกกรณีที่โซเชียลมีเดียโจมตีว่า ทำไมรัฐบาลไม่ให้เอกชนตั้งฐานผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ โดยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ชี้แจงว่า รัฐบาลไม่ได้ห้าม สามารถตั้งได้ แต่การตั้งฐานการผลิตต้องใช้เวลาพอสมคว พร้อมยกตัวอย่างองค์การเภสัชกรรม (อภ.) ยังใช้เวลาหลายเดือนกว่าจะตั้งโรงงานได้ และขณะนี้ทาง อภ.ได้เปลี่ยนไลน์การผลิต โดยการให้โรงงานอื่นผลิตยาตัวอื่นแทน อภ. เช่น พาราเซตามอล เพื่อนำกำลังมาผลิตยาฟาวิพิราเวียร์ให้ได้มากขึ้น โดยเดือนตุลาคม-ธันวาคม 2564 จะสามารถผลิตได้เดือนละประมาณ 30-40 ล้านเม็ด และเมื่อรวมกับการนำเข้าจากจีน อินเดีย จะทำให้ได้เดือนละประมาณ 100 ล้านเม็ด ถือว่าเพียงพอต่อการใช้ 8.5 แสนเม็ดต่อวัน

พล.อ.ประยุทธ์ ย้ำว่า อยากให้มีการเตรียมสำรองเผื่อไว้แบบเหลือใช้มากกว่าที่จะจัดหาให้พอดี โดยนายอนุทินได้รับแนวทางดังกล่าวไปดำเนินการ

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า